เศรษฐกิจ

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้นดอกเบี้ย

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้นดอกเบี้ย

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้นดอกเบี้ย

 

หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทยมีมติให้ธนาคารพาณิชย์ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้น 0.25% ทำให้เกิดกระแสถกเถียง ถึงอนาคตของเศรษฐกิจไทย โดยมีผู้เชี่ยวชาญหลายแขนงที่ออกมาให้ความเห็นแตกต่างกันออกไป แต่เรื่องสำคัญคือ ถ้าจะประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจไทยหลังจากนี้ เราอาจต้องซูมออกจากการมองเรื่องการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นเป็นปัจจัยเดี่ยว ไปมองว่าสถานการณ์เศรษฐกิจจะตอบรับปัจจัยอีกหลายตัว เช่น อัตราเงินเฟ้อ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และปัจจัยจากนอกประเทศเช่นนโยบายเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา

 

เมื่อวันที่ 28 กันยายนที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือแบงก์ชาติมีมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 0.25 เพื่อจะจัดการกับปัญหาเงินเฟ้อที่เป็นมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และยังระบุด้วยว่าอาจมีการปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารต่อไป หากมีความจำเป็นอะไรเข้ามาในอนาคต

 

โดยแบงก์ชาติให้เหตุผลว่านโยบายการเงินควรได้รับการจัดการเพื่อให้กลับไปอยู่ในสภาวะปกติ เพราะเศรษฐกิจมีปัญหามาเรื่อย ๆ เนื่องจากเงินเฟ้อ ดังนั้น แม้ว่าจะพยายามใช้นโยบายทางการเงินรับมือ แต่ก็เป็นเรื่องยากที่จะคาดเดา ว่าเงินเฟ้อจะหนักหนา พุ่งสูงขึ้นไปได้อีกแค่ไหน

 

ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นที่สองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งหลายปีที่ผ่านมาเผชิญวิกฤตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่มาจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งก็ซบเซาไปมากเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19

 

ธนาคารแห่งประเทศไทยพยายามฟื้นฟูเศรษฐกิจ ให้กลับไปเป็นเหมือนก่อนที่จะมีการระบาดของโรคครั้งใหญ่ โดยหวังว่าจะฟื้นฟูให้เต็มที่ได้ภายในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า

 

แต่การวิเคราะห์ถกเถียงเรื่องผลกระทบจากการตัดสินใจเพิ่มอัตราดอกเบี้ย 0.25% ของผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย ก็เสียงแตก ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ตอนนี้

 

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ให้ความเห็นว่าว่า แนวทางการปรับดอกเบี้ยนโยบายของแบงก์ชาติ จำเป็นต้องอยู่ในสมดุลยภาพที่ดี (fine balance) ระหว่างการพยุงค่าเงินบาท และการกระตุ้นเศรษฐกิจในระหว่างที่เศรษฐกิจอยู่ในระยะฟื้นตัว

 

ปัญหาอันย้อนแย้งที่ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องคิดหนักคือ หาก คงอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำจะเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่หากปรับเพิ่มขึ้นก็จะส่งผลกระทบต่อความต้องการภายในประเทศ แม้ว่าจะช่วยให้ลดแรงกดดันจากเงินทุนที่ไหลออกและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ

อย่าง ดร.กิริฎา เภาพิจิตร ผู้เคยทำงานเป็นนักเศรษฐศาสตร์อาวุโสให้กับธนาคารโลก ให้ความเห็นว่าเมื่อปรับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นน้อย ก็จะไม่มีผลต่อเม็ดเงินที่ไหลออกไป ทำให้ส่งผลร้ายต่อค่าเงินบาทที่อ่อนค่าเพราะการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐโดยเฉพาะที่ช่องว่างระหว่างดอกเบี้ยนโยบายของไทยและสหรัฐยังห่างกันอยู่

 

นับเป็นเรื่องยากที่จะประเมินสถานการณ์ในอนาคตว่าค่าเงินบาทไทยจะเป็นอย่างไร ความหวังที่ยังมีคือการลดมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดออกไป ทำให้การท่องเที่ยวกลับมาคึกคักมากขึ้น หากว่าเงินทุนจากตลาดหุ้นและพันธบัตรลดลงด้วย ก็อาจทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นได้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจึงไม่ใช่ตัวพลิกกระดานเกมส์เศรษฐกิจไทย แต่เป็นอีกหนึ่งในหลาย ๆ ปัจจัยที่ทุกคนต้องจับตามอง

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

 

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

 

อ้างอิง
BBCThai, เงินเฟ้อ : ทำไมไทยขึ้นดอกเบี้ยช้ากว่าสหรัฐฯ แล้วบาทจะอ่อนอีกแค่ไหน, อ้างอิงจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-63059705
innNews, ธปท.ชี้ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% เหมาะสมเศรษฐกิจไทย, อ้างอิงจาก https://www.innnews.co.th/news/economy/news_421552/
Kaohoon.com, ธทปแจงขึ้นดอกเบี้ย 0.25% มาถูกทาง ชี้ศกไทยต่างจากสหรัฐ, อ้างอิงจาก https://www.kaohoon.com/news/561256
Reuters, Thai c.bank raises rates, willing to adjust tightening as necessary, Retrieved from https://www.reuters.com/markets/asia/thai-central-bank-hikes-rate-again-maintains-2022-growth-outlook-2022-09-28/

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน