หนังสือ & บรรยาย

มองการแข่งขันทางธุรกิจในสหรัฐอเมริกา และลัทธิบริโภคนิยมผ่าน American Psycho

มองการแข่งขันทางธุรกิจในสหรัฐอเมริกา และลัทธิบริโภคนิยมผ่าน American Psycho

มองการแข่งขันทางธุรกิจในสหรัฐอเมริกา และลัทธิบริโภคนิยมผ่าน American Psycho

 

“ผมยังคงมึนงงกับโทษทัณฑ์ของผม ผมหาได้รู้จักตัวเองยิ่งขึ้น ไม่ได้รู้อะไรมากกว่าที่ได้เล่ามา การสารภาพครั้งนี้ไม่มีความหมายใด ๆ” คำกล่าวของแพทริค เบตแมน ที่ยังคงทิ้งเป็นปริศนาให้กับเหล่าผู้ชมทั่วโลกให้พยายามตีความกันมาอย่างยาวนาน

 

American Psycho เป็นนวนิยายที่ถูกประพันธ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1991 โดย Bret Easton Ellis ที่ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ในปี ค.ศ. 2000 ในตัวเรื่องราวดังกล่าวนี้จะเริ่มเล่าด้วยมุมมองของตัวละครอย่าง แพทริค เบตแมน นายธนาคารผู้หล่อเหลา ซึ่งใช้ชีวิต 2 แบบด้วยกัน โดยชีวิตแรกของเขาคือนายธนาคาร ที่ต้องเผชิญกับเรื่องราวทางเศรษฐกิจ งานสังคม และความตึงเครียดของเศรษฐกิจในยุค 80s และชีวิตที่สอง คือฆาตกรโรคจิตที่ฆ่าคนด้วยวิธีที่แสนจะทรมาน

 

ในตอนแรกนั้น นิยายเรื่องนี้ถูกวิจารณ์อย่างรุนแรง ทั้งในเรื่องของมองมุมมองทุนนิยมที่เลวร้าย หรือแม้แต่ความรุนแรงที่ปรากฏขึ้นมาภายในนิยายเรื่องนี้ หากแต่ถ้ามองไปลึก ๆ แล้ว  American Psycho กลับแฝงไปด้วยเรื่องราวที่เสียดสีต่อลัทธิบริโภคนิยมที่เกิดขึ้นในยุค 80s ที่สามารถฉาบไว้ด้วยความสยดสยองของเรื่องราวได้แบบแยบยลนั่นเอง

 

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายใน American Psycho เกิดขึ้นอยู่ในช่วง 80s โดยเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงที่ประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ขึ้นมามีอำนาจในฐานะประธานาธิบดี และในตอนท้ายเรื่องยังมีการกล่าวถึง Iran-Contra ในตอนท้ายที่บ่งบอกว่าปีนั้นน่าจะเป็นปี ค.ศ. 1987 มากกว่า เพราะมีการพูดถึงการเปิดโปงเรื่องราวดังกล่าวนั้น จึงคาดว่านิยายเรื่องนี้น่าจะอยู่ในช่วงนั้นนั่นเอง

 

สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้น รวมไปถึงยังถูกใช้เป็นบรรยากาศของ American Psycho อีกด้วย ก็คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมากมายทางเศรษฐกิจนั่นเอง โดยสำหรับสหรัฐอเมริกาในยุคนั้น ถือได้ว่ากำลังเป็นยุคที่มีการทำเศรษฐกิจที่มีแนวคิดแบบเสรีนิยมมากขึ้น และการเข้ามาของ โรนัลด์ เรแกน ที่ได้เข้ามาสร้างเศรษฐกิจของอเมริกาด้วยนโยบายมากมาย ในปี ค.ศ. 1981 ไม่ว่าจะเป็นกระตุ้นให้เกิดอุปทานมากขึ้น ด้วยการลดอัตราภาษี รวมไปถึงการลดบทบาทของรัฐบาลในภาคเศรษฐกิจด้วย การพยายามลดการเกิดเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นจากยุค 70s ด้วยการขึ้นดอกเบี้ย รวมไปถึงการแข่งขันเศรษฐกิจกับมหาอำนาจอื่น ๆ โดเฉพาะญี่ปุ่นกำลังเริ่มมาแรงในตอนนั้น

 

จนทำให้เกิดแนวคิดเศรษฐกิจในยุคนั้นว่า “เรแกนโนมิกส์” ที่ทำให้เกิดกระแสบริโภคนิยมที่มากขึ้น รวมไปถึงการเกิด “ยัปปี้” ที่เป็นเจเนอเรชั่นของวัยรุ่นที่ได้รับแนวคิดนี้ และต้องการที่จะแสวงหาความร่ำรวยมากกว่าเดิม จะกลายเป็นเสมือนกับ “ฟันเฟือง” ของยุคนี้เลย โดยมีการเติบโตของ SMEs มากมาย ที่ยังคงรุ่งเรืองมาจนถึงปัจจุบัน ถือว่าเป็นอีกหนึ่งความรุ่งเรืองในการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่มากกว่าเดิมในตอนนี้ และยังรวมไปถึงธุรกิจอื่น ๆ จากหลากหลายประเทศ ที่เข้ามาทำธุรกิจมากขึ้น ภายหลังจากการลดภาษีนั่นเอง ซึ่งเราจะสามารถเห็นการแข่งขันนี้ได้ภายในภาพยนตร์เช่นกัน

 

แต่ด้วยการลดอัตราภาษีที่เกิดขึ้นนั้น รวมไปถึงเหตุการณ์ความขัดแย้งในช่วงสงครามเย็น ที่ทำให้มีการเพิ่มงบประมาณของกองทัพ กลับส่งผลทำให้รัฐบาลเกิดขาดดุลงบประมาณ และขาดมากขึ้นในแต่ละปี ซึ่งด้วยเหตุการณ์เหล่านี้สามารถส่งผลต่อประชาชนชาวสหรัฐอเมริกาอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นปฏิกิริยาความกลัวต่อคอมมิวนิสต์ หรือจะเป็นการต่อต้านสงคราม และแน่นอนที่สุด ก็คือ ลัทธิบริโภคนิยม ที่จะแสดงให้เห็นถึงความร่ำรวยมากมาย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อชนชั้นที่มากกว่าเดิม ที่จะถูกตั้งคำถามกันในภายหลังจากยุคนี้ผ่านสื่อต่าง ๆ มากมาย และสิ่งที่แสดงออกมาก็คือ แพทริค เบตแมน

 

สำหรับตัวละครนี้ เราจะเห็นได้ว่า เป็นตัวละครที่ถูกสร้างขึ้นให้มีภาพลักษณ์แบบนักธุรกิจที่กำลังดำเนินชีวิตไปพร้อมกระแสบริโภคนิยมจากรอบด้าน และการกระทำหลายอย่างของแพทริคก็เป็นสิ่งที่เสียดสีความเป็นทุนนิยมที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการฆาตกรรมของเรา ที่ถือว่าเป็นเรื่องสยดสยองสำหรับผู้รับชม หรือคนทั่วไป หากแต่มันอาจจะกลายเป็นเรื่องเงียบในทันที ถ้าหากเป็นคนไม่มีฐานะ โสเภณี หรือคนไร้บ้าน ไหนจะพฤติกรรมอันอำมหิตที่เหมือนกับโดนลืมไปได้เลยเมื่อเราอยู่ในฐานะที่สูงสุด รวมไปถึงมุมมองของคนที่มีฐานะร่ำรวย ต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในเรื่อง ซึ่งจะทำให้เราได้เห็นว่า คนกลุ่มนี้เป็นอย่างไร โดยสิ่งนี้ถือว่าเป็นการเสียดสีสังคมที่แสดงออกมาของเรื่องราวดังกล่าวนี้

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , และ WEBSITE

 

อ้างอิง
MGR Online. เรแกนโนมิกส์…นโยบายที่พลิกโฉมหน้าเศรษฐกิจโลก. https://mgronline.com/daily/detail/947000001048
Encyclopedia. The 1980s Lifestyles And Social Trends: Overview. https://www.encyclopedia.com/social-sciences/culture-magazines/1980s-lifestyles-and-social-trends-overview
American History. The Economy in the 1980s and 1990s. http://www.let.rug.nl/usa/outlines/economy-1991/a-historical-perspective-on-the-american-economy/the-economy-in-the-1980s-and-1990s.php
ThoughtCo. The 1980s American Economy. https://www.thoughtco.com/us-economy-in-the-1980s-1148148
The Warrior Online. “American Psycho” (2000) Reflects the Class Struggles of Today. https://thewarrioronline.com/2021/10/26/american-psycho-2000-reflects-the-class-struggles-of-today

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน