ธุรกิจ

บทเรียนสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก จากบริษัทที่ติดอันดับ Fortune 500

บทเรียนสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก จากบริษัทที่ติดอันดับ Fortune 500

บทเรียนสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก จากบริษัทที่ติดอันดับ Fortune 500

 

“Fortune 500 Companies” คือรายชื่อบริษัทชั้นนำของโลก 500 แห่ง ที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจอย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นการจัดอันดับโดยนิตยสาร Fortune โดยใช้วิธีการประเมินรายได้ของบริษัทแต่ละแห่งสำหรับในแต่ละปีงบประมาณ สำหรับ 10 อันดับแรกประจำปี ค.ศ.2021 ที่ผ่านมานั้น ก็ได้แก่บริษัทที่เราต่างคุ้นหูและรู้จักกันเป็นอย่างดี โดยเรียงตามลำดับได้ดังนี้ Walmart, Amazon, Apple, CVS Health, UnitedHealth Group, Berkshire Hathaway, McKesson, AmerisourceBergen, Alphabet และ Exxon Mobil

 

ในช่วงการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ต่างก็ส่งผลกระทบต่อธุรกิจจํานวนมาก แต่บริษัทที่ติดอันดับ Fortune 500 ก็สามารถปรับตัวเผชิญกับช่วงเวลาที่ยากลำบากเหล่านั้น และยังคงสามารถดำเนินธุรกิจให้มีผลกำไรได้ ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่าพวกเขามีวิธีการอย่างไรในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กร ต่อไปนี้คือบทเรียนเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สามารถเรียนรู้ได้จากบรรดาอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่เหล่านั้น และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับการวางแผนธุรกิจของคุณ

 

การลงทุนในการสร้างตัวตน หรือ Investment in Branding : หากให้คุณลองนึกถึง Fortune 500 อย่าง Apple หรือ Amazon แล้วลองลบโลโก้ออกจากแคมเปญโฆษณาต่าง ๆ ของพวกเขา ไม่ว่าอย่างไรคุณก็จะยังสามารถจดจำแบรนด์ของพวกเขาได้ เพราะคำว่า แบรนด์ ในที่นี้คือการสื่อถึงตัวตนของบริษัท ไม่ใช่เพียงแค่การออกแบบโลโก้อย่างเดียวเท่านั้น แต่หมายถึงวิธีการสื่อสารหรือส่งผ่านข้อความจุดยืนของความเป็นบริษัทนั้น ๆ ไปยังลูกค้า ในฐานะธุรกิจขนาดเล็กคุณอาจไม่จำเป็นต้องจ้างเอเจนซีออกแบบชั้นนําของโลกเพื่อสร้างแบรนด์ของคุณ เพียงแค่คุณศึกษา ทบทวน ถึงสิ่งที่คุณต้องการจะสื่อสารไปยังลูกค้าอย่างแท้จริงและทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างการจดจำที่เป็นเอกลักษณ์และประสบการณ์เชิงบวกให้กับผู้บริโภคหรือลูกค้าของคุณ

 

การโปรโมตข้ามแพลตฟอร์ม (Cross-promotion on social platforms) : ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่า โซเชียลมีเดียคือหนึ่งในเครื่องมือที่เรียกได้ว่าทรงอิทธิพลอันดับหนึ่งของโลกเพราะในบางครั้งโพสต์หนึ่งโพสต์สามารถเข้าถึงคนได้หลักหมื่นถึงหลักล้านได้ในเวลาเพียงชั่วข้ามคืน การเลือกโปรโมตบริษัทของคุณในแต่ละแพลตฟอร์มนั้นคือทางเลือกที่ดี แต่อีกหนึ่งวิธีที่หล่าบริษัท Fortune 500 เลือกคือการเข้าถึงลูกค้าด้วยการเข้าไปร่วมมือกับอินฟลูเอนเซอร์ธุรกิจเล็ก ๆ อื่น ๆ ที่มีฐานผู้ติดตามอยู่แล้ว ดังนั้นถึงแม้ว่าคุณจะมีธุรกิจขนาดเล็กแต่การหาฐานลูกค้าใหม่ ๆ โดยวิธีการร่วมมือกับพันธมิตรในกลุ่มบริษัทของสินค้าประเภทเดียวกันหรือพันธมิตรนอกกลุ่มสินค้าเดียวกับคุณ ถือเป็นหนึ่งในวิธีขยายฐานลูกค้าให้เติบโตขึ้นไปด้วย

 

การมีวิสัยทัศน์ของบริษัทที่ชัดเจน : คําแถลงวิสัยทัศน์ของบริษัท Walmart ในการประชุมประจำปี 2017 ของบริษัทคือ  “เป็นจุดหมายปลายทางสำหรับลูกค้าในการประหยัดเงินไม่ว่าพวกเขาต้องการซื้อสินค้าด้วยวิธีไหน”

คําแถลงวิสัยทัศน์ของ Amazon – “วิสัยทัศน์ของเราคือการเป็น บริษัท ที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลางมากที่สุดในโลก เพื่อสร้างสถานที่ที่ผู้คนสามารถมาหาและค้นพบทุกสิ่งที่พวกเขาอาจต้องการซื้อทางออนไลน์”

 

ด้านบนคือตัวอย่างวิสัยทัศน์ของ สองอันดับแรก ของ Fortune 500 ประจำปี ค.ศ.2021 เพียงไม่กี่ประโยคสั้น ๆ แต่ชัดเจนและตรงไปตรงมา ทำให้เราสามารถนึกภาพออกว่าอะไรคือจุดมุ่งหมายของทั้งสองบริษัทนี้ “วิสัยทัศน์” จึงมีความสำคัญมาก ไม่ว่าบริษัทของคุณจะมีขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ เพราะเป็นวิธีง่าย ๆ ในการสื่อให้พนักงานและสาธารณชนทราบว่า ค่านิยมใดที่เป็นหัวใจหลักในการทำธุรกิจของคุณ ไม่จำเป็นที่คุณจะต้องใช้คำที่ถูกประดิดประดอยสวยหรู แต่พยายามให้ วิสัยทัศน์ของบริษัทคุณ สั้น กระชับ ตรงประเด็น และจริงใจก็เพียงพอแล้ว

 

การลงทุนในพนักงาน (Invest in Employees) : เพราะพนักงานคือหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จได้มากที่สุดเช่นเดียวกับปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งไม่ได้หมายความถึงการจ้างพนักงานที่มีการศึกษามากที่สุด แต่หมายถึงการจ้างพนักงานที่มีคุณสมบัติอย่างเหมาะสมที่สุดนั่นเอง ซึ่งในกรณีนี้ Elon Musk ซึ่งเป็น CEO เคยได้โพสต์บน Twitter ของเขาว่า “Tesla จะจ้างพนักงาน 10,000 คน ภายในปี 2022 และปริญญาระดับมหาวิทยาลัยไม่ใช่เกณฑ์ในการทํางานร่วมกับบริษัท” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการมองถึงศักยภาพของพนักงานในแต่ละบุคคลมากกว่าการนำระดับการศึกษามาเป็นสิ่งชี้วัดในการจ้างงาน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สำหรับบริษัท Fortune 500 ในการจ้างงาน โดยวุฒิการศึกษาไม่ใช่เกณฑ์เดียวที่บริษัทใช้พิจารณาในการรับคนเข้าร่วมทีม แต่พวกเขาพิจารณาถึงความหลงใหลและศักยภาพในการเติบโตร่วมด้วย ยิ่งหากบริษัทของคุณเป็นบริษัทขนาดเล็ก นั่นหมายถึงจำนวนพนักงานที่น้อยลงไปด้วย ดังนั้นการพิจารณาจ้างพนักงานแต่ละคนนั้นจึงยิ่งมีความจำเป็นที่จะต้องละเอียดเพื่อไม่ให้เสียทั้งเวลาและต้นทุนนั่นเอง

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

 

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

 

อ้างอิง
https://www.wishup.co/blog/lessons-small-businesses-can-learn-from-fortune-500-companies/

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน