ทัศนคติ

7 สัญญาณเตือน ระวังอาการโลภกำเริบ

7 สัญญาณเตือน ระวังอาการโลภกำเริบ

7 สัญญาณเตือน ระวังอาการโลภกำเริบ

 

โลภ หรือ ความอยากได้ที่ไม่รู้จักพอ ขึ้นต้นแบบนี้อาจจะดูว่าเป็นเรื่องที่ไม่ดี แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความโลภก็ได้ขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจและการพัฒนาเติบโตมาจนถึงทุกวันนี้ การมีคนจำนวนหนึ่งที่ทะเยอทะยานอยากได้สิ่งทีดีกว่า การมีคนจำนวนหนึ่งไม่พอใจในสิ่งที่มี กลายเป็นสิ่งที่ช่วยผลักดัน แต่ความโลภที่มากเกินไปก็อาจไม่ได้ผลดีนัก ระวังอาการโลภกำเริบ

 

โลภคือคุณลักษณะหนึ่งที่ติดตัวและมีได้ในคนหนึ่งคนเป็นพื้นฐานทางชีวภาพและอิทธิผลทางสังคมที่ผลักดันให้เราอยากได้สิ่งที่ดีกว่าและเหนือกว่าเพื่อการรักษาชีวิตให้รอด (self-preservation) และการขยายเผ่าพันธุ์ (reproduction) สมัยที่เป็นสัตว์หากเรามีพละกำลังที่น้อยกว่า มีอาหารเสบียงตุนไว้น้อยกว่า หรือ มีอำนาจในการชี้นำได้น้อยกว่า ก็อาจส่งผลทำให้เราไม่ได้รับเลือกให้ได้ไปต่อ ทั้งในแง่การขยายเผ่าพันธุ์ และ การมีชีวิตรอด

 

มองในมุมหนึ่งความโลภถูกสรรเสริญว่าคือเครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของมนุษย์ แต่ในอีกมุมหนึ่งความโลภที่ไร้การควบคุม (uncontrolled greed) ก็ทำให้เกิดความทุกข์ยากและความเจ็บปวดได้ ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของสังคมอย่างรวดเร็วและความเป็นวัตถุนิยม

 

โลภแบบไหนที่ไร้การควบคุม ?

 

ศาสตราจารย์ทางธุรกิจแห่ง INSEAD Business School ได้เรียบเรียงสัญญาณเตือนความโลภที่ไร้การควบคุมไว้ 7 ข้อ ได้แก่

 

  1. พฤติกรรมโลกหมุนรอบตัวเรา

คนที่มีความโลภมักจะพูดเสมอ ๆ ว่า “ฉัน” ฉันจะเอาแบบนั้น อยากได้แบบนั้น ต้องให้เป็นแบบนั้น โดยที่ไม่ได้คำนึงถึงความต้องการและความรู้สึกของผู้อื่น

 

2.ความอิจฉา

 

ความอิจฉาเป็นดั่งฝาแฝดของความโลภ เพราะเมื่อมีความโลภครอบงำ เราจะอยากครอบครอง โดยเมื่อความอยากครอบครองนั้นแผ่ขยายออกไปสู่ของของคนอื่น จึงเกิดเป็นความอิจฉา คือการอยากไปครอบครองในสิ่งของของคนอื่น

 

3.ขาดความเห็นอกเห็นใจ

คนที่โลภจะไม่ได้กังวลใจหรือนึกถึงว่าการกระทำของตัวเองจะไปกระทบความรู้สึกหรือชีวิตของใคร และคนกลุ่มนี้จะไม่ค่อยยอมรับว่าพฤติกรรมและการกระทำของเขาเองคือสาเหตุที่ทำให้คนอื่นไม่อยากที่จะคบหาหรืออยู่ใกล้

 

4.ไม่เคยพอใจ

คนที่โลภมักจะมองโลกใบนี้แบบ Zero-sum game คือ ถ้ามีผู้ชนะก็ต้องมีผู้แพ้และผู้ชนะต้องเป็นตัวเขา หากผลประโยชน์คือการแบ่งเค้ก คนที่โลภจะพยายามมองหาวิธีที่จะได้ส่วนแบ่งให้มากที่สุด แทนที่จะเป็นการขยายก้อนเค้กให้ใหญ่

 

5.โกงได้เก่ง บงการคน

คนที่โลภมักจะขโมยผลงานคนอื่นมาเป็นของตัวเอง หรือบงการครอบงำคนรอบข้างเพื่อสนองความต้องการและอัตตาของตัวเองอยู่เสมอ

 

6.มองอะไรในระยะสั้น

คนที่โลภมักจะมองแต่ความต้องการที่เกิดขึ้นและต้องการตอบสนองในทันที โดยปล่อยให้ผลกระทบหรือสิ่งที่ตามมาเป็นเรื่องของคนอื่นที่ต้องปรับตามหรือจัดการ หากเป็นผู้บริหารก็มักจะเป็นการสนใจในโบนัสผลตอบแทนที่จะได้รับมากกว่าการลงทุนเพื่ออนาคต หรือ แบ่งปันผลตอบแทนนั้นคืนกลับให้พนักงาน

 

7.ไม่รู้ขอบเขต

 

คนที่โลภมักจะไม่ถนัดในการรักษาขอบเขตให้เป็นไปตามที่ตกลง คุณธรรมและจริยธรรมอาจจะเป็นสิ่งที่ยอมตามได้ถ้าทำให้บรรลุเป้าหมาย โดยที่คนโลภมักจะหาช่องโหว่ ข้อยกเว้นมาใช้อยู่เสมอ

การได้สำรวจสัญญาณเตือนของอาการโลภ ทำให้เรานักลงทุนได้กลับมาไตร่ตรองคิดว่าจะเลือกทิศทางแบบไหนในการใช้ชีวิตและลงทุน ในขณะเดียวกันการได้พิจารณาผู้บริหารของธุรกิจที่เรากำลังร่วมลงทุนอยู่ก็เป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ ความโลภที่กำลังพอดีจะเป็นสิ่งที่พาให้เศรษฐกิจและการเติบโตพัฒนาขับเคลื่อนไป ระมัดระวังภัยจากความโลภไว้เสมอ ๆ ขอให้ลงทุนโดยสวัสดิภาพ

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

 

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

 

อ้างอิง: https://knowledge.insead.edu/blog/insead-blog/seven-signs-of-the-greed-syndrome-4624

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน