เครือจักรภพแห่งประชาชาติ มีอิทธิพลอย่างไรต่อเศรษฐกิจโลก
การสร้างองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งหลายในปัจจุบัน ส่วนใหญ่นั้นจะมีจุดประสงค์เรื่องความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจภายในกลุ่มประเทศนั้น ๆ ให้ยั่งยืน ไปจนถึงการสร้างเครือข่ายเพื่อการช่วยเหลือกันในด้านใดด้านหนึ่งระหว่างประเทศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วเกิดขึ้น เพื่อที่จะทำให้ประเทศต่าง ๆ สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองและภายในกลุ่มประเทศสมาชิกได้ดี
โดยที่องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศ สามารถแบ่งประเภทหลัก ๆ ออกเป็น องค์การนอกภาครัฐระหว่างประเทศ และองค์การระหว่างรัฐบาล ซึ่งจะมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน และนอกจากนี้นั้นก็ยังมีความร่วมมือในด้านอื่น ๆ รวมไปถึง เครือจักรภพแห่งประชาชาติ อีกด้วย
เครือจักรภพแห่งประชาชาติ เป็นการรวมตัวกันระหว่างประเทศที่ส่วนใหญ่แล้ว เคยเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิบริเตนมาก่อน โดยที่สมาชิกของความร่วมมือดังกล่าวนี้จะเป็นอิสระและเท่าเทียมกัน ซึ่งจะแตกต่างจากตอนที่เคยเป็นอาณานิคม ซึ่งในระยะแรก ได้มีการประชุมระหว่างประเทศ ซึ่งเรารู้จักในชื่อของ “คำประกาศบัลโฟร์ ค.ศ. 1926” ที่ส่งผลทำให้ประเทศต่าง ๆ ได้รับเสรีภาพมากขึ้น
โดยจำเป็นที่จะต้องเป็นเครือจักรภพและขึ้นตรงต่อราชสำนักของสหราชอาณาจักร ก่อนที่จะเกิดปฏิญญาลอนดอน ในปี ค.ศ. 1946 ซึ่งอยู่ในช่วงรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ที่พยายามจะทำให้เกิดอิสรภาพให้มากที่สุด ภายหลังเหตุการณ์ความขัดแย้งเพื่อปลดแอกเอกราชของประเทศใต้อาณานิคม และด้วยปัญหาทางเศรษฐกิจและการเมืองที่เกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงส่งผลทำให้สหราชอาณาจักรสูญเสียการเป็นมหาอำนาจ นั่นจึงทำให้เครือจักรภพแห่งประชาชาติ ได้กลายเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีรัฐบาลเป็นของตนเองเท่านั้น
แม้ว่าความร่วมมือของเครือจักรภพแห่งประชาชาติ จะมีเพียงแค่ความร่วมมือในระดับวัฒนธรรม แต่ถึงกระนั้นก็ยังคงมีการพัฒนาเศรษฐกิจภายในกลุ่มสมาชิกด้วยกันเอง ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศนั้น ๆ การสร้างประสิทธิภาพทางการค้าให้มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น การพัฒนาระบบการเงินที่เข้มแข็ง และการจัดตั้งโครงการเพื่อพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติภายในประเทศต่าง ๆ ให้หนักแน่น
สิ่งเหล่านี้ล้วนสามารถมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจโลกได้อย่างง่ายดาย เพราะสมาชิกส่วนใหญ่ที่อยู่ภายในกลุ่มสมาชิกนี้นั้น มักจะเป็นประเทศที่มีภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่สหราชอาณาจักรในสมัยที่ยังคงเป็นจักรวรรดิบริเตนได้เข้ามาครอบครอง และพัฒนาในจุดนี้ให้เข้มแข็ง นั่นจึงทำให้เศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้นอยู่ในระดับที่สูงในเวทีโลก รวมไปถึงยังมีอิทธิพลต่อการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าด้วย อย่างเช่น อินเดีย ที่เรียกได้ว่ากำลังจะได้กลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในด้านอุตสาหกรรม และการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล
การเติบโตทางเศรษฐกิจของอินเดียนี้ มีการคาดเดาว่าจะสามารถล้ำหน้าเยอรมันได้ในปี ค.ศ. 2035 เลยทีเดียว รวมไปถึงยังมี GDP ที่นำหน้าสหราชอาณาจักรไปอีกด้วย หรือจะเป็น แคนาดา ที่ถือว่าเป็นกลุ่มมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่มีขนาดทางเศรษฐกิจอยู่ที่อันดับ 10 ของโลก โดยมีภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการที่เข้มแข็งอย่างมาก จนทำให้แคนาดาสามารถสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศต่าง ๆ ได้อย่างเข้มแข็งนั่นเอง
ลงทุนศาสตร์ – Investerest
ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , และ WEBSITE
อ้างอิง
APEC2022. ‘แคนาดา’ กับ 33 ปี ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งเขตเศรษฐกิจ APEC. https://apec2022.prd.go.th/canada-with-33-years-as-co-founder-of-apec-economic-area
ThaiPublica. “ทศวรรษของอินเดีย” มาถึงแล้ว มหาอำนาจทางเศรษฐกิจใหญ่ที่ 3 ของโลก ในปี 2031. https://thaipublica.org/2023/01/pridi340_little-india
Commonwealth of Nations. Economic Development. https://www.commonwealthofnations.org/commonwealth-in-action/economic-development-2
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. Commonwealth of Nations. https://en.wikipedia.org/wiki/Commonwealth_of_Nations
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. List of Commonwealth of Nations countries by GDP (nominal). https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_Commonwealth_of_Nations_countries_by_GDP_(nominal)
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. List of Commonwealth of Nations countries by GDP (PPP). https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_Commonwealth_of_Nations_countries_by_GDP_(PPP)
อัพเดทล่าสุดเมื่อ :