ธุรกิจ

คิดแบบ Ghibli เหตุผลที่หนังเรื่องสุดท้ายของ Hayao Miyazaki ไม่ได้รับการโปรโมต

คิดแบบ Ghibli เหตุผลที่หนังเรื่องสุดท้ายของ Hayao Miyazaki ไม่ได้รับการโปรโมต

คิดแบบ Ghibli เหตุผลที่หนังเรื่องสุดท้ายของ Hayao Miyazaki ไม่ได้รับการโปรโมต

 

จักรวาล Ghibli สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้คนทั่วโลก ภาพยนตร์ของทางค่ายได้รับความนิยมเหนือกาลเวลา ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง My Neighbor Totoro (1988), Grave of the Fireflies (1988), Spirited Away (2001), หรือ Howl’s Moving Castle (2004) อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 2023 นี้ ทางค่ายได้เปิดตัวภาพยนตร์ใหม่ โดยไม่มีการเปิดเผยตัวอย่าง รวมถึงการประชาสัมพันธ์ทางช่องทางใด ๆ เลย ทั้งที่ภาพยนตร์ดังกล่าวจะเป็นงานชิ้นสุดท้ายของ Hayao Miyazaki โดยงานชิ้นสุดท้ายในชื่อ “How do you live?” หรือในอีกชื่อหนึ่ง คือ The Boy and the Heron มีกำหนดการฉายในญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคมที่ผ่านมา [1]

 

การไม่ประชาสัมพันธ์และไม่ปล่อยตัวอย่างให้ดูล่วงหน้า ไม่ใช่เรื่องของความไม่เป็นมืออาชีพ ไม่ตั้งใจโปรโมต แต่เป็นความตั้งใจของ Toshio Suzuki โปรดิวเซอร์ของทางค่ายที่เชื่อว่า การนำเสนอผลงานเรื่องหนึ่งสู่สาธารณะไม่จำเป็นต้องใช้พึ่งพิงการโปรโมตอย่างหนักและการแสดงตัวอย่างเสมอไป การตัดสินใจเช่นนี้นับเป็นการปฏิวัติวงการภาพยนต์ที่มักพึ่งพาการเดินสายโปรโมตอย่างหนัก และการนำเสนอตัวอย่างที่น่าสนใจ ทั้งที่ตัวอย่างดังกล่าวอาจเปิดเผยส่วนสำคัญของภาพยนตร์ หรือทำให้ผู้รับชมเกิดความรู้สึกขัดแย้งในใจ เมื่อเข้าไปดูและพบว่า “หนังไม่ตรงปก” แต่ในขณะเดียวกันนั้นเอง การตัดสินใจเช่นนี้ก็ทำให้แฟนงานของทางค่ายรู้สึกประหลาดใจ และไม่แน่ใจในทิศทางของทางค่ายอยู่ไม่น้อยทีเดียว [2]

 

ในที่สุดแล้ว เมื่อภาพยนตร์เข้าฉายในวันที่ 14 กรกฎาคมที่ผ่านมา ผลตอบรับก็แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการตลาดที่เริ่มจากการไม่ประชาสัมพันธ์กลับได้ผลอย่างน่าสนใจ ทั้งที่ทางค่ายไม่ประชาสัมพันธ์ แต่ภาพยนตร์ก็ยังได้รับความนิยมและความสนใจจากผู้คนในวงกว้าง ตั๋วรับชมภาพยนตร์ขายหมดทุกที่นั่ง เหล่านักรีวิวนักวิจารณ์ต่างกระตือรือร้นที่จะเข้าชมภาพยนต์และออกมากล่าวถึงภาพยนต์เรื่องนี้ด้วยตัวเอง [3] ความสำเร็จเหล่านี้ชวนให้เรากลับมาย้อนดูวิธีการทำงานของ Toshio Suzuki โปรดิวเซอร์เจ้าของความคิดที่ต้องการฉายภาพยนตร์โดยไม่โปรโมต แก่นความคิดที่ส่งผลต่อความสำเร็จของ Ghibli มีดังต่อไปนี้ [4]

 

ประการแรก Suzuki ไม่เคยปฏิเสธพลังของคนรุ่นใหม่ ความคิดเห็นของคนหนุ่มสาวมีความสำคัญและเป็นที่น่าสนใจเสมอ เมื่อต้องเริ่มทำงาน เขามักจะเชิญคนหนุ่มสาวมาพูดคุยกันและรับฟังความคิดเห็นโดยละเอียด สำหรับเขาแล้ว แม้คนรุ่นใหม่จะผ่านโลกมาน้อย แต่ก็มักจะมอบไอเดียที่สดใหม่ นับว่าดีกว่าคนที่ผู้คนที่แสร้งทำเป็นรู้เรื่องรอบตัวมากเกินกว่าที่ตัวเองเข้าใจ

 

ประการต่อมา เขามักจะสร้างความสำคัญที่ดีกับผู้คนที่เกี่ยวข้อง เช่นการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับ Nippon TV ฉายภาพยนตร์ให้ทางค่าย การสานสัมพันธ์กับผู้สนับสนุนในระยะยาวทำให้ชื่อของสตูดิโอยังคงอยู่ในความสนใจของผู้คนเสมอจากการประชาสัมพันธ์ของสื่อ

 

ประการที่สาม การทุ่มเททำอย่างตั้งใจ เป็นที่รู้กันดีว่า Suzuki ให้ความสำคัญกับการเขียนโปสเตอร์ด้วยลายมือของตนเอง รวมถึงการเขียนก็อปปี้สตอรี่บอร์ดของเรื่อง “Princess Mononoke” ด้วยมือ เพื่อให้เข้าถือเรื่องราวในภาพยนตร์อย่างแท้จริง การทำงานหนักเหล่านี้ทำให้เขาผูกพันและเข้าใจในงานอย่างถ่องแท้

 

ประการสุดท้าย เชื่อมั่นในพลังของคุณภาพงาน ความสำเร็จของภาพยนตร์ที่ไม่โปรโมตในครั้งนี้เป็นเครื่องยืนยันที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า งานที่มีคุณภาพจะเปล่งประกายในตัวเองมากพอที่จะปฏิวัติวงการภาพยนตร์ได้อย่างแท้จริง

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , และ WEBSITE

 

อ้างอิง
[1] Andrew Pulver. (June 5, 2023). Studio Ghibli to release Hayao Miyazaki’s final film with no trailers or promotion. Retrieved from https://www.theguardian.com/film/2023/jun/05/studio-ghibli-hayao-miyazaki-final-film-how-do-you-live-no-trailers-promotion
[2] Eric Margolis. (July 6, 2023). Ahead of a new Studio Ghibli film, critics are asking, ‘How will we live without Hayao Miyazaki?’. Retrieved from https://www.japantimes.co.jp/culture/2023/07/06/films/ahead-new-studio-ghibli-film-critics-asking-will-live-without-hayao-miyazaki
[3] Sam Warner. (July 14, 2023). First reviews for Studio Ghibli’s mysterious new movie The Boy and the Heron. Retrieved from https://www.digitalspy.com/movies/a44545119/studio-ghibli-how-do-you-live-reviews/
[4] Matt Schley. (July 13, 2023). Will doing ‘nothing’ be yet another marketing coup for Studio Ghibli?. Retrieved from https://www.japantimes.co.jp/culture/2023/07/13/films/studio-ghibli-marketing-strategy

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน