KOEI TECMO HOLDINGS
[บริษัทเกมผู้ Utilize เกมในเครือตัวเองได้เก่งที่สุดค่ายหนึ่งจากการ Licensing-out จนครองรายได้จากต่างชาติเกินกว่า 50% ได้สำเร็จ]
หนึ่งในสิ่งที่บริษัทเกมญี่ปุ่นยังไม่สามารถก้าวข้ามผ่านความสำเร็จตัวเองไปได้ นั้นคือ แม้บริษัทผู้พัฒนาเกมจะสร้างเกมอันเป็นที่รู้จักแก่หนุ่มสาว GEN Y และ Z มามาก แต่กระนั้นแล้ว บริษัทเองกลับไม่สามารถช่วงชิงยอดขายจากต่างประเทศได้มากเท่าที่ควร
นั่นจึงเป็นที่มาของบทความสรุปหุ้นของบริษัท KOEI TECMO ที่เมื่อปี 2020 ได้สร้างยอดขายจากต่างประเทศเกิน 50% ได้ท่ามกลางวิกฤติ Covid19 ด้วยอัตราการเติบโตจากยอดขายต่างประเทศกว่า 124% เทียบแบบปีต่อปี ครองสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศที่ 50.2% และมียอดขายแบบชุดจากต่างประเทศกว่า 77% ผ่านการ Licensing-out จนทำให้ IP เกมของตัวเองสามารถเจาะตลาดต่างชาติโดยเฉพาะในประเทศจีนได้สำเร็จ
บริษัท KOEI TECMO เป็นผู้สร้างสรรค์เกมสัญชาติญี่ปุ่น ผู้ให้กำเนิด IP เกมทั้งซีรีย์เกม Romance of the Three Kingdoms ซึ่งสร้างยอดขายได้อย่างถล่มทลายในประเทศจีน , Dynasty Warriors เกมต่อสู้ที่บุกเบิกเกมเพลย์แบบมุโซ ,เกมต่อสู้สุดวาบหวิวอย่าง DEAD OR ALIVE ,เกมหัวร้อนตระกูล Soul Clone อย่าง NIOH , เกมที่พัฒนาร่วมกับเกม IP ดังๆ อื่นๆ อย่าง Hyrule Warriors Legends ที่ทำร่วมกับค่าย Nintendo ,เกม RPG สาวน้อยปรุงยาอย่าง Atelier และเกมอื่นๆ ที่ได้สร้างความทรงจำดีๆ แก่เหล่าเกมเมอร์ทั่วโลก
จุดเด่นของบริษัทนี้ที่น่าสนใจคือ เกมของค่ายนี้ไม่ได้ใช้กราฟฟิคประมวลผลที่สูงมาก กอปรกับความเข้าถึงง่ายของเกมที่ตัวเกมแต่ละเกมนั้นไม่ยากและไม่ง่ายจนเกินไป เข้าถึงผู้เล่นได้หลากหลายมาก หากมองในแง่ธุรกิจแล้วเกมแต่ละเกมของค่ายนี้เองก็เสมือนกับเหล้าเก่าในขวดใหม่ ดูเหมือนเกมเดิม แต่ก็ไม่ใช่ หากแต่มีการปรับเกมเพลย์รองกับการออกแบบตัวละครที่เข้ากับยุคสมัยเสมอนั่นเอง แม้ในมุมมองของผู้เล่นเองอาจจะดูเหมือนไม่เห็นความต่างมาก (แม้เป็นเกมใหม่) แต่ในมุมมองของนักลงทุนแล้ว คงต้องชื่นชมค่ายเกม ที่สามารถหมุนทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้
บริษัทมีรายได้จาก 3 ภาคส่วนธุรกิจ อันได้แก่
- ภาคธุรกิจให้ความบันเทิง (Entertainment) : ผลิตและจัดจำหน่ายเกมภายในเครือ
คิดเป็นสัดส่วนรายได้ประมาณ 90% , มี Profit Margin ประมาณ 5% - ธุรกิจบริการสันทนาการ (Amusement) : จัดจำหน่ายเครื่องเกมตู้ปาจิงโกะ และเครื่องเกมหยอดเหรียญอื่นๆ
คิดเป็นสัดส่วนรายได้ประมาณ 8% , มี Profit Margin ประมาณ 23% - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate) : ให้เช่าและจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่มีอยู่ในเครือ
คิดเป็นสัดส่วนรายได้ประมาณ /% , มี Profit Margin ประมาณ 7%
โดยบริษัทมีงบการเงินย้อนหลังดังต่อไปนี้
ปี 2016
บริษัทมีรายได้ : 37,034 ล้านเยน
บริษัทมีกำไรสุทธิที่ : 11,624 ล้านเยน (Net Profit Margin : 31.4%)
ปี 2017
บริษัทมีรายได้ : 38,926 ล้านเยน
บริษัทมีกำไรสุทธิที่ : 13,017 ล้านเยน (Net Profit Margin : 33.4%)
ปี 2018
บริษัทมีรายได้ : 38,968 ล้านเยน
บริษัทมีกำไรสุทธิที่ : 13,694 ล้านเยน (Net Profit Margin : 35.1%)
ปี 2019
บริษัทมีรายได้ : 38,968 ล้านเยน
บริษัทมีกำไรสุทธิที่ : 15,306 ล้านเยน (Net Profit Margin : 35.9%)
ปี 2020 [งบรวมเฉพาะ 9 เดือนแรก]
บริษัทมีรายได้ : 43,949 ล้านเยน
บริษัทมีกำไรสุทธิที่ : 22,202 ล้านเยน (Net Profit Margin : 50.5%)
เมื่อช่วงปลายปี 2019 ได้มีเหตุการณ์ที่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงแก่บริษัท KOEI TECMO อย่างมีนัยสำคัญมากครับ นั่นคือการจำหน่ายเกม Three Kingdoms Senryaku-ban หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของเกมสามก๊ก ซึ่งได้จำหน่ายลงใน Platform มือถือ โดยตัวเกมได้รับความนิยมมากในประเทศจีนประเทศที่กุมกำลังซื้อมหาศาล จนทำให้บริษัทมียอดขายจากหมวดเกมมือถือนี้มากเป็นประวัติกาลโดยสังเกตได้จากรูปด้านล่างนี้
ภาพจาก Presentation รายงานผลประกอบการประจำไตรมาส 3 ปี 2020
(สังเกตได้จากตอนช่วงปิดงบปี 2019 ซึ่งเป็นช่วงที่เกมเปิดตัว ได้สร้างรายได้อย่างมีนัยสำคัญแก่บริษัท)
โดยรายได้ที่โตแบบนี้เป็นผลมาจากการ Licensing-out ของ IP บริษัทที่มีอยู่เดิมแล้วให้เกิดประโยชน์มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Business Model ของทางค่าย Koei นั่นเองครับ โดยเริ่มมาจากการสร้าง IP ให้ติดตลาดก่อน จากนั้นหากไปรอดก็สร้างเป็นซีรีย์ของตัวเอง และต่อยอดภาคต่อของเกมไปอีกเรื่อย ๆ โดยตรงส่วนนี้จะมีทางแยกออกมาอีก 2 ทาง ในการต่อยอด IP เกมต่อไปนั่นคือการ Collaboration กับเกมอื่น ๆ หรือบริษัทอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเพื่อสร้างการตระหนักรู้ในตัว IP และเป็นการโปรโมทเกมไปในตัวด้วย และอีกเส้นทางหนึ่งที่เราได้กล่าวไปข้างต้นคือการ Licensing-out ให้กับทางผู้พัฒนาอื่นได้ใช้ IP ของเราอย่างคุ้มค่าผ่านรูปแบบเกมมือถือหรือเกมออนไลน์ต่อไป
โดยมีแผนภาพที่เรียบง่ายตามที่เห็นในภาพด้านล่างนี้
นอกจากการมาของยอดขายจากเกมมือถือแล้ว สิ่งหนึ่งที่ทำให้บริษัทนี้มีผลประกอบการดีขึ้นอย่างมีนัยเกิดจากการที่บริษัทจำหน่ายเกมที่เข้าถึงง่าย ใช้ทรัพยากรของเครื่อง(สเปค)ไม่สูงมาก ทำให้เกมแต่ละเกมสามารถขายได้ในหลาย Platform มากขึ้น และมีการต่อยอดจากตัวเกมหลักโดยการขายไอเท็มในเกมอีกทอดหนึ่ง ซึ่งไอเท็มในเกมนี้ส่วนมากจะเป็นพวกเครื่องแต่งกาย ไอเท็มอาวุธพิเศษ เป็นต้น
สรุปรวบยอด โดยรวมแล้วบริษัท KOEI TECMO นับเป็นบริษัทที่บริหารทรัพยากรที่ตัวเองมีได้เก่ง และต่อยอดการขายสินค้าที่ดี โดยเฉพาะการต่อยอดเกมใน IP ของตัวเองในรูปแบบของเกมมือถือจนสร้างยอดขายให้แก่บริษัทเป็นประวัติกาล สิ่งที่เราในฐานะนักลงทุนต้องพิจารณาเสมอคงเป็นเรื่องของ Valuation ของบริษัทนี้ครับ ว่าราคา ณ จุดนี้มีมูลค่าแพงไปไหม (หากดูชาร์ทของราคาแล้วจะเห็นว่าราคาของหุ้นได้ขึ้นมามากเลยทีเดียว) บริษัทจะสามารถดำรงตำแหน่งการแข่งขัน และยอดขายกับอัตรากำไรระดับนี้ได้หรือไม่ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนในฐานะผู้ถือหุ้นต้องพิจารณาเสมอ
ลงทุนศาสตร์ – Investerest
ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE
พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์
รายการอ้างอิง
Segment Information | Finance & Performance Information | IR | KOEI TECMO HOLDINGS CO., LTD.
Presentation Materials | IR Library | IR | KOEI TECMO HOLDINGS CO., LTD.
Management Index | Finance & Performance Information | IR | KOEI TECMO HOLDINGS CO., LTD.
อัพเดทล่าสุดเมื่อ :