เศรษฐกิจ

วิกฤตการณ์อสังหาริมทรัพย์จีน

วิกฤตการณ์อสังหาริมทรัพย์จีน

วิกฤตการณ์อสังหาริมทรัพย์จีน

 

ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ของจีนเติบโตขึ้นมาในระยะเวลาร่วมสิบกว่าปี เนื่องจากนโยบายในช่วงแรกของจีนเอื้อให้บริษัทอสังหามีเงินหมุนเวียนในระบบมาก การก่อสร้างผุดขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้คนดูจะแห่ไปให้ความสนใจกับการลงทุนด้านอสังหาในประเทศ แต่การก่อตัวของฟองสบู่นี้ก็เริ่มมีสัญญาณอันตราย โดยสามารถดูตัวชี้วัดได้จากสัดสวนหนี้สินรวมของภาคอสังหาในประเทศจีนที่พุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในระยะเวลาสิบกว่าปีที่ผ่านมา พอมาถึงช่วงปัจจุบัน นโยบายรัฐที่พยายามควบคุมหนี้สิน กับการแพร่ระบาดของโรคโควิด เลยทำให้วิกฤตการณ์นี้น่าเป็นห่วงมากขึ้น แต่วิกฤตการณ์นี้จะจบลงอย่างไร ธนาคารแห่งประเทศไทยวิเคราะห์ว่าวิกฤตนี้ยังพอมีทางรอด

 

ลงทุนศาสตร์ ชวนอ่านที่มาที่ไปของปัญหา และคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับภาคอสังหาในจีน เพื่อเตรียมพร้อมรับแรงกระเพื่อมที่อาจส่งผลต่อคนที่ลงทุนในประเทศจีน

 

ย้อนกลับไปหลังจากจีนเปิดประเทศ และนำนโยบายด้านการตลาดมาใช้ เศรษฐกิจจีนได้ขยายตัวอย่าง รวดเร็วและต่อเนื่อง ประชากรมีรายได้สูงขึ้น จึงมี ความต้องการสินค้าต่าง ๆ  เพิ่มขึ้น รวมทั้งตลาด อสังหาริมทรัพย์ซึ่งขยายตัวต่อเนื่องเช่นกัน เพราะตลาดอสังหาของจีนมีความแตกต่างจากประเทศอื่น ๆ  ตรงที่บ้านใหม่จะถูกขายก่อนมีการก่อสร้าง และผู้ซื้อจะต้องเริ่มผ่อนค่างวดทันทีหลังทำการจอง

 

ระบบที่ว่านี้ทำให้บริษัทผู้พัฒนาโครงการอสังหามีกระแสเงินสดไปเริ่มต้นโปรเจกต์ได้ต่อไป ซึ่งส่งผลให้ภาคอสังหาของจีนเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

 

ก่อนจะเผชิญกับวิกฤต

วิกฤตที่ว่ามีเค้าลางมาตั้งแต่สัดส่วนหนี้สินรวมภาคอสังหาจีน ที่เพิ่มขึ้นจาก 12.5 ล้านล้านหยวน ในปี ค.ศ. 2009 เป็น 85.7 ล้านล้านหยวน ในปี ค.ศ. 2020 ทำให้ทางการจีนต้องออกมาตรการเพื่อควบคุมการก่อหนี้ และลดความร้อนแรงของราคาอสังหาฯ

ซ้ำร้าย ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้วิกฤตอสังหาจีนแย่ลงไปอีกในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาได้แก่

  • นโยบายภาครัฐที่เข้มงวดขึ้น ส่งผลให้การปล่อยสินเชื่อภาคอสังหาปรับตัวชะลอลง ต่อเนื่องไปเป็นแรงกดดันให้ผู้ประกอบการอสังหาต้องปรับโครงสร้างหนี้เดิมเพื่อให้เข้าเกณฑ์ของรัฐ ผ่านการเร่งขายที่ดินในราคาต่ำกว่าตลาด หรือหยุดการดำเนินโครงการ
  • สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด19 กดดันการขยายตัวของภายอสังหาให้สถานะทางการเงินของบริษัทอสังหาแย่ลงไปอีก

 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ของจีนในครั้งนี้จะเป็นความเสี่ยงทางการเงินที่สำคัญ มากของจีน แต่เมื่อพิจารณาจากภาวะการณ์ทั่ว ๆ  ไป พบว่าเศรษฐกิจจีนยังขยายตัวในเกณฑ์สูง การส่งออกเริ่ม ปรับตัวดีขึ้น ทางการจีนสามารถด่าเนินนโยบายการเงินและการคลังที่เข้มงวดขึ้นได้ ประกอบกับอุปสงค์ต่อที่อยู่อาศัยจริงยังมีมาก อีกทั้งตลาดเงินและตลาดทุนไม่มีตราสารที่สลับซับซ้อน

 

ในระยะยาว ภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนอาจเกิดขึ้นได้ หากทางการจีนผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ  และผลตอบแทนจากการลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์ยังสูงกว่าการลงทุน ด้านอื่น และเป็นที่สนใจของนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจจีนที่ยังขยายตัวต่อเนื่องในอัตราที่สูง มีความต้องการที่อยู่อาศัยมากโดยเฉพาะในช่วงที่ไม่สามารถซื้อที่อยู่อาศัยได้และมีการปรับราคาสูงขึ้นได้

 

การจัดการวิกฤตการณ์นี้เป็นหน้าที่หนักสำหรับรัฐบาลจีน เพราะจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมทั้งประเทศ เนื่องจากตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นสัดส่วนใหญ่ของธุรกิจและตลาดจีน ทั้งนี้ทั้งนั้น เราไม่ควรเพิกเฉยกับสถานการณ์ภายในประเทศของจีน เพราะหากวิกฤตการณ์การเงินในประเทศใหญ่ ๆ อย่างจีนแย่ลง ไทยเองก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย เพราะตลาดในไทยก็มีความข้องเกี่ยวกับจีนมากในระดับหนึ่ง

 

วิกฤตนี้จะร้ายแรงแค่ไหน ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจีนจะเอาอะไรมางัดสู้กับปัญหานี้

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

 

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

 

อ้างอิง
Marketeer, จีนสะเทือน วิกฤตหนี้อสังหาพลังงานกระเทือนโลกแค่ไหน, อ้างอิงจาก https://marketeeronline.co/archives/236034
ธนาคารแห่งประเทศไทย, ภาคอสังหาริมทรัพย์จีนกำลังเกิดฟองสบู่จริงหรือ, อ้างอิงจาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconMakhongCanelArea/Yunnan/DocLib_YNArticle/China_Real_Estate.pdf
TheStandard, วิกฤตอสังหาจีน กำลังสั่นสะเทือนชีวิตชนชั้นกลางในประเทศกว่า 400 ล้านคน, อ้างอิงจาก https://thestandard.co/china-s-property-crisis-burns-middle-class-stuck-with-huge-loans/

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน