ทำไมราคาน้ำมันไทยถึงแพงกว่ามาเลเซีย ถือเป็นคำถามสุดคลาสสิกที่ต้องเกิดขึ้นทุกครั้งเมื่อราคาน้ำมันโลกปรับตัวสูงขึ้นและราคาหน้าปั้มน้ำมันไทยขึ้นตาม แต่ราคาน้ำมันจากมาเลเซียถูกกว่า คำตอบง่ายๆ คือ กลไกน้ำมันกับสภาพเศรษฐกิจของไทยกับมาเลเซียต่างกัน
ทำไมราคาน้ำมันไทยถึงแพงกว่ามาเลเซีย
ไทยเป็นผู้นำเข้าน้ำมัน แต่มาเลเซียเป็นผู้ส่งออกน้ำมัน

การบริโภคน้ำมันของประเทศไทยและมาเลเซีย โดย PTT
ไทยมีการบริโภคน้ำมันภายในประเทศ 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในขณะที่ผลิตได้ 5 แสนบาร์เรลต่อวัน ส่วนปริมาณน้ำมันสำรองที่มีก็ใช้ได้เพียง 3 ปี ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องนำเข้าน้ำมันมาเพื่อบริโภคในประเทศ ซึ่งราคาเป็นไปตามราคาน้ำมันโลก
มาเลเซียมีการบริโภคน้ำมันภายในประเทศ 8 แสนล้านบาร์เรลต่อวัน ในขณะที่ผลิตได้ 7 แสนบาร์เรลต่อวัน ส่วนปริมาณน้ำมันสำรองที่มีสามารถใช้ได้ถึง 15 ปี ประเทศมาเลเซียจึงมีสถานะเป็นประเทศที่มีการส่งออกน้ำมันไปขายต่างประเทศ โดยรัฐบาลมาเลเซียมีสัดส่วนรายได้จากการส่งออกน้ำมันสูงเกือบ 30% ได้

การนำเข้าและส่งออกน้ำมันของประเทศในอาเซียน โดย ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์
ความจริงประเทศไทยมีการส่งออกน้ำมันดิบอยู่บ้าง แต่มีเหตุผลเนื่องจากน้ำมันดิบที่ผลิตได้มีคุณภาพต่ำ และโรงกลั่นในประเทศไทยไม่มีศักยภาพเพียงพอในการกลั่น หรือในบางช่วงน้ำมันที่ผลิตได้ก็เกินความต้องการใช้ในประเทศจึงขายออกไป โดยสัดส่วนดังกล่าวก็ไม่ได้สูงมาก แต่ราคาที่ขายจะต่ำกว่าราคาในประเทศไทย เพราะการขายส่งไปต่างประเทศจะมี โครงสร้างราคาน้ำมัน แตกต่างกันออกไป ผู้ขายไม่จำเป็นต้องเก็บภาษีและเงินกองทุนส่งภาครัฐ เพราะภาษีและเงินกองทุนดังกล่าวเก็บมาเพื่อรักษาเสถียรภาพตลาดน้ำมันในประเทศไทย ไม่เกี่ยวกับต่างประเทศ

การส่งออกน้ำมันของประเทศไทย โดย PTT
รัฐบาลไทยควบคุมราคาน้ำมันเพื่อป้องกันวิกฤต oil price shock
Oil price shock หรือวิกฤตราคาน้ำมัน เกิดภาวะที่ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นสูงมาก จนทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนประชาชนปรับตัวไม่ได้ นำมาซึ่งการหยุดชะงักทางเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่เกิดกับประเทศที่ไม่สามารถผลิตน้ำมันได้ด้วยตนเอง ทำให้ไม่สามารถควบคุมต้นทุนในการใช้พลังงานได้ พอราคาน้ำมันขึ้นจึงเสียหายหนัก

ประเทศมาเลเซียเน้นการส่งออกน้ำมันเป็นหลัก ถึงแม้ว่าช่วงหลังจะผลิตได้น้อยกว่าความต้องการในประเทศก็ตาม โดย loan street
ประเทศไทยจึงจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาเพื่อสร้างเสถียรภาพในราคาน้ำมัน เมื่อราคาน้ำมันถูก กองทุนก็จะเก็บเงินไว้ พอน้ำมันแพง กองทุนก็จะออกมาชดเชยให้ โดยช่วงที่เกิดวิกฤตราคาน้ำมันโลกครั้งล่าสุด กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงก็ใช้เงินกว่า 80,000 ล้านบาทในการชดเชยราคาน้ำมัน เพื่อป้องกันการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจของชาติ

ประเทศไทยต้องนำเข้าน้ำมันมาเพื่อบริโภคในประเทศ โดย BP Statistical Review June 2015
รัฐบาลมาเลเซียควบคุมราคาน้ำมันเพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ
ถึงแม้ว่ารัฐบาลมาเลเซียจะชี้แจงว่ารัฐไม่ได้เข้าไปพยุงราคาพลังงานในประเทศ แต่ราคาน้ำมันค้าปลีกหน้าปั้มน้ำมันที่ไม่ได้ตั้งอ้างอิงกับราคาน้ำมันโลกก็ทำให้บริษัทน้ำมันของรัฐแบกรับการกำไรและขาดทุนในส่วนต่างจากราคาน้ำมันโลก ดังนั้น ถึงแม้ว่ามาเลเซียจะไม่มีการตั้งกองทุนพลังงานมาสนับสนุนราคาโดยตรง แต่การเข้าแบกรับขาดทุนโดยองค์กรของรัฐก็ไม่ต่างอะไรกับการสนับสนุนราคาน้ำมันเช่นกัน

โครงสร้างราคาน้ำมันในประเทศมาเลเซียที่ไม่ผันแปรไปตามราคาน้ำมันโลก แสดงถึงการเข้าสนับสนุนราคาน้ำมัน โดย Trading Economics MalaysiaKini
จากงานวิจัยเรื่อง The impacts of petroleum price fluctuations on income distribution across ethnic groups in Malaysia ของ Ecological Economics ค้นพบว่าโครงสร้างค่าใช้จ่ายของประชาชนมาเลเซียอ้างอิงอยู่กับภาคการบริโภคที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้าประมง ค่าขนส่ง และการบริโภคพลังงาน ซึ่งได้รับผลกระทบค่อนข้างมากจากการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมัน

ผลกระทบด้านราคาน้ำมันต่อค่าครองชีพคนมาเลเซีย โดย Ecological Economics
ในกรณีที่ต้นทุนน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น ประชาชนมาเลเซียจะได้รับผลกระทบสูงกว่าประเทศอื่น เนื่องจากต้นทุนค่าครองชีพขึ้นกับราคาพลังงานมาก ถึงแม้ว่ารายได้เป็นตัวเงินจะเพิ่มสูงขึ้นด้วย เพราะประเทศพึ่งพิงภาคพลังงานอยู่มากก็ตาม
หากราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น 1%
รายได้ของคนเมืองในมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 2.16%
รายได้ของคนเมืองในจีน เพิ่มขึ้น 1.02%
รายได้ของคนเมืองในอินเดีย เพิ่มขึ้น 0.93%
รายได้ของคนเมืองในประเทศอื่นโดยเฉลี่ย เพิ่มขึ้น 1.04%

รายได้ 30% ของรัฐบาลมาเลเซียมาจากการส่งออกน้ำมัน โดย loanstreet
หากปรับผลรายได้ที่เพิ่มขึ้นเทียบกับต้นทุนการใช้ชีวิตที่สูงขึ้นจากพลังงานที่สูงขึ้นด้วยจะพบว่า
รายได้ที่แท้จริงของคนเมืองในมาเลเซีย ลดลง 1.51%
รายได้ที่แท้จริงของคนเมืองในจีน ลดลง 0.42%
รายได้ที่แท้จริงของคนเมืองในอินเดีย ลดลง 0.36%
รายได้ที่แท้จริงของคนเมืองในประเทศอื่นโดยเฉลี่ย ลดลง 0.62%

เปรียบเทียบการสนับสนุนค่าน้ำมันต่อหัวประชากร โดย Earth Policy Institute
รัฐบาลมาเลเซียจึงสนับสนุนค่าน้ำมันให้กับประชาชนมากกว่า เพราะค่าน้ำมันส่งผลต่อเงินเฟ้อในประเทศมาก และถึงแม้ว่าราคาน้ำมันขึ้น รัฐบาลมาเลเซียก็ได้ประโยชน์โดยตรงเพราะเป็นผู้ส่งออกน้ำมัน รัฐบาลจะได้กำไรมากขึ้นมาสนับสนุนราคาน้ำมันในประเทศนั่นเอง (ประเทศส่งออกน้ำมันอื่นที่อยู่ใกล้เคียงกันในภูมิภาคอาจวิเคราะห์หลักเดียวกัน เช่น เมียนมาร์ อินโดนีเซีย)

เปรียบเทียบราคาน้ำมันในภูมิภาคอาเซียน โดย PTT
ด้วยเหตุนี้รัฐบาลมาเลเซียจึงควักเงินสนับสนุนราคาน้ำมันให้กับประชาชนสูงกว่าประเทศไทยมาโดยตลอดด้วยเหตุผลเหล่านี้เอง
โดยปัจจัยดังกล่าวทั้งหมดขึ้นตรงต่อรัฐ ไม่เกี่ยวข้องกับบริษัทค้าปลีกน้ำมัน เช่น PTTOR (อ่านเพิ่มเติม : PTTOR ความหวังใหม่ของ PTT) หรือบริษัทน้ำมันแห่งชาติอย่าง PTT แต่อย่างใด (อ่านเพิ่มเติม : PTT จะได้รับผลแค่ไหน ถ้าคนแบน เลิกเติมน้ำมันปั้มปตท.)
อ่านเรื่องราวของ PTT เพิ่มเติม
2 PTT แตกพาร์แล้วจะเกิดอะไรขึ้น
3 PTT จะได้รับผลขนาดไหน ถ้าคนแบนเลิกเติมน้ำมั้นปั้มปตท
5 ทำไมราคาน้ำมันไทยถึงแพงกว่ามาเลเซีย
9 โรงไฟฟ้า GPSC และกำไรที่มั่นคงของ PTT
10 ทำไมรัฐต้องนำหุ้น PTT เข้าตลาดหุ้น
ลงทุนศาสตร์ – Investerest
ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE
พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์
อัพเดทล่าสุดเมื่อ :