เศรษฐกิจ

พลังงานกับการพัฒนาเศรษฐกิจของบังกลาเทศ

พลังงานกับการพัฒนาเศรษฐกิจของบังกลาเทศ

พลังงานกับการพัฒนาเศรษฐกิจของบังกลาเทศ

 

บังกลาเทศ เป็นประเทศที่ต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลนําเข้าเป็นอย่างมาก โดยภาคอุตสาหกรรมที่มีอยู่ มีความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติราว 191 พันล้านลูกบาศก์ฟุต (bcf) ในกระบวนการผลิต และปัจจุบันกำลังได้รับผลกระทบ จากความผันผวนของภาคพลังงานระหว่างประเทศ ที่ราคาเชื้อเพลิงฟอสซิลไม่นิ่ง และยังต้องเผชิญกับอัตราภาษีพลังงานที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย ทำให้บังกลาเทศ ต้องดึงเอามาตรการในการปรับลดการใช้พลังงานเข้ามาใช้ เพื่อที่จะมุ่งไปสู่การพึ่งพาตนเองด้านพลังงาน ซึ่งสิ่งนี้ จะทำให้ภาคอุตสาหกรรมของบังกลาเทศ ได้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับทั่วโลกได้

 

บังกลาเทศ ได้นำวิธีการตรวจสอบภาคบังคับ เข้ามาใช้เป็นตัวเร่งกระบวนการเปลี่ยนแปลงภาคพลังงาน  โดยรัฐบาลได้อนุมัติกฎระเบียบการตรวจสอบพลังงานของบังกลาเทศ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 2018 และได้แก้ไขคำสั่ง เกี่ยวกับการตรวจสอบพลังงาน ซึ่งรวมอยู่ในกฎประสิทธิภาพ และการอนุรักษ์พลังงาน รวมถึงการจัดลำดับความสำคัญ ของการปรับลดการใช้พลังงานในภาคส่วนต่าง ๆ หากหน่วยงานใดที่ถูกกำหนดไว้ในกฎระเบียบ มีการใช้พลังงานเกินเกณฑ์ที่กำหนด ก็จะต้องดำเนินการตรวจสอบพลังงาน และส่งรายงานการใช้พลังงานประจำปี ไปยังหน่วยงานพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืนและทดแทน (the Sustainable and Renewable Energy Development Authority :SREDA) นอกจากนี้ SREDA ยังมีการรับรองผู้ตรวจสอบพลังงาน และมีเครือข่ายกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานอีกด้วย

 

การศึกษาศักยภาพพลังงานอุตสาหกรรมของบังกลาเทศ แสดงให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญของบังกลาเทศ มีศักยภาพในการประหยัดพลังงานค่อนข้างสูง ตัวอย่างเช่น ภาคเสื้อผ้าและสิ่งทอซึ่งเป็นภาคส่วนที่สร้างรายได้ จากการส่งออกของประเทศราว 80% สามารถลดการใช้พลังงานโดยรวมได้ 25-31% ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมเหล็กและปูนซีเมนต์ สามารถลดการใช้พลังงานได้ 22-32% และ 21-28% ตามลําดับ

 

ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นหนึ่งในตัวเปลี่ยนเกมส์สำหรับภาคพลังงานของบังกลาเทศ อย่างที่เรารู้กันดี ว่าระบบพลังงานแสงอาทิตย์นั้น ช่วยลดต้นทุนและการปล่อยมลพิษ ซึ่งตอบสนองความต้องการด้านสิ่งแวดล้อมสังคมและธรรมาภิบาล (ESG) ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ของลูกค้าทั่วโลก ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตเสื้อผ้าของบังกลาเทศ ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีของผู้ซื้อต่างชาติในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยสมาคมผู้ผลิตและส่งออกเสื้อผ้าบังคลาเทศ (BGMEA) ได้ลงนามในกฎบัตรอุตสาหกรรมแฟชั่นของสหประชาชาติ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 30% ของภาคธุรกิจภายในปี ค.ศ. 2030

 

นี่คือหนึ่งในวิธีที่ที่บังกลาเทศสามารถเร่งการลดการใช้พลังงาน โดยเปลี่ยนผ่านจากการใช้ก๊าซธรรมชาติไปสู่พลังงานสะอาด ซึ่งในปีงบประมาณ ค.ศ. 2021-22  บังกลาเทศนําเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) 240 bcf แต่หากการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล สามารถช่วยลดการใช้ก๊าซธรรมชาติได้เพิ่มขึ้นราว 20% ก็จะช่วยลดการนําเข้า LNG ของบังคลาเทศได้ราว 30% เลยทีเดียว

 

ผลลัพธ์ที่เกิดจากการเข้าควบคุมการใช้พลังงาน ผ่านมาตรการที่ครอบคลุมภาคส่วนต่าง ๆ ในประเทศ ทำให้ภาพรวมของบังกลาเทศ มีความต้องการด้านพลังงานลดลง ลดการพึ่งพิงจากต่างประเทศและต้นทุน ซึ่งหากบังกลาเทศสามารถดำเนินงานได้ตามแผนต่อไป จะทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายภาคพลังงานตามที่กำหนดไว้

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , และ WEBSITE

 

https://www.weforum.org/agenda/2023/06/why-energy-efficient-bangladeshi-industry-benefits-the-whole-country/
Image: Reuters/Mohammad Ponir Hossain

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน