ทัศนคติ

ออกแบบชีวิตที่ต้องการด้วยวิธีคิดเชิงกลยุทธ์

ออกแบบชีวิตที่ต้องการด้วยวิธีคิดเชิงกลยุทธ์

ออกแบบชีวิตที่ต้องการด้วยวิธีคิดเชิงกลยุทธ์

 

ในยามวิกฤต หลายคนต้องทำการตัดสินใจผ่านเรื่องสำคัญในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพ การงาน ครอบครัวหรือแม้กระทั่งความสัมพันธ์กับคนรอบตัว แต่การใช้พลังงานไปกับชีวิตประจำวัน ทำให้คนส่วนใหญ่มีเวลาไตร่ตรองสิ่งเหล่านี้น้อยเกินไป เป็นผลให้เมื่อต้องเผชิญกับการตัดสินใจในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใหญ่หรือเล็ก เราก็อาจจะไม่เหลืออะไรที่จะนําทางเรา นอกไปจากอารมณ์และสัญชาตญาณ

 

เป็นที่รู้กันดีว่า องค์กรใหญ่ ๆ นั้น จำเป็นจำต้องมีกลยุทธ์ทางธุรกิจ เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้ตรงตามเป้าหมาย คำถามคือแล้วมนุษย์ล่ะ เราจะสามารถปรับรูปแบบการคิดเชิงกลยุทธ์ ที่เราใช้กับองค์กรมาช่วยให้บุคคลออกแบบอนาคตที่ดีขึ้นสำหรับตัวเองได้ไหม คําตอบคือได้ ด้วยการใช้ขั้นตอนสำคัญ ๆ เพียงเจ็ดคำถามเท่านั้น ซึ่งการตอบคำถามเหล่านี้ จะนำไปสู่กลยุทธ์ชีวิตที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เนื่องจากเอกลักษณ์ที่เฉพาะตัว

 

ขั้นตอนที่1 คุณจะต้องกำหนดว่าชีวิตที่ยอดเยี่ยมสำหรับคุณมีความหมายอย่างไร?
จุดเริ่มต้นของกระบวนการกลยุทธ์ขององค์กร คือการกำหนดตัวชี้วัดพื้นฐานสำหรับความสำเร็จ ดังนั้นต้องย้อนกลับมามองว่า แล้วอะไรล่ะคือตัวชี้วัด ที่แสดงถึงชีวิตที่ยอดเยี่ยมสำหรับเรา ซึ่งสิ่งนี้ไม่มีผิดหรือถูกและจะมีความแตกต่างกันไป ตามบรรทัดฐานของแต่ละคนเช่น เงินทอง อำนาจ ชื่อเสียง หรือการศึกษา เป็นต้น

 

ขั้นตอนที่ 2 ให้คุณร่างวัตถุประสงค์ของคุณ
เพื่อให้กลยุทธ์ขององค์กรประสบความสำเร็จ จะต้องมองให้ออกว่า วัตถุประสงค์ขององค์กรคืออะไร หากมองเป็นบุคคลแล้วนั้น วัตถุประสงค์ในการใช้ชีวิตจะอยู่ที่จุดตัดของสิ่งที่เราเก่ง โลกต้องการอะไร และค่านิยมของเราคืออะไร การใช้คําถามเหล่านี้ ได้ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ทั่วโลก สามารถพัฒนาวัตถุประสงค์ขององค์กรได้ โดยวัตถุประสงค์ จะคอยทำหน้าที่เป็นเสมือนดาวเหนือที่สำคัญสำหรับคุณ

 

ขั้นตอนที่ 3 วิสัยทัศน์ชีวิตของคุณ
ขั้นตอนต่อไป ในการสร้างกลยุทธ์ขององค์กรคือ การกำหนดวิสัยทัศน์สำหรับอนาคต วิสัยทัศน์คือการระบุให้ได้ว่า องค์กรต้องการจะเติบโตไปในทิศทางไหน และอยู่จุดไหน สำหรับบุคคลก็เช่นกัน วิสัยทัศน์คือการพยายามจินตนาการว่า เราต้องการเป็นใครในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ดังที่นักปรัชญาสโตอิกเซเนกา กล่าวว่า “ถ้าคุณไม่รู้ว่ากําลังแล่นเรือไปท่าเรือใด ย่อมไม่มีลมใดเอื้ออํานวย” การสร้างวิสัยทัศน์ชีวิตของคุณ คือการเตรียมตัวให้พร้อมรับกับทุกโอกาสนั่นเอง

 

ขั้นตอนที่ 4 คือการวิเคราะห์พื้นฐานชีวิตของคุณว่าคุณใช้เวลา 168 ชั่วโมงต่อสัปดาห์อย่างไร
บริษัทต่าง ๆ มักจะใช้การวิเคราะห์พอร์ตโฟลิโอ เพื่อประเมินปัจจัยที่สำคัญ สำหรับการเติบโตของหน่วยธุรกิจของตน เพื่อตัดสินใจว่า จะต้องลงทุนในจุดไหนเป็นพิเศษ ในขณะที่บุคคล สามารถใช้วิธีนี้ในการประเมินตัวเองว่า แต่ละวันให้เวลาไปกับอะไร และลักษณะการใช้ชีวิตของตนนั้น มีสิ่งไหนที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติม

 

ขั้นตอนที่ 5 การกำหนดเกณฑ์มาตรฐานความพึงพอใจในชีวิต
แต่ละองค์กร จะต้องวางแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด จากนั้นทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบแต่ละแนวทาง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด เราสามารถทำเช่นเดียวกัน กับองค์กรโดยการวิเคราะห์ว่า ชีวิตแบบใดที่เราพึงพอใจ โดยอาจใช้การเลียนแบบตัวอย่างชีวิต ของบุคคลที่เราชื่นชมหรือต้องการจะเป็น

 

ขั้นตอนที่ 6 ให้คุณรวมผลลัพธ์ของห้าขั้นตอนแรก และกำหนดทางเลือกและการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตของคุณ

 

และสุดท้ายในขั้นตอนที่ 7 ให้คุณวางแผน สำหรับการนําตัวเลือกของคุณไปสู่การปฏิบัติ

 

คุณสามารถสร้างกลยุทธ์ชีวิตได้ตลอดเวลา ผ่านการวางแผนที่จำลองถึงสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ชีวิตจะต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การเริ่มต้นงานแรก การเลื่อนตำแหน่ง การตกงาน การเกษียณอายุ หรือหลังจากเหตุการณ์สําคัญในชีวิต เช่น ปัญหาด้านสุขภาพ การหย่าร้าง การสูญเสียงาน วิกฤตชีวิตวัยกลางคน หรือการเสียชีวิตของคนที่คุณรัก

 

เมื่อคุณมีกลยุทธ์ชีวิต คุณก็จะมีหลักในการนําทางสู่การเปลี่ยนแปลง และช่วงเวลาที่ยากลําบากทั้งหมดในชีวิตได้ดีขึ้น เกิดความยืดหยุ่น เพิ่มความสุขและช่วยเติมเต็มชีวิตได้มากขึ้น

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , และ WEBSITE

 

https://medium.com/illumination/strategic-thinking-in-everyday-life-1e0f595a83a
https://hbr.org/2023/12/use-strategic-thinking-to-create-the-life-you-want
https://www.linkedin.com/pulse/art-strategic-thinking-unlocking-your-potential

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน