การเงิน

เงินเดือนเท่าไหร่จึงต้องเริ่มเสียภาษี

เงินเดือนเท่าไหร่จึงต้องเริ่มเสียภาษี

การเสียภาษี คือหน้าที่หนึ่งที่ผู้มีรายได้ทุกคนพึงกระทำ โดยทั่วไป คนไทยทุกคนเสียภาษีทั้งทางตรงและทางอ้อมอยู่เป็นปรกติอยู่แล้ว แต่เราจะมาโฟกัสที่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ผู้มีรายได้พึงประเมินทุกคนต้องเสีย แต่สำหรับหลายคนที่เริ่มต้นทำงานหรือทำงานมานานแต่ไม่เคยเสียภาษีสักทีอาจจะงงว่า เงินเดือนเท่าไหร่จึงต้องเริ่มเสียภาษี วันนี้เราจะมาหาคำตอบไปด้วยกัน

 

เงินเดือนเท่าไหร่จึงต้องเริ่มเสียภาษี? (อ้างอิงกลุ่มผู้มีรายได้เป็นเงินเดือนหรือค่าแรงประจำ)

 

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คำนวณจากเงินได้สุทธิ

เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน

 

เงินได้พึงประเมิน = รายได้ที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมาย (ในกรณีนี้คือเงินเดือนหรือค่าแรง แต่หากมีรายได้อื่นก็ต้องคำนวณรวมด้วย)

ค่าใช้จ่าย = 50% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 100,000 บาท (ในกรณีนี้คือค่าใช้จ่ายหักเหมาสำหรับ 40(1) แต่หากที่มีรายได้อื่น ต้องคำนวณแยกตามประเภทรายได้)

ค่าลดหย่อน = 60,000 บาท (ค่าลดหย่อนส่วนตัว) + 9,000 บาท (ประกันสังคม) (ในกรณีพื้นฐานที่ลูกจ้างทุกคนมี หากมีค่าลดหย่อนอื่น ต้องคำนวณเพิ่ม)

 

เงินเดือนเท่าไหร่จึงต้องเริ่มเสียภาษี?

การคำนวณภาษีตามเงินได้สุทธิ เครดิต Taxbugnoms

 

จากฐานภาษีปี 2560 ผู้มีรายได้พึงประเมินจะได้รับการยกเว้นภาษีเมื่อมีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท

 

150,000 = รายได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน

 

ค่าลดหย่อนส่วนตัวของผู้มีรายได้ทุกคนเท่ากับ 60,000 บาท และค่าประกันสังคมสามารถหักค่าลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 9,000 บาท และเงินเดือนถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 40(1) ซึ่งสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

 

150,000 = เงินได้พึงประเมิน – 100,000 – 60,000 – 9,000

 

เงินได้พึงประเมิน = 319,000 บาทต่อปี หรือถ้าเราไม่ได้เงินโบนัสหรือรายได้พิเศษอื่นอีกเลย

เราก็จะเริ่มเสียภาษีเมื่อเงินเดือน 26,583.33 บาทขึ้นไป

 

จบ! ง่ายแค่นี้เอง

 

ปล. นี่เป็นเพียงการคำนวณอย่างง่ายมากมากเท่านั้น ทุกคนควรทำการคำนวณภาษีของตนเอง แต่สำหรับคนที่มีรายได้เฉลี่ยไม่ถึง 25,000 บาทต่อเดือนก็อาจจะไม่ต้องคำนวณโดยละเอียดนัก เพราะโดยทั่วไปจะไม่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่สำหรับคนที่เกินฐานรายได้ประมาณนี้ไปแล้ว ต้องคำนวณอย่างละเอียด เพื่อจะได้รู้ว่าตัวเองต้องเสียภาษีเท่าไหร่ รวมถึงวางแผนลดหย่อนภาษีได้อย่างถูกต้องด้วย

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

 

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน