ธุรกิจ

ธุรกิจปลาแซลมอน การแข่งขันทางเศรษฐกิจระหว่างฝั่งตะวันออกของโลก และฝั่งตะวันตกของโลก

ธุรกิจปลาแซลมอน การแข่งขันทางเศรษฐกิจระหว่างฝั่งตะวันออกของโลก และฝั่งตะวันตกของโลก

ธุรกิจปลาแซลมอน การแข่งขันทางเศรษฐกิจระหว่างฝั่งตะวันออกของโลก และฝั่งตะวันตกของโลก

 

สัตว์เศรษฐกิจ คือหนึ่งในสิ่งที่ส่งผลทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจทางด้านเกษตรกรรม สามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง โดยถือว่าเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญไม่แพ้กับเกษตรกรรมในด้านพืชผลเลยทีเดียว ซึ่งสัตว์เศรษฐกิจเหล่านี้ จะมีผลผลิตที่แตกต่างกันออกไป อันเป็นไปตามความต้องการของตลาด ไม่ว่าจะเป็นการนำไปสร้างเป็นเครื่องประดับ ยารักษาโรค ไปจนถึงการประกอบอาหาร

 

ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ช่วยสร้างเศรษฐกิจ รวมไปถึงยังสามารถเป็นจุดเด่นของประเทศได้อีกด้วย และแน่นอนว่า วิธีการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์เหล่านี้ก็มีความรัดกุมเช่นกัน เพื่อที่จะทำให้สัตว์เหล่านี้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างไม่มีปัญหา ในปัจจุบัน เราสามารถเห็นสัตว์เศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก รวมไปถึง ปลาแซลมอน ที่ถือว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจสำคัญของโลก ที่สามารถพบเห็นได้อย่างกว้างขวาง

 

ปลาแซลมอน เป็นปลาที่กระจายเผ่าพันธุ์ของมันอยู่ตามซีกโลกเหนือ หรือก็คือ ภายในแถบอเมริกาเหนือ, อะแลสกา, ไซบีเรีย, ยุโรปเหนือ, เอเชียเหนือ และเอเชียตะวันออก นั่นจึงทำให้เราสามารถพบเห็นปลาแซลมอน ในบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติก หรือแม้แต่ภายในมหาสมุทรแปซิฟิกนั่นเอง และเพราะแบบนั้นเอง เราจึงสามารถเห็นถึงแหล่งเศรษฐกิจสำคัญ ที่มีส่วนทำให้ปลาแซลมอนสามารถเป้นสินค้าทางเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างมาก ในฐานะสัตว์เศรษฐกิจนั่นเอง

 

ไม่ว่าจะเป็นในฝั่งตะวันตก ที่จะมีประเทศสำคัญที่ช่วยทำให้ปลาแซลมอน เช่น นอร์เวย์ ที่ถือว่าเป็นหนึ่งในแหล่งผลิตผลิตภัณฑ์จากปลาแซลมอน ที่เราจะรู้จักในชื่อว่า นอร์วีเจียนแซลมอน โดยที่ปลาแซลมอนดังกล่าวนี้ สามารถได้รับความนิยมอย่างสูงภายในประเทศไทย โดขมีจุดเด่นอยู่ที่เนื้อแน่น ก้างน้อย สีส้มนวล และมีระดับไขมันที่พอเหมาะ และยังอาศัยความเชียวชาญในการดูแลทรัพยากรเหล่านี้อย่างใกล้ชิด ด้วยงบประมาณมากถึง 620 ล้านบาทต่อปี จนส่งผลทำให้ปลาแซลมอนประเภทนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยในปี ค.ศ. 2022 มีการส่งออกปลาแซลมอนดังกล่าวสู่ประเทศไทยถึง 6% โดยรวมกันเป็น 16,100 ตัน เลยนั่นเอง

 

นอกจากนี้ ในฝั่งตะวันออก ก็สามารถเห็นได้ชัดจากฝั่งแปซิฟิก ที่ถือว่าเป็นจุดที่สามารถค้นหาปลาแซลมอนได้ง่ายดายยิ่งกว่าในบริเวณแอตแลนติกเสียอีก แต่ก็ส่งผลทำให้มีราคาสูงเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ชินุคแซลมอน ที่สามารถพบเห็นได้ในแถบเกาะอาร์กติกแคนนาดา ที่ถือว่าเป็นปลาแซลมอนที่ใหญ่ที่สุด จนทำให้มันได้ชื่อว่า King Salmon เลยทีเดียว แถบยังสามารถพบเห็นได้ง่ายอีกด้วย แต่ถึงกระนั้น ก็มีเรื่องที่น่าเป็นห่วง เกี่ยวกับปลาแซลมอนประเภทนี้ นั่นก็คือ พฤติกรรมของมันเอง ที่จะว่ายทวนกระแสน้ำ โดยมีโอกาสรอดกลับมาที่ 1% นั่นจึงทำให้จำนวนของปลาประเภทนี้ยังคงต้องจับตามอง หรือพยายามดูแลให้ได้มากที่สุด

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , และ WEBSITE

 

อ้างอิง
TrueID. ปลาแซลมอน มีกี่สายพันธุ์? “ปลาแซลมอน” สายพันธุ์ไหนที่กินได้!. https://news.trueid.net/detail/gbEzz8mRwQmp
กรุงเทพธุรกิจ. นอร์เวย์ เล็งขยายตลาดแซลมอนไทย ปีหน้าโต20% หลังทำนิวไฮ ส่งออก4แสนล้านบาท. https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1036901
Big C. เจาะลึกความอร่อย 10 สายพันธุ์ปลาแซลมอน ต่างกันอย่างไร. https://www.bigc.co.th/blog/th/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%8B%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%99

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน