หนังสือ & บรรยาย

สรุปหนังสือ แก่นการลงทุนเน้นคุณค่า

สรุปหนังสือ แก่นการลงทุนเน้นคุณค่า

สรุปหนังสือ แก่นการลงทุนเน้นคุณค่า

 

หนังสือแก่นการลงทุนเน้นคุณค่าเป็นหนังสือเขียนโดย Howard Marks และแปลด้วยพี่เว็บ พรชัย รัตนนนทชัยสุข นับเป็นหนังสือที่มีประโยชน์อย่างมากในเชิงการลงทุน โดยเฉพาะแนวคิดการลงทุนพื้นฐาน วันนี้ผมได้สรุปความการสรุปหนังสือเล่มนี้มาจากการสรุปความของพี่นักลงทุนอีกท่านหนึ่ง (นามแฝง : นายมานะ) หวังว่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้อ่านทุกคน

 

 

  1. คิด 2 ชั้น

 

– คิด 2 ชั้นตามแนวคิดในหนังสือหมายถึง เราต้องคิดให้ลึกซึ้งกว่าคนสวนใหญ่ หรือก็คือคิดให้ “แตกต่าง” จากคนส่วนใหญ่

– คนทั่วไปจะชอบดูแพทเทิร์นในอดีต แล้วคาดหวังว่าอนาคตมันจะต้องออกมาเหมือนเดิมแบบเป๊ะ ๆ แต่วิธีนี้มันไม่เวิร์ค

– สาเหตุเพราะไม่มีวิธีไหนหรอกที่จะได้ผลตลอดไป

– ก็คือมีคนจำนวนไม่มากที่มี mindset เหมาะที่จะเป็น active investor นั่นเอง (เดี๋ยวเราจะย้ำประเด็นนี้อีกทีในช่วงสรุปจบ)

– ตัวอย่างของคนคิดชั้นเดียวก็เช่น บริษัทนี้ผู้บริหารเก่งมาก ๆ ต้องเป็นบริษัทที่ดีแน่ ๆ แต่คนคิด 2 ชั้นคือ บริษัทนี้ผู้บริหารเก่งก็จริง แต่บริษัทคู่แข่งเก่งกว่ามาก แบบนี้ไม่ดีแน่

– หรืออย่างบริษัทนี้เป็นบริษัทที่มี product ที่สุดยอดมาก ๆ ดังนั้นแล้วเราควรถือหุ้นบริษัทนี้

– คนคิด 2 ชั้นจะคิดว่าบริษัทนี้มี product ที่สุดยอดก็จริง แต่คนส่วนใหญ่รับรู้ข้อมูลนี้แล้วรึยัง ถ้ายังเช่นอย่าง เราใช้ iPhone 1 แล้วเราชอบ หรือเราใช้ Tesla model S แล้วเราชอบ แล้วไปซื้อหุ้น เพราะคิดว่าคนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ แบบนี้ได้ แต่ถ้าเราซื้อหุ้น Apple หรือ Tesla ณ วันนี้ มันต้องไม่ใช่เพราะแค่ product เค้าดี เพราะทุกคนรู้แล้วว่า product เค้าขายได้

– คนคิดชั้นเดียวก็อาจจะบอกอีกว่าเราควรซื้อหุ้น Apple แต่ไม่ควรซื้อหุ้น Tesla ไม่ใช่เพราะ product ของ Apple ดี แต่เพราะ Apple เป็นบริษัทที่มี DCA มีแบรนด์ที่แข็งแกร่ง มีงบการเงินที่แข็งแกร่ง มันเลยเป็นหุ้นที่ดี

– คนคิด 2 ชั้นจะบอกว่า มันเป็นบริษัทที่ดีก็จริง แต่ราคาหุ้นมันสะท้อนเรื่องนี้ไปหมดแล้วรึยัง บริษัทที่ดี ไม่ได้แปลว่าเป็นการลงทุนที่ดี บริษัทที่แย่ ก็ไม่ได้แปลว่าเป็นการลงทุนที่แย่เสมอไป ประเด็นที่สำคัญคือคุณซื้อมันที่ราคาเท่าไหร่ต่างหาก

 

  1. เข้าใจเรื่องตลาดมีประสิทธิภาพ

 

– ไอเดียของนัก finance กระแสหลัก คือ ตลาดมีประสิทธิภาพจริง ๆ = ไม่มีใครทำผลตอบแทนชนะตลาดในระยะยาวได้

– คนที่ทำผลตอบแทนได้มากกว่าคนอื่น อาจจะทำได้แค่ช่วงสั้น ๆ และนั่นก็เพราะเค้าใช้วิธีการที่เสี่ยงมากกว่าคนอื่น

– ถึงแม้เราจะยกปู่ buffet มาอ้าง คนกลุ่มนี้ก็อาจจะบอกว่าสถิติของ Buffet มันยังไม่ยาวพอ หรืออาจจะบอกว่าปู่ buffet ไม่ใช่นักลงทุน แต่เป็นนักธุรกิจก็ได้

– แต่การพูดว่าตลาดมีประสิทธิภาพมากซะจนไม่มีโอกาสใด ๆ อยู่ในตลาดหุ้น ก็เหมือนกับการพูดการหาช่องว่างเพื่อสร้างธุรกิจใหม่ ๆ มันเป็นไปไม่ได้หรอก เพราะถ้าไม่มีโอกาสทางธุรกิจใด ๆ เหลืออยู่บนโลกใบนี้แล้ว (เพราะถ้ามี บ.ใหญ่ ๆ หรือใครสักคนก็คงทำกันไปหมดแล้ว)

– ซึ่งไม่จริง มันมี market gap ที่ผู้ประกอบการที่เก่งกว่าค่าเฉลี่ยจะสร้าง สิ่งใหม่ ได้เสมอ และมันก็ไม่ใช่แค่เพราะบังเอิญ หรือโชคช่วย

– ส่วนตัวผมมองว่าไอเดียนี้เป็นแค่การหลอกตัวเองของคนที่ไม่ประสบความสำเร็จในการเป็น Active investor

– Howard Marks บอกว่าเขาคิดว่าควรจะเอาแนวคิดตลาดมีประสิทธิภาพมาใช้โดยมองทั้ง 2 มิติคือ 1. ตลาดมีประสิทธิภาพจริง ๆ ในแง่ของความเร็วในการกระจายของข้อมูล (เช่นพองบ ออกปุ๊บ ราคาหุ้นในวันต่อมาก็ขึ้นหรือลงอย่างรวดเร็วปั๊บ แต่ราคาที่ขึ้นหรือลงในวันหลังจากงบออกเพียง 1 วันไม่ใช่ มูลค่าแท้จริงของหุ้นนั้น ๆ)

– คือเราไม่ควรประมาทว่าตลาดโง่ หรือมันช่างไม่มีประสิทธิภาพเอาซะเลย ในบางช่วงเวลามันก็มีประสิทธิภาพจริง ๆ แต่ในหลาย ๆ โอกาสตลาดหุ้นก็ไม่ได้มีประสิทธิภาพขนาดนั้น

 

  1. ความเสี่ยง

 

– นัก finance กระแสหลักมองว่าความเสี่ยง = ความผันผวน (ค่า beta)

– เช่น หุ้น เป็น asset ที่ให้ผลตอบแทนสูง เพราะเสี่ยงสูง

– ประโยคนี้มีส่วนจริงตรงนที่ถ้ามองหุ้น = ธุรกิจแล้ว การเปิดบริษัทใหม่ขึ้นมา 1 บริษัท ย่อมเสี่ยงสูงกว่าฝากแบงก์อยู่แล้ว

– แต่ในแง่ของการลงทุนหุ้น เราไม่ได้พูดถึงการลงทุนในบริษัทแห่งเดียว หรือก็คือเราไม่ได้จำเป็นจะต้องถือหุ้นตัวเดียว แต่เรากำลังพูดถึง “ตลาดหุ้น” (หรือก็คือการถือกองทุนดัชนี) ซึ่งเป็น asset ที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุดในระยะยาว

– ถ้าหุ้นเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยในระยะยาวสูงกว่า แล้วจะเรียกว่ามันเป็นสินทรัพย์ที่เสี่ยงได้ยังไง

– การลงทุนในหุ้น (กองทุนดัชนี) ไม่ได้เสี่ยงกว่าสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ หรือไม่ได้เสี่ยงกว่ากระทั่งการถือเงินสด การลงทุนในหุ้นแค่ผันผวนมากกว่า

– ความเสี่ยง ไม่ใช่ความผันผวน แต่เป็นโอกาสที่จะ 1. ขาดทุน 2. แพ้ตลาด 3. ไม่มีสภาพคล่องในยามที่เราจำเป็นต้องขายหุ้นออกมา

– สำหรับ VI แล้วความเสี่ยงเรื่องข้อ 3. ไม่น่าจะมี ความเสี่ยงจริง ๆ เพราะเราควรเอาเงินเย็นมาลงทุน ในขณะที่ถ้าเราเชื่อว่าหุ้นเป็น Asset ที่ดีที่สุดแล้ว การที่เราถือหุ้นก็ไม่ควรจะขาดทุนในระยะยาว ความเสี่ยงจริง ๆ ของ VI คือโอกาสที่จะแพ้ตลาดมากกว่า

– หรืออาจพูดได้ว่าความเสี่ยงเดียวที่ vi ควรจะกลัวคือ ความเสี่ยงจากการประเมินมูลค่าหุ้นผิด หรือคาดการณ์อนาคตผิด ซึ่งความเสี่ยงนั้นเกิดจากความไม่รู้ ไม่ใช่ความผันผวน

– ถ้ามีความรู้มากพอ เราสามารถหาการลงทุนที่ความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนสูงได้

 

  1. วัฏจักรและการสวนกระแส

 

– ตลาดหุ้นเหมือนลูกตุ้มคือมีลักษณะที่เป็นวัฏจักร สุดท้ายจะกลับมาสู่ดุลยภาพเสมอ

– สิ่งที่นักลงทุนความจะทำก็คือรู้ว่าเราอยู่ตรงจุดไหน โดยดูจากค่า PE ในอดีต หรืออัตราดอกเบี้ยในอดีต เพราะท้ายที่สุดแล้วมันจะกลับมาสู่ดุลยภาพ

– ดังนั้นสิ่งที่เราควรจะทำก็คือ ลงทุนแบบสวนกระแส เมื่อมีโอกาสที่เหมาะสม

– สาเหตุที่คนส่วนใหญ่มักจะผิดคือผลจากอัตตา(อคติ)

– นักลงทุนเก่ง ๆ ไม่ได้พลาดตรงการวิเคราะห์หรือการประเมินมูลค่า แต่ไปพลาดตรงอคติ

– นักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จควรเป็นคนที่อ่อนน้อม ไม่ใช่คนที่เต็มไปด้วยอัตตา

 

  1. เรื่องมูลค่า

 

– นักลงทุน VI ต้องเป็นคนที่ประเมินมูลค่าเท่านั้น

– หุ้นที่พื้นฐานดี ถ้ามันแพงเกินไปก็ไม่ใช่การลงทุนที่ดี ในขณะที่หุ้นที่พื้นฐานไม่ดี ถ้าถูกพอก็เป็นการลงทุนที่ดีได้

– คนส่วนใหญ่ชอบให้ราคามาเป็นเครื่องกำหนดมูลค่า เช่น พอหุ้นขึ้น คนส่วนใหญ่ก็จะยิ่งเชื่อว่ามันเป็นหุ้นที่ดี แต่ถ้าพูดในฐานะ VI ยิ่งหุ้นขึ้น แปลว่ายิ่งมี upside น้อยลง ถ้าหุ้นขึ้นโดยพื้นฐานไม่ได้เปลี่ยนอะไร ก็แปลว่ามันมีความน่าสนใจน้อยลง

 

  1. เอาทุกอย่างมารวมกัน

 

– การลงทุนคล้ายกับวิชา เศรษฐศาสตร์ตรงที่เป็นศิลปะมากกว่าวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์

– คือสุดท้ายแล้วไม่ว่าจะวิธี PE หรือ DCF มันจะมีค่า ค่าหนึ่งที่ถูกกำหนดโดยคน ค่านั้นก็คือ “ผลตอบแทนคาดหวัง”

– ซึ่งผลตอบแทนคาดหวังนี้ มันเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับคน คน ๆ เดียวกัน ในแต่ละช่วงเวลาก็อาจจะไม่เท่ากัน เช่น ในช่วงเวลาที่ดอกเบี้ย 15% ผลตอบแทนคาดหวังของหุ้นอาจจะไปถึง 20% ในขณะที่เวลาที่ดอกเบี้ย 2% ผลตอบแทนคาดหวังของหุ้นอาจจะแค่ 5% ก็ได้

– เราต้องมีความเข้มแข็งทางจิตใจพอที่จะฝืนกระแสความคิดของคนส่วนใหญ่

– สำหรับอาชีพอื่น การ action บ่อย ๆ อาจจะดี เช่น นักกีฬาซ้อมมาก ๆ แข่งมาก ๆ มักจะดี แต่สำหรับนักลงทุน ยิ่ง action มาก ไม่ได้แปลว่ายิ่งดี

– สุดท้ายสำคัญที่สุดคือ ไม่ใช่ว่าเราคิดต่าง หรือสวนกระแสจากคนอื่นได้แล้วเราจะประสบความสำเร็จ

– คนคิดต่างแล้วผิดก็มีเยอะแยะ ดังนั้นต้องคิดต่างและคิดถูกด้วย ก็คือต้องมีความคิดเหนือชั้นกว่าคนอื่น

– มีคนไม่มากที่ทำได้ = ไม่ใช่ทุกคนเหมาะจะเป็น active investor

– เช่น ถ้าเราเป็นแนวชอบซื้อหุ้น super stock เราจะไม่ซื้อเพราะแค่มันพื้นฐานดีเพราะหลายครั้งราคามันสะท้อนความดีไปมากแล้ว แต่เราจะซื้อก็ต่อเมื่อมันดีกว่าที่คนอื่นคิดมาก ๆ

– ถ้าจะซื้อหุ้นแนวก้นบุหรี่ เราจะรู้ว่ามันอาจจะไม่ใช่หุ้นที่มี DCA เข้มแข็ง แต่ราคามันลงมามากเกินไปแล้ว หุ้นตัวนี้มันไม่ได้แย่ขนาดที่ใคร ๆ คิด

– สรุปคือถ้าซื้อหุ้นที่คนส่วนใหญ่เชื่อว่าดี มันต้องดีกว่าที่ใคร ๆ คิด ถ้าซื้อหุ้นที่คนส่วนใหญ่เชื่อว่าแย่ มันต้องไม่แย่ขนาดที่ใคร ๆ คิด

 

หวังว่าจะได้ประโยชน์จากการถอดความครั้งนี้

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

 

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน