การลงทุน

SAPPE และ Confirmation Bias ผิดพลาดเพราะเลือกมอง

SAPPE

SAPPE หรือบริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มยี่ห้อดังหลายยี่ห้อในตลาดเครื่องดื่มไทย เช่น เซปเป้ ( Sappe ) โมกุโมกุ (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นกามุกามุ) และกาแฟเพรียว

 

หุ้นเซปเป้ ถือเป็นหุ้นอีกตัวหนึ่งที่มีสตอรี่เรื่องการบุกตลาดจีน ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าเป็นหุ้นตัวแรก ๆ ของช่วงนี้เลยด้วยซ้ำ ที่มีข่าวการบุกตลาดจีนอย่างจริงจัง แน่นอนว่าการบุกตลาดจีนถือเป็นเรื่องราวที่หวือหวา และน่าสนใจสำหรับนักลงทุนมาก ราคาหุ้นเคยขึ้นสูงไปกว่าพีอี 30 เท่ากว่า ๆ สะท้อนความคาดหวังในการเติบโตในตลาดต่างประเทศของหุ้นตัวนี้

 

ผมตัดสินใจเข้าลงทุนใน หุ้นSAPPE ที่ราคาประมาณหุ้น 20 บาท หลังจากที่ราคาตกลงมามากจากราคาแถว 30 บาทกว่า ๆ ได้ ปัญหาเรื่องผู้จัดจำหน่ายในจีนของบริษัท ทำให้ยอดขายในจีนหยุดชะงัก และราคาหุ้นตกมาสะท้อนความผิดหวังของนักลงทุนอย่างรุนแรง

 

SAPPE

 

ความผิดพลาดในการลงทุนในหุ้นตัวนี้ของผม คือ ผมสนใจแต่ข้อมูลด้านดีของบริษัท เข้ากับอคติประเภท Confirmation Bias หรือการเลือกรับข้อมูลแต่สิ่งที่ตัวเองอยากฟัง ในขณะที่บริษัทมีทั้งด้านดีและด้านเสีย แต่ผมกลับเลือกรับข้อมูลจากบริษัทเป็นสำคัญ โดยเฉพาะงาน Opportunity Day ที่ผู้บริหารมักมาเพื่อให้เป้าหมายการเติบโต โดยที่ผมมองข้ามหรือเลือกที่จะมองข้ามความยากลำบากในการบุกตลาดต่างประเทศสุดหินอย่างจีนไปเสียหมดสิ้น

 

ถามว่าผู้บริหารผิดไหม ผมก็มองว่าไม่ได้ผิด เพราะผู้บริหารก็คงจะตอบไปตามความคิด และเป้าหมายของตนเอง ณ ขณะนั้น แต่แน่นอนว่าทุกการตัดสินใจย่อมมีความไม่แน่นอนประกอบอยู่ด้วยเสมอ สมัยนั้นผมเด็กเกินกว่าจะเข้าใจเรื่องความยากลำบากในการทำธุรกิจได้ อะไรที่ผู้บริหารให้เป้าหมาย ผมก็เข้าใจว่ามันจะเป็นอย่างนั้น

 

ราคาหุ้นที่ว่าถูกแล้ว ยังมีถูกกว่า ผมตัดสินใจขายหุ้นที่ราคาประมาณ 17 บาทต่อหุ้น หรือ คิดเป็นผลขาดทุนประมาณ 15 % ได้ ประสบการณ์ครั้งนั้น สอนอะไรผมหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความไม่แน่นอน ที่มาพร้อมกับเป้าหมายของการเติบโต

 

เหตุผลหลักมาจากการที่ผมคิดว่าผมไม่เข้าใจบริษัท และตลาดที่บริษัททำมากอย่างเพียงพออย่างที่ตัวเองคิดว่าเข้าใจในตอนแรก ผมยินดีที่จะขายขาดทุนออกไปตระหนักดีว่าผมเองตัดสินใจผิดตั้งแต่ต้นเอง ยิ่งผลประกอบการออกมาผิดไปจากที่ประมาณไว้ตั้งแต่ต้น ผมรู้ว่าผมแทบไม่รู้อะไรเลย ผมจึงขอถอนตัว แม้ว่าบริษัทก็ไม่ได้มีทีท่าจะย่ำแย่มากมายแต่อย่างใด

 

ขีดเส้นใต้ว่าบทความนี้เขียนขึ้นเพื่อบอกเล่าประสบการณ์ความผิดพลาดในการลงทุนเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาตัดสินว่าหุ้นหรือบริษัทดีหรือไม่ดี การลงทุนของแต่ละคนแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับบริบทแวดล้อมขณะนั้นมาก ต่างกรรมต่างวาระ ผลลัพธ์ก็แตกต่างออกไปมาก

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

 

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน