เศรษฐกิจ

เกิดอะไรขึ้นกับมาตรการการจัดการโควิดของจีน

เกิดอะไรขึ้นกับมาตรการการจัดการโควิดของจีน

เกิดอะไรขึ้นกับมาตรการการจัดการโควิดของจีน

 

ตลอดระยะเวลากว่าสามปีที่ผ่านมา รัฐบาลจีนดำเนินนโยบายเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อย่างเข้มงวด โดยประกาศอย่างชัดเจนว่าจุดยืนในการแก้ไขปัญหาคือ การทำให้โควิดเป็นศูนย์ (Zero-Covid) จึงทำให้มีการออกมาตรการควบคุมโรคมากมาย มีการล็อคดาวน์หลายเมืองเป็นระยะเวลานาน เศรษฐกิจของจีนได้รับผลกระทบอย่างหนัก ถึงตอนนี้รัฐบาลจีนก็เปลี่ยนทิศทางนโยบาย คำถามคือ ผลกระทบของสามปีที่ผ่านมาพาจีนไปสู่จุดไหน และทิศทางเศรษฐกิจจีนจะเป็นอย่างไรต่อไป

 

ตัวอย่างของผลกระทบที่เห็นได้ชัดจากมาตรการนี้คือ การล็อคดาวน์เมืองเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่สุด เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ เป็นแหล่งรายได้ของประเทศ มีสัดส่วนนับเป็น 40% ของ GDP

ด้วยมาตรการนี้ ทำให้ธุรกิจการผลิตต่าง ๆ ชะงักงัน จีนเคยแหล่งผลิตและส่งออกสินค้าใหญ่เป็นอันดับสามของโลก แต่ทุกอย่างก็ถูกบังคับให้หยุด จีนปิดประเทศตั้งแต่เดือนมกราคมของปี ค.ศ. 2020 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคการท่องเที่ยว และการแลกเปลี่ยนทางธุรกิจ

 

ล่าสุดมีการประกาศว่า จีน จะ ยกเลิกมาตรการกักตัว ผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศเข้าจีน เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2566 เป็นต้นไป หลังจากที่บังคับใช้เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของ โควิด-19 มานานกว่า 3 ปี โดยเงื่อนไขเดียวที่ยังคงมีอยู่คือ ผู้ที่จะเดินทางเข้าจีนยังคงต้องได้รับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ PCR ก่อนขึ้นเครื่องบินจากประเทศต้นทางมายังจีนเป็นเวลา 48 ชั่วโมง

นอกจากนี้ จีนจะปรับลดระดับมาตรการจัดการเกี่ยวกับโควิด-19 จากปัจจุบันที่อยู่ในระดับ Category A ซึ่งเป็นมาตรการป้องกันขั้นสูงสุด สู่ระดับ Category B ที่ผ่อนคลายลงมากด้วย

 

แต่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติของจีน ออกมาชี้แจงว่า ถึงแม้จีนจะผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิดลงบ้างแล้วก็ตาม แต่ทางการจะยังคงติดตามสอดส่องสถานการณ์การแพร่ระบาดเพื่อออกมาตรการที่เหมาะในการควบคุมโควิด 19 ที่กำลังมีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศจีน รายงานระบุว่า ในช่วง 20 วันแรกของเดือนธันวาคมที่ผ่านมา อาจมีประชาชนในจีนมากถึง 250 ล้านคน หรือเกือบ 18% ชองประชากรทั้งประเทศ ติดเชื้อโควิด 19

 

ผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกวิเคราะห์ว่า การปลดมาตรการและข้อจำกัดป้องกันโควิด-19 อย่างกะทันหันของจีน (จากแรงกดดันของการประท้วงที่มีขึ้นทั่วจีน) โดยไม่มีการเตรียมความพร้อมที่เหมาะสม เช่น ฉีดซัคซีนเข็มกระตุ้นให้กลุ่มเสี่ยง สำรองยารักษา ฯลฯ อาจทำให้จีนเผชิญการระบาดของโควิด-19 อย่างหนัก และอาจมีผู้เสียชีวิตนับล้านราย

 

การเปลี่ยนแปลงนโยบายอย่างกะทันหันกับสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ยังมีความเสี่ยงสูงเป็นความท้าทายที่รัฐบาลจีนต้องบริหารความเสี่ยง นอกจากผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศแล้ว เศรษฐกิจโลกก็สั่นสะเทือน สถานการณ์ประเทศจีนจะเป็นอย่างไรต่อไป จำเป็นต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างแน่นอน

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

 

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

 

อ้างอิง
ฐานเศรษฐกิจ, จีนเปิดประเทศเต็มสูบ ยกเลิกกักตัวผู้เดินทางขาเข้า เริ่ม 8 มค 66,  อ้างอิงจาก https://www.thansettakij.com/world/551395
PPTV36, จีนประเมินเอง ช่วง 20 วันที่ผ่านมา อาจมีประชาชนติดโควิด 250 ล้านคน, อ้างอิงจาก https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/187138
AsiaTimes, China’s covid policy to be a year’s largest economic shock, Retrieved from https://asiatimes.com/2022/04/chinas-covid-policy-to-be-years-largest-economic-shock/
Santander, China’s zero covid policy could have a greater economic impact than the Ukraine War, Retrieved from https://www.santander.com/en/press-room/insights/china-zero-covid-policy-could-have-a-greater-economic-impact-than-the-ukraine-war

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน