ย้อนรอยวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ไทยได้รับผลกระทบอย่างไร และมากแค่ไหนเมื่อเทียบกับประเทศข้างเคียง
วิกฤติการเงินในปัจจุบัน ถือว่าเป็นหนึ่งในภัยอันตรายที่สามารถสะเทือนต่อเศรษฐกิจในเวทีโลก เพราะไม่เพียงแต่จะทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศที่เกิดปัญหาจนนำไปสู่วิกฤติ แต่มันยังคงส่งผลกระทบต่อประเทศอื่น ๆ ที่พึ่งพาผลประโยชน์จากประเทศดังกล่าวนั้นอยู่เช่นกัน และโดยส่วนใหญ่แล้ว การเกิดวิกฤตนั้น ย่อมส่งผลกระทบไปในทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะย่อม ๆ ไปจนถึงขนาดใหญ่เลยก็ตาม ล้วนแล้วแต่ทำให้การดำเนินการเศรษฐกิจมีปัญหา และในประวัติศาสตร์โลกนับตั้งแต่มีการเกิดขึ้นของระบบเศรษฐกิจนี้ มนุษย์ต้องพบเจอกับปัญหาทางเศรษฐกิจเหล่านี้อยู่มากพอควร และหนึ่งในนั้นก็คือ วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ หรือวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ที่คนไทยรู้จักกันอีกด้วย
สำหรับวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ หรือวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ เป็นวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2008 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ เลห์แมน บราเธอร์ส สถาบันการเงินขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศล้มละลายในวันที่ 15 กันยายน อันส่งผลทำให้เกิดวิกฤติการเงินขนาดใหญ่ไปทั่วโลก ซึ่งแน่นอนว่าปัญหาเหล่านี้นั้นย่อมเกิดจากการหมักหมมของปัญหาก่อนหน้านั้น อันเกิดมาจากการปล่อยกู้ให้กับผู้ที่มีหลักทรัพย์ที่ด้อยคุณภาพ โดยได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยที่มีระดับต่ำอย่างมากก่อนหน้านั้น และเมื่อเกิดปัญหาการชำระหนี้ช้า จึงทำให้ธนาคารเริ่มขาดทุนมากขึ้น และผลลัพธ์คือ การประกาศล้มละลายของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ของประเทศ
ซึ่งผลกระทบที่ตามมาของวิกฤตเหล่านี้คือ ภาระหนี้สินที่มากถึง 6.13 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ที่ทำให้การลงทุนอื่นเกิดผลกระทบตามกันไป และลามไปจนถึงการสร้างเศรษฐกิจอื่น ๆ จากภายนอกประเทศ ที่ย่อมส่งผลกระทบเช่นเดียวกัน โดยประเทศที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้มากที่สุด จะมีตั้งแต่ รัสเซีย ไอร์แลนด์ เม็กซิโก ฮังการี และกลุ่มประเทศบอลติก และนอกจากประเทศเหล่านี้ ก็ยังคงมีปัญหาแบบเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สั่นสะเทือนการสร้างเศรษฐกิจภายในประเทศนั้น ๆ อยู่เช่นกัน รวมไปถึงประเทศไทยด้วย
วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ หรือที่คนไทยเรียกกันว่า วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ได้ส่งผลกระทบต่อประเทศในด้านการส่งออกของประเทศ อันเป็นผลมาจากการที่เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาเริ่มชะลอตัว โดยการส่งออกของประเทศในขณะถึงกลับหดตัวถึงร้อยละ 9.4 รวมไปถึง GDP ที่ติดลบร้อยละ 4.2 ในไตรมาส 4 ของปี ค.ศ. 2008 เลยนั่นเอง โดยการรับมือของภาครัฐจากวิกฤติเหล่านี้ ก็ได้ดำเนินการด้วยนโยบายต่าง ๆ เช่น การสนับสนุนทางการเงินให้กับประชาชน จากโครงการมากมาย รวมไปถึงการพยายามผ่อนคลายนโยบายทางการเงิน ซึ่งล้วนแล้วแต่จะต้องอาศัยผู้ประกอบการในแต่ละธุรกิจอีกด้วย
โดยสำหรับปัญหาที่ส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทยนั้น เมื่อเทียบกับประเทศข้างเคียงที่โดนไปด้วยอย่าง เวียดนาม แล้ว ก็ต้องบอกได้เลยว่าเจอกับปัญหาในระดับที่ใกล้เคียงกัน โดยที่เวียดนามก็สามารถที่จะรับมือกับปัญหาดังกล่าวนี้ได้อย่างดี อันเป็นผลมาจากโครงสร้างของประเทศที่มั่นคงมาก่อนหน้านั้น
ลงทุนศาสตร์ – Investerest
ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , และ WEBSITE
อ้างอิง
The Standard. ครบรอบ 10 ปีวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ (ซับไพรม์) โลกควรเรียนรู้อะไร. https://thestandard.co/hamburger-crisis-10-years-on
TDRI. วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์กับการปรับโครงสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจไทย. https://tdri.or.th/2012/09/wb71
สมาคมสินเชื่อการเกษตรและชนบทแห่งภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก. The Impact of the Global Financial Crisis on Vietnamese Economy. https://www.apraca.org/the-impact-of-the-global
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. Effects of the Great Recession. https://en.m.wikipedia.org/wiki/Effects_of_the_Great_Recession
อัพเดทล่าสุดเมื่อ :