ธุรกิจ

สรุปดีล TMB และธนชาต แบบเข้าใจง่าย

สรุปดีล TMB และธนชาต

หลังจากคลุมเครือกันมานาน ผลสรุปสุดท้ายเรื่องการควบรวมกิจการก็เรื่องชัดเจนมากขึ้น โดย TCAP ได้ออกมาชี้แจงเรื่องการควบรวมกิจการระหว่าง ธนาคารทหารไทย และ ธนาคารธนชาตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ด้วยข้อความข้อตกลงอันยาว หลายคนอ่านแล้วไม่เข้าใจเท่าไหร่ วันนี้ ลงทุนศาสตร์จึงมาย่อ สรุปดีล TMB และธนชาต ให้ฟังกัน

 

สรุปดีล TMB และธนชาต แบบเข้าใจง่าย สรุปมาให้ไม่งง

 

1 มีการทำข้อตกลงแบบไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่าง 5 ฝ่าย ได้แก่ (1) ING หรือ ING Groep N.V. (2) TCAP หรือ ทุนธนชาต (3) BNS หรือ The Bank of Nova Scotia (4) TBANK หรือ ธนาคารธนชาต และ (5) TMB หรือ ธนาคารทหารไทย

 

2 มีการทำข้อตกลงแบบไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่าง 2 ฝ่าย ได้แก่ TCAP และ BNS

 

3 เป้าหมายการควบรวม คือ ก่อตั้งธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ แข็งแกร่งยิ่งกว่าเดิม มีความสามารถในการแข่งขัน ลดต้นทุน มีผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุม ตอบสนองความต้องการลูกค้าดีขึ้น ได้ประโยชน์ด้านสิทธิ์ทางภาษี

 

4 การควบรวมเป็นไปด้วยความสมัครใจ และได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ

 

5 หลังควบรวม TCAP จะยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ธนาคารที่เกิดจากการควบรวมใหม่ และร่วมดูแลกิจการต่อไป

 

6 ธนาคารหลังควบรวมจะมีสินทรัพย์ประมาณ 1.9 ล้านล้านบาท ฐานลูกค้ากว่า 10 ล้านราย และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ในอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ไทย

 

7 ธนาคารทั้ง 2 จะเสริมจุดเด่นกัน โดย TMB มีจุดเด่นด้านการระดมเงินฝาก ส่วน TBANK เป็นผู้นำด้านสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อการเช่าซื้อรถยนต์

 

8 ด้านงบดุล : ธนาคารใหม่จะมีผลตอบแทนจากสินทรัพย์ดีขึ้น และต้นทุนการจัดหาเงินทุนที่ลดลง

 

9 ด้านต้นทุน : เกิดการประหยัดจากขนาด ด้วยการแบ่งปันทรัพยากรซึ่งกันและกัน

 

10 ด้านรายได้ : ช่วยเพิ่มฐานรายได้ สร้างพอร์ตผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและครอบคุม

 

11 TMB มีการเพิ่มทุนก่อนควบรวมกิจการ

 

12 TBANK จะปรับโครงสร้างและขนาดให้ใกล้เคียงกับ TMB หลังเพิ่มทุน โดยขายธุรกิจบางส่วนออกให้ผู้ถือหุ้น TBANK เพื่อลดขนาดธุรกิจลง

 

13 ธุรกิจที่ TBANK คาดว่าจะขาย ได้แก่ บริษัท หลักทรัพย์ธนชาต จำกัด (มหาชน) , บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด (มหาชน) , บริษัทบริหารสินทรัพย์ ที เอส จำกัด , บริษัท ราชธานีลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) , บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จำกัด (มหาชน) รวมถึงเงินลงทุนอื่น

 

14 ภายหลังควบรวม สองธนาคารจะรวมเป็นธนาคารแห่งเดียว โดยใช้วิธีการโอนกิจการทั้งหมด ( Entire Business Transfer) โดยคาดว่าจะมีมูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 130,000 – 140,000 ล้านบาท

 

15 TMB จะเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ TCAP , BNS และผู้ถือหุ้นรายย่อย โดยคาดว่าจะมีมูลค่า 50,000 – 55,000 ล้านบาท ซึ่งราคาน่าจะอยู่ที่หุ้นละ 1.1 เท่าของมูลค่าทางบัญชีล่าสุดของ TMB หลังปรับมูลค่าการเพิ่มทุน

 

16 TCAP คาดว่าจะถือหุ้นอยู่ในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของธนาคารหลังควบรวมกิจการ

 

17 ชื่อธนาคารหลังควบรวมจะใช้ชื่อทางการค้าใหม่

 

18 การจัดสรรโยกย้ายพนักงานจะดำเนินไปอย่างเป็นธรรมที่สุด

 

19 การควบรวมน่าจะแล้วเสร็จในปี 2562

 

20 ข้อตกลงนี้ยังไม่มีผลทางกฎหมาย และยังมีความไม่แน่นอนอีกมากมายที่ต้องคำนึงถึงด้านการควบรวม โดยเฉพาะปัจจัยทางภาครัฐ ความเห็นด้วยของผู้ถือหุ้น ความเหมาะสมของเงื่อนไข และมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้อง

 

หลังควบรวมเสร็จ อุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ประเทศไทยคงสนุกน่าดู

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

 

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน