Kintsugi (คินสึงิ) ปรัชญาและศิลปะแห่งการซ่อมแซมบาดแผล
คินสึงิ (Kintsugi) คือศิลปะญี่ปุ่นที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน มาจากความเชื่อที่ว่า ถ้วยชามที่แตกบิ่นนั้นไม่ควรทิ้งขว้าง แต่ควรซ่อมเพื่อให้พวกมันกลับคืนมามีชีวิตอีกครั้ง โดยใช้รักทองมาเป็นตัวเชื่อม ถ้วยชามที่แตกบิ่นนั้นจะถูกประกอบเข้าด้วยกันอีกครั้ง โดยไม่พยายามปิดบังรอยแตก แต่ใช้สีทองขับความสวยงามของความไม่สมบูรณ์แบบออกมา หลักการทางศิลปะนี้กลายเป็นปรัชญาที่หลายคนสามารถนำไปปรับใช้ได้
ลงทุนศาสตร์ชวนเรียนรู้การดูแลบาดแผลในชีวิต ผ่านปรัชญาว่าด้วยการซ่อมแซมความแตกร้าวรักทอง
คนเราเมื่อตกอยู่ในสภาวะที่เดือดร้อน เป็นทุกข์ นั่นไม่ต่างอะไรกับถ้วยชามหรือแก้วที่แตกออก หลายครั้งในชีวิตของเราที่เรารู้สึกเจ็บปวด สับสน เจอเรื่องไม่คาดคิดมากมาย ที่สุดท้ายทำให้เรารู้สึกว่าเราพัง พังเหมือนส่วนต่าง ๆ ของเรานั้นถูกทำลายไป ทั้งความสุข รอยยิ้ม หรือความสามารถจะอดทนกับความหม่นในใจ
แต่ทุกอย่างในโลกใบนี้นั้นไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ ฝนตกเวลาเลิกงาน รถติดที่ทำให้คุณไปสาย หรือการแตกหักของความสัมพันธ์ ความรู้สึกไม่ยุติธรรม การสูญเสีย เหล่านี้คือประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตมนุษย์ครั้งแล้วครั้งเล่า ทุกครั้งที่ทุกข์ใจแบบนั้น ปรัชญาคินสึงิเตือนให้เรารู้ว่า แม้แต่ถ้วยชามที่แตกออกจากกันยังสามารถต่อกลับมาได้ใหม่ แล้วทำไมเราจะกลับมามีความสุขไม่ได้ กลับมาอยู่กับเรื่องที่ทุกข์ โดยไม่ต้องปิดบังความเจ็บปวด
เมื่อความไม่สมบูรณ์ถูกหล่อหลอมรวมเข้ากับแนวคิดของการใช้ชีวิต จนกลายเป็นความสวยงามทางศิลปะอย่าง “คินสึงิ” ที่เรียกได้ว่าเป็นความสวยงามจากความไม่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้คินสึงิได้ถูกสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน จนหลาย ๆ คนตกตะกอนความคิดจนสามารถนำไปเป็นแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตได้
เมื่อชิ้นส่วนที่แตกร้าวของภาชนะนั้น ถูกประสานเข้ากัน ตำหนิที่เคยน่าเกลียด จะกลับกลายเป็นลวดลายศิลปะที่งดงามอย่างคาดไม่ถึง พูดมาถึงตรงนี้แล้วจะไม่แนะนำหนังสือเรื่องนี้ก็คงไม่ได้ หนังสือเรื่อง คินสึงิ ความงามของบาดแผลแห่งชีวิต โดยหนังสือเล่มนี้ เขียนโดย “โทมาส นาวาร์โร” จิตแพทย์ชื่อดังชาวสเปนที่มีประสบการณ์รักษา “ผู้บาดเจ็บทางใจ” มายาวนานหลายสิบปี ดังนั้น นอกจากหนังสือเล่มนี้จะนำเสนอปรัชญาล้ำค่าในการเยียวยารักษาใจจากอดีตที่สืบทอดมายาวนานแล้ว และได้รับการแปลเป็นไทยโดย วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ
ผู้อ่านจะได้พบกับเคสตัวอย่างจากชีวิตจริงมากมายของคนที่ถูกทำร้ายจิตใจจนแตกหักยับเยินที่ผู้เขียนได้พบเจอ และร่วมกันรักษาด้วยวิถีคินสึงิจนมีความสุขกับชีวิตมากขึ้น ซึ่งจะเป็นทั้งแรงบันดาลใจและตัวอย่างให้ทำตาม
ชีวิตนั้นไม่สมบูรณ์แบบ คำที่ใช้ซ้ำ ๆ นี้ก็ดูไม่เกินจริงนัก คำถามคือเราจะเรียนรู้อยู่กับความไม่สมบูรณ์แบบนี้อย่างไร ในเมื่อเราไม่อาจล่วงรู้อนาคตได้เลย ปัญหาจะเข้ามาในชีวิตเรากี่ครั้ง หากยอมรับได้ว่ามันพังทลาย ก็อาจยอมรับได้เช่นกันว่าเราสามารถซ่อมแซมมันได้
ลงทุนศาสตร์ – Investerest
ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE
พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์
อ้างอิง
SeEd, ความงามแห่งบาดแผลชีวิต, อ้างอิงจาก https://m.se-ed.com/Detail/%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%B4-(Kintsugi)-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95/9786163711380
Marumara, Kintsugi ร่องรอยแห่งความบอบช้ำ ศิลปะแห่งการแตกร้าว, อ้างอิงจาก https://www.marumura.com/kintsugi/
UrbanCreature, Kintsugi ศิลปะของการแตกร้าว ร่องรอยสวยงามแห่งความบอบช้ำ, อ้างอิงจาก https://urbancreature.co/kintsugi/#:~:text=%E2%80%94%20%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%B4%20(Kintsugi,%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A
อัพเดทล่าสุดเมื่อ :