ทัศนคติ

Toxic Productivity ขยันก็ดี แต่ระวังชีวิตจะพังเสียก่อน

Toxic Productivity ขยันก็ดี แต่ระวังชีวิตจะพังเสียก่อน

Toxic Productivity ขยันก็ดี แต่ระวังชีวิตจะพังเสียก่อน

 

มนุษย์เราถูกปลูกฝังเรื่องความขยันและความพยายามมากตั้งแต่อายุยังน้อย ไม่ว่าจะเป็นสถาบันครอบครัว หน่วยงานการศึกษา เหล่านี้สร้างสภาพแวดล้อมที่ทำให้สมการแห่งความสำเร็จดูจะตรงไปตรงมาว่า ถ้าขยัน แล้วจะประสบความสำเร็จ แน่นอนว่าการพยายามหาความรู้ ตั้งใจทำงาน วิเคราะห์งานที่ได้รับมอบหมายอย่างจริงจังจะนำไปสู่ความสำเร็จของชิ้นงาน และเติบโตต่อไปเป็นการเลื่อนลำดับ จากคนตัวเล็ก ๆ  ค่อย ๆ สะสมความสำเร็จไปเรื่อย ๆ

 

แต่ชีวิตคนเราไม่ได้มีแค่การเรียนหรือทำงานหนักเพื่อการประสบความสำเร็จอย่างเดียว มนุษย์คนหนึ่งยังมีอีกหลายบทบาทในชีวิต ที่ไม่ใช่แค่บทบาทที่บ่งชี้โดยอาชีพ คนคนหนึ่งอาจเป็นทั้ง แม่ เพื่อน เป็นคู่รักของใครสักคน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นความสัมพันธ์ที่สำคัญไม่แพ้การประสบความสำเร็จเลย เพราะชีวิตเรา ไม่ได้มีแค่งาน

 

เนื่องจากช่วงที่ผ่านมามีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เป็นปัญหาระดับโลกที่กระทบถึงคนทุกคน การทำงานถูกเปลี่ยนสภาพจากการเข้าออฟฟิศไปนั่งทำงานด้วยกันกับหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงาน กลายไปเป็นการทำงานผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ หรือเป็นการทำงานที่เรียกว่า Work from Home นั่นเอง ด้วยบริบทการทำงานแบบนี้ ทำให้คนแยกชีวิตส่วนตัวออกจากชีวิตการทำงานได้ยากมากขึ้น เพราะมันไม่มีการกลับบ้าน หรือการเดินออกจากที่ทำงาน คอมพิวเตอร์เครื่องเดียวก็เพียงพอแล้ว

 

ดังนั้นคำว่า Toxic Productivity เลยเริ่มเป็นคำที่ผู้คนหันมาให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้น คำพูดที่ว่า ตั้งใจและขยันจะทำให้เราประสบความสำเร็จในอนาคต ลดทอนชีวิตด้านอื่น ๆ ของคนทำงานคนหนึ่งไปเลย นำไปสู่การหามรุ่งหามค่ำ เลิกงานแล้วแต่ยังไม่ปิดคอมพิวเตอร์ หนำซ้ำ เมื่อมีคนในองค์กรทำงานหนัก ก็พาเอาเพื่อนร่วมงานรู้สึกกดดันไปด้วยว่า เราต้องขยันให้มากกว่านี้ ก็เลยกลายเป็นปัญหา กระทบต่อสุขภาพ ความสัมพันธ์ สภาพจิตใจ คนทำงานหลาย ๆ คน

 

ถามว่า แล้วเราทำอะไรได้บ้าง ที่จะหลีกเลี่ยงจาก Toxic Productivity

  1. โฟกัสในสิ่งที่สำคัญ: ในการทำงานเรามักจะเจอสถานการณ์ที่ว่า งานด่วนเข้ามาทำให้งานหลักที่สำคัญล่าช้า เราจำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญให้ดีและสร้าง To do list เพื่อตั้งเป้ากับตัวเองว่าวันนี้จะทำอะไรให้เสร็จบ้าง วิธีนี้จะทำให้เรารู้ขอบเขตของความสำเร็จในแต่ละวัน
  2. ทำความเข้าใจว่า อาชีพหรือตำแหน่ง ไม่ใช่ตัวตนของเรา: หลายครั้ง คนทำงานมักแนะนำตัวว่าทำอาชีพอะไร สนใจในเรื่องอะไร ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ผิด แต่จุดที่อันตรายคือการไม่สามารถแยกแยะระหว่างตัวตนในการทำงานและชีวิตของเราได้ ซึ่งแน่นอนว่าจะทำให้คุณทำงานเกินตัว เพราะรู้สึกว่างานคือเรา
  3. จัดเวลาไม่ทำอะไรเลย: ในหนึ่งวัน เราสามารถจัดตารางไว้ได้เลยว่าช่วงไหนจะเป็นช่วงพัก ช่วงไหนจะทำงาน ทำงานได้แค่ไหน ถึงกี่โมง แล้วตัดจบ เริ่มทำงานต่อใหม่ในวันพรุ่งนี้

 

งานคือเรื่องสำคัญในชีวิต งานสร้างอำนาจ หน้าตา บทบาท และสร้างเม็ดเงินเพื่อการดำรงชีวิต แต่หากให้ความสำคัญเฉพาะงานอย่างเดียว ทุ่มเทแรงกายแรงใจจนหมด อาจจะส่งผลเสียในภายหลัง เช่น มีภาวะ burn out คือการเหนื่อยหน่ายไม่อยากทำงาน ไม่มีความตื่นเต้นในชิ้นงานอีกต่อไปแล้ว เพราะทุ่มเอาพลังงานทั้งหมดที่มีลงไปกับงาน

 

คนเราจะมีชีวิตที่ดีได้นั้นต้องอาศัยความสมดุล การขูดรีดตัวเองให้ขยันตลอดเวลาอาจรบกวนความสมดุล ดังนั้น เราคือคนกำหนดเองว่าเราจะใช้ชีวิตส่วนตัว ควบคู่ไปกับการทำงานให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

 

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

 

อ้างอิง
Blogtrello.com, What is toxic productivity, and 5 tips to overcome it, Retrieved from https://blog.trello.com/what-is-toxic-productivity-and-5-tips-to-overcome-it#:~:text=Toxic%20productivity%20is%20a%20mindset,else%20you%20%E2%80%9Cshould%E2%80%9D%20do.
Huffpost, What is toxic productivity Here’s how to spot the damage of the  behavior, Retrieved from https://www.huffpost.com/entry/toxic-productivity-work_l_606655e7c5b6aa24bc60a566
Wrike.com, the five antidotes for toxic productivity, Retrieved from https://www.wrike.com/blog/ways-to-combat-toxic-productivity/

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน