เศรษฐกิจ

Climate Crisis กำลังจะกลายเป็น Economic Crisis

Climate Crisis กำลังจะกลายเป็น Economic Crisis

Climate Crisis กำลังจะกลายเป็น Economic Crisis

 

เดือนที่ผ่านมา คนไทยบ่นโอดโอยกับฝนตกหนัก พายุเข้า สำนักข่าวทั้งหลายแหล่เผยแพร่ภาพความลำบากในการใช้ชีวิตของคนในบริเวณที่น้ำท่วมหนัก ผู้คนบางส่วนต้องอาศัยอยู่บนหลังคาบ้าน เนื่องจากน้ำท่วมสูงและขังเป็นระยะเวลายาวนาน คนที่ต้องยกของขึ้นชั้นสอง ตัดไฟและตัดใจให้น้ำท่วมบ้านชั้นล่างไป รถราที่จอดอยู่บนถนน โดนน้ำท่วมสูงมิดกว่าครึ่งคัน และการเดินทางไปทำงานของผู้คนที่เดินลุยน้ำ รถติด ลำบากกันไปทุกส่วน

 

บทความนี้ ชวนมองให้เห็นภาพที่ใหญ่ขึ้นไปกว่าการมองเหตุการณ์น้ำท่วมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและทำให้คนลำบาก แต่มากไปถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ ซึ่งแน่นอนว่าจะกลับมาสู่เศรษฐกิจในกระเป๋าของปัจเจกทุกคน

 

ในช่วง 40-50 ปีที่ผ่านมา ในประเทศไทย อุณหภูมิเพิ่มขึ้นประมาณ 1.2 องศา และถ้าไม่ทำอะไรเลย จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกเป็นประมาณ 2 องศา ในปีค.ศ. 2050 ตัวเลขอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นแปรผันตรงต่อความเป็นไปของสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก ความเป็นกรดของน้ำในหมาสมุทรคุณภาพดิน ความรุนแรงของลม ปริมาณน้ำฝน ประเทศไทยจะประสบกับความแห้งแล้งที่ยาวนาน และทวีความซับซ้อนต่อการรับมือด้วยการเกิดน้ำท่วมฉับพลันเป็นระยะ

 

ผลกระทบเชิงลบที่ตามมา คือ เรื่องของเศรษฐกิจที่เป็นตัวขับเคลื่อนประเทศ โดย Global Risk Index จัดอันดับให้ประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากโลกรวนเป็นอันดับ 9 ของโลก โดยมีความเสี่ยงต่อภัยแล้งสูงเป็นอันดับ 6 ของโลก แต่พอจะมีขีดความสามารถในการรับมืออยู่ในอันดับที่ 39 จาก 48 ประเทศ

 

ผลการศึกษาอีกชิ้นจาก Swiss Re Institute รายงานว่า หากไทยยังไม่มีมาตรการปรับตัวใด ๆ เพื่อลดผลกระทบจากภาวะโลกรวน หากอุณหภูมิเฉลี่ยโลกเพิ่มขึ้น 2 องศา GDP ของเราจะลดลง 4.9% และหากอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 3.2 องศา GDP ของเราจะลดลงถึง 43.6% จึงกล่าวได้ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคือภัยคุกคามของประเทศไทย กระทบต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวและการเกษตร รวมถึงกระทบต่อความเป็นอยู่ของเราทุกคน

 

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจนับ 10 เท่าของตังเลขที่เคยประมาณการไว้ การศึกษาล่าสุดโดยมหาวิทยาลัย Stanford และ Berkeley สรุปว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมหรือ GDP ของโลกลดลงร้อยละ 23 ภายในสิ้นศตวรรษนี้

 

งานวิจัยจาก Standford ได้รวบรวมข้อมูล 166 ประเทศจากปี ค.ศ.1960 ถึง 2010 โดยมีการระบุว่าระดับอุณหภูมิเฉลี่ยที่เหมาะสมกับระดับผลิตภาพสูงสุด เช่น ระดับผลิตภาพจากการเกษตรและภาคแรงงาน อยู่ที่ 13 องศาเซลเซียส งานวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Nature

 

ประเทศในเขตเส้นศูนย์สูตรซึ่งมีระดับอุณหภูมิสูงกว่าค่าเฉลี่ยอยู่แล้วในปัจจุบันมีแนวโน้มอย่างมากที่จะเผชิญกับผลกระทบรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งยังเป็นการถ่างช่องว่างของความไม่เท่าเทียมมากยิ่งขึ้นเนื่องจากประเทศในบริเวณเส้นศูนย์สูตรส่วนใหญ่คือประเทศกำลังพัฒนา สำหรับประเทศที่มีระดับอุณหภูมิใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยเช่นสหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น จะเผชิญความเสี่ยงในการสูญเสียที่สูงขึ้น และมีความเปราะบางทางเศรษฐกิจมากขึ้นจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น

 

น้ำท่วม ไม่ใช่แค่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งเดียวจบ น้ำท่วมมีที่มาจากสภาวะโรครวนด้วย การจัดการน้ำที่ไม่สามารถวางแผนรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ น้ำท่วมไม่ได้ส่งผลแค่ต่อคนที่อยู่ในบริเวณที่มีน้ำท่วม แต่เป็นปรากฏการณ์ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจของคนทั้งประเทศ คำถามในเชิงป้องกันคือ เราจะจัดการสภาวะโรครวนอย่างไร และคำถามในเชิงตั้งรับคือ ทำอย่างไรจะไม่ให้เศรษฐกิจเสียหายไปมากกว่านี้

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

 

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

 

อ้างอิง
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก, การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ, อ้างอิงจาก http://www.tgo.or.th/2020/index.php/th/post/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88-555
Global Compact Network Thailand, โลกรวนทำเศรษฐกิจไทยพัง แต่ยังนิ่งนอนใจไม่กำหนดแผนการลดก๊าซเรือนกระจก, อ้างอิงจาก https://globalcompact-th.com/news/detail/985
Greenpeace.org, การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและประเทศไทย, อ้างอิงจาก https://www.greenpeace.org/static/planet4-thailand-stateless/2020/04/df05f26d-thailand-climate-change-report.pdf

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน