ธุรกิจ

Frozen กับ Harry Potter ภาคจบ ใครกำไรดีกว่ากัน

ชอบเอลซ่าหรือแฮร์รี่มากกว่ากัน?

.

แฮร์รี่ พอตเตอร์ถือเป็นสุดยอดนวนิยายยอดเยี่ยมของโลกอีกเรื่องหนึ่ง ด้วยกระแสที่ดังไปทั่วโลก ภาพยนตร์ที่ทำรายได้ถล่มทลาย และสวนสนุกที่นำเรื่องราวในเรื่องไปสร้างจนได้รับความนิยมอย่างสูง

.

ในขณะที่เอลซ่าจาก Frozen ก็ถือว่าโด่งดังมากด้วยเช่นกัน จากกระแสนิยมเจ้าหญิงดิสนีย์รุ่นใหม่ที่มี Feminism สูง สลัดภาพเจ้าหญิงดิสนีย์แบบเดิมๆ ที่เฝ้าคอยแต่เจ้าชายและรักแท้ ปรากฏการณ์ของภาพยนตร์ Frozen ก็กลายเป็นความสำเร็จหนึ่งของดิสนีย์ที่สร้างกระแสไปทั่วโลกได้อย่างถล่มทลาย

.

ว่าแต่ 2 เรื่องนี้ใครทำกำไรได้ดีกว่ากัน?

.

จากข้อมูลของ Box Office Mojo พบว่า Harry Potter and the Deathly Hallows – Part 2 หรือแฮร์รี่ พอตเตอร์ภาคจบนั้นทำรายได้ทั่วโลกอยู่ที่ 1,342 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่ Frozen ทำรายได้ทั่วโลกอยู่ที่ 1,287 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้น ถ้าเปรียบเทียบในแง่รายได้ แฮร์รี่ พอตเตอร์ถือว่าเอาชนะเอลซ่าไปได้ก่อนในยกนี้

.

หันมาดูด้านต้นทุนกันบ้าง

.

ต้นทุนสร้างของ Harry Potter and the Deathly Hallows – Part 2 อยู่ที่ 250 ล้านเหรียญ ในขณะที่ Frozen ใช้ต้นทุนสร้างอยู่ที่ 150 ล้านเหรียญ ดังนั้น ถ้าเปรียบเทียบในแง่ต้นทุน เอลซ่าทำได้ดีกว่าและเฉือนชนะแฮร์รี่ไปในยกนี้

.

มาเปรียบเทียบกำไรขั้นต้นดูบ้าง

.

กำไรขั้นต้นคิดแบบง่ายโดยนำรายได้ลบด้วยต้นทุนสร้าง โดยกำไรขั้นต้นที่ได้นี้ยังต้องกระจายออกไปอีกหลายส่วน ทั้งเจ้าของลิขสิทธิ์ เจ้าของโรงภาพยนตร์ เป็นต้น

.

รายได้ลบต้นทุนสร้างของแฮร์รี่อยู่ที่ 1,092 ล้านเหรียญ ในขณะที่รายได้ลบต้นทุนสร้างของเอลซ่าอยู่ที่ 1,137 ล้านเหรียญ ทำให้เอลซ่าพลักกลับมาชนะแฮร์รี่ในยกสุดท้าย และได้รับเข็ดขัดจากการชิงแชมป์ครั้งนี้ไป

.

ไม่น่าเชื่อว่าภาพยนตร์การ์ตูนอย่าง Frozen จะทำกำไรได้ดีกว่าหนังดังอย่าง Harry Potter ภาคจบได้

.

ส่วนหนึ่งอาจมาจากบทภาพยนตร์ที่สลัดภาพเจ้าหญิงแบบเก่าๆ และหันมาจับความรู้สึกของผู้บริโภคในยุคนี้ได้ จึงกลายเป็นหนังที่ไม่ได้ผลิตมาให้เฉพาะเด็กดู แต่กลับจับกลุ่มคนดูได้กว้าง และประสบความสำเร็จอย่างงดงาม

.

The cold never bothered me anyway !

.

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน