ธุรกิจ

MCOT และสมรภูมิทีวีดิจิตอล

MCOT

MCOT หรือ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจด้านสื่อสารมวลชน โดยมีธุรกิจหลัก ได้แก่ (1) ธุรกิจโทรทัศน์ ช่อง 9 MCOT HD และ ช่อง MCOT Family (2) ธุรกิจวิทยุ ช่องอสมท นอกจากนี้ยังมีธุรกิจด้านอื่น เช่น ธุรกิจผลิตสื่อโทรทัศน์ และธุรกิจร่วมค้าอีกมากมาย

 

อสมท ถือเป็นอีกหนึ่งผู้เล่นที่กระโดดเข้าสู่สมรภูมิทีวีดิจิตัล

 

จากเสือนอนกินที่เคยเป็นกลุ่มผู้ผูกขาดช่องโทรทัศน์อนาล็อค 1 ใน 6 ช่องหลัก อสมท หรือ ช่อง 9 ต้องกลายเป็น 2 ช่อง จากช่องทีวีดิจิตัลกว่า 36 ช่อง แน่นอนว่าความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมย่อมเปลี่ยนไป จากผู้เล่นที่กันพากันเข้ามาในสมรภูมิจำนวนมาก อสมท กลายเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจาการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมนี้อย่างชัดเจน

 

มองงบการเงินหุ้น MCOT ตามระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจทีวีดิจิตัล

 

รายได้ของ อสมท

 

ปี 2010 รายได้ 5,263 ล้านบาท
ปี 2011 รายได้ 5,142 ล้านบาท
ปี 2012 รายได้ 5,729 ล้านบาท
ปี 2013 รายได้ 5,985 ล้านบาท (เริ่มต้นประมูลทีวีดิจิตอล)
ปี 2014 รายได้ 4,286 ล้านบาท (เริ่มต้นฉายช่องทีวีดิจิตอล)
ปี 2015 รายได้ 3,761 ล้านบาท
ปี 2016 รายได้ 2,849 ล้านบาท
ปี 2017 รายได้ 2,714 ล้านบาท
ปี 2018 รายได้ 2,562 ล้านบาท

 

กำไรของ อสมท

 

ปี 2010 กำไร 1,423 ล้านบาท
ปี 2011 กำไร 1,356 ล้านบาท
ปี 2012 กำไร 1,759 ล้านบาท
ปี 2013 กำไร 1,527 ล้านบาท (เริ่มต้นประมูลทีวีดิจิตอล)
ปี 2014 กำไร 412.8 ล้านบาท (เริ่มต้นฉายช่องทีวีดิจิตอล)
ปี 2015 กำไร 57.8 ล้านบาท
ปี 2016 ขาดทุน 734.9 ล้านบาท
ปี 2017 ขาดทุน 2,542 ล้านบาท
ปี 2018 ขาดทุน 375.7 ล้านบาท

 

หากเทียบแนวโน้มของบริษัท จะพบว่า รายได้และกำไรมีแนวโน้มลดลงชัดเจนตั้งแต่อุตสาหกรรมทีวีดิจิตอลเริ่มต้นขึ้น อย่าง 3 ปีล่าสุด บริษัทก็มีผลประกอบการขาดทุน ที่ก็ค่อนข้างสอดคล้องกับบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมที่เหน็ดเหนื่อยไม่ต่างกัน อย่าง BEC หรือช่อง 3 ก็มีผลประกอบการขาดทุน 330.18 ล้านบาท ถึงแม้ในปี 2018 จะมีละครดังอย่างบุพเพสันนิวาส ที่มีเรตติ้งถล่มทลาย

 

ผลกระทบที่ช่อง 9 ได้รับมาจากรายได้ที่ลดลงเป็นหลัก

 

ปี 2018 รายได้ของบริษัทลดลง 23% เมื่อเทียบจากปีก่อนหน้า โดยจุดเด่นของ อสมท คือ บริษัทมีรายได้จากโครงการเกี่ยวกับภาครัฐสูง กินสัดส่วนถึงร้อยละ 39 ของรายได้โทรทัศน์รวม ในขณะที่รายได้จากการขายโฆษณาอยู่ที่ร้อยละ 48 รายได้จากค่าเช่าเวลาร้อยละ 9 และรายได้อื่น ร้อยละ 4 ของรายได้โทรทัศน์รวม

 

ช่อง 9 พยายามรับมือด้วยการปรับตัวตามอุตสาหกรรมให้ทัน ตั้งแต่ (1) ปรับรูปแบบให้มีรายการที่เรตติ้งดีมากขึ้น ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น (2) เพิ่มธุรกิจ Home Shopping ที่สร้างรายได้ให้กับบริษัทได้ดี (3) เจาะกลุ่มเป้าหมายผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ซึ่งถือว่ายังเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ยังดูโทรทัศน์อยู่มาก

 

ผู้ถือหุ้นหลักของ MCOT คือ รัฐบาล

 

บริษัทมีผู้ถือหุ้นใหญ่หลัก ได้แก่ กระทรวงการคลัง ถือหุ้น 65.80% ธนาคารออมสิน ถือหุ้น 11.48% และสำนักงานประกันสังคม ถือหุ้น 1.33% สถานภาพของบริษัทจึงเป็นรัฐวิสาหกิจ และถูกควบคุมจากภาครัฐบาล

 

ดูท่าทางว่าบริษัทจะยังคงต้องเหนื่อยอีกมาก เพราะการแข่งขันในสมรภูมิทีวีดิจิตอลนี้ไม่ได้มีทีท่าว่าจะเบาลงเลย ในทางตรงกันข้าม ยังมีทีท่าว่าจะรุนแรงขึ้นทุกวันๆ เสียด้วยซ้ำ ไม่รู้ว่าผู้บริหารจะงัดกลยุทธ์ใดขึ้นมาต่อสู้ นักลงทุนคงต้องติดตามกันต่อไป

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

 

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน