นวัตกรรมคือทางเลือกสุดท้ายที่จะพาประเทศไทยออกจากกับดักทางเศรษฐกิจ
การสัมมนาประจำปีของธนาคารแห่งประเทศไทย BOT Symposium 2017 เศรษฐกิจ คิดใหม่ Innovating Thailand ประเด็นหลักที่ถูกพูดถึงในการประชุมคราวนี้คือคำว่า “นวัตกรรม” ในขณะที่ประเทศไทยกำลังติดหล่ม โตน้อย และช้าต่อเนื่องมานานหลายปี การคลอดนโยบายโดยรัฐบาลพลเอกประยุทธ จันทรโอชาเรื่องนโยบายไทยแลนด์ 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวพ้นสามกับดักสำคัญ ได้แก่ กับดักประเทศรายได้ปานกลาง กับดักความเหลื่อมล้ำ และกับดักความไม่สมดุลในการพัฒนา โดยนโยบายนี้ได้ชู “นวัตกรรม” เป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนโมเดลดังกล่าว เดินหน้าคู่ไปกับนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจและพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
ปัญหาใหญ่ที่เราต้องคำนึงถึงคือ
1. การพึ่งพิงเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวมากเกินไป
2. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
เราต้องเริ่มพิจารณาจากอุตสาหกรรมที่จะเกิด disruption ประกอบไปด้วย
1. อุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่เข้ามาทดแทนบริษัทเก่า เช่น การอุบัติขึ้นของ Google และ Apple
2. อุตสาหกรรมสื่อ: ปี 2559 บริษัทสื่อในตลาดหลักทรัพย์ทุกบริษัทขาดทุน เม็ดเงินโฆษณาไหลไปอยู่กับ Google และ Facebook
3. เทเลคอม
4. การเงินการธนาคาร: แรงกระทบจากเทคโนโลยีการเงิน หรือฟินเทค
5. ธุรกิจค้าปลีก
6. พลังงาน
7. การขนส่งเดินทาง
8. การท่องเที่ยว
9. การแพทย์และการดูแลสุขภาพ
10. การผลิต (manufacturing)
11. ภาครัฐ
12. การศึกษา
กระแสการ disrupt ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตจะส่งผลต่อโมเดลธุรกิจและการพัฒนาของประเทศไทยมากที่สุด เพราะประเทศไทยเน้นส่งออกสินค้าเกือบ 40% ของ GDO การผลิตเพื่อส่งออกจะได้รับแรงกระทบจากเทคโนโลยีอัตโนมัติ และเครื่องพิมพ์สามมิติที่จะแพร่หลายในอนาคต บริษัทข้ามชาติจะมีโอกาสย้ายการผลิตไปจุดที่อยู่ใกล้กับลูกค้ามากขึ้น
เมื่อต้นทุนการผลิตที่ขึ้นกับแรงงานไม่สำคัญอีกต่อไป มันก็จะย้ายไปอยู่กับจุดที่ใกล้กับลูกค้า ซึ่งก็คือประเทศพัฒนาแล้ว แปลว่าอุตสาหกรรมการผลิตหลายตัวจะไม่ได้อยู่ในไทย และจะมีลักษณะ personalize ให้เข้ากับคนมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ประเทศไทยควรจะหากลยุทธ์การรับมือและปรับตัวตามเทรนด์เหล่านี้ให้ทัน ด้วยแนวคิดแบบ Lean หรือการบริการจัดการการผลิต/องค์กรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยไม่เกิดความสูญเปล่า (waste) ในทุกกระบวนการ และสร้างสรรค์นวัตกรรม (innovate)
แม้ว่า disruption จะนำมาซึ่งความเสี่ยงที่ไทยจะสูญเสียฐานการผลิตหรือบริการบางอย่างไป แต่ก็เป็นโอกาสที่ไทยจะเติบโตแบบก้าวกระโดดได้ (leap frog) โดยอาศัยอุตสาหกรรมการผลิตแบบใหม่ที่เครื่องจักรยังทดแทนไม่ได้ เช่น ออกแบบบริการเฉพาะบุคคลให้มีคุณภาพดี มอบประสบการณ์ที่ดี และมีคุณค่าทางจิตใจ
อย่างไรก็ตามปฏิเสธไม่ได้ว่าเศรษฐกิจไทยเราพึ่งพารายได้จากการส่งออกมานาน แต่จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนไว บริษัทข้ามชาติย้ายฐานกลับไปผลิตในประเทศตนเอง เปลี่ยนประเทศเป้าหมายใหม่ หรือไม่ก็นำหุ่นยนต์อัตโนมัติเข้ามาแทนที่
นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เราสนใจงานวิจัยหัวข้อ การแข่งขัน ตัวแปรของสมการนวัตกรรมที่หายไป
ประเทศไทยกำลังติดกับดักรายได้ปานกลาง ดังนั้นเครื่องจักรทางเศรษฐกิจ เช่น การดึงดูดต่างชาติด้วยแรงงานราคาถูก หรือเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออกเริ่มใช้ไม่ได้แล้ว
ด้วยเหตุนี้ภาครัฐจึงเร่งส่งเสริมให้เอกชนสร้างนวัตกรรมหรือสร้างเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมขึ้นมา เช่น กลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพ ใช่ว่าประเทศไทยจะไม่เคยสร้างนวัตกรรมเลย จากการศึกษาอัตราการเติบโตของจำนวนการยื่นสิทธิบัตรต่อประชากร 1 ล้านคนในช่วงปี 1996-2014 (เฉพาะภาคเอกชน) พบว่าประเทศไทยมีการสร้างนวัตกรรม แต่เราออกตัวช้า แถมยังวิ่งช้ากว่าประเทศอื่นๆ ยิ่งนานก็ยิ่งถูกทิ้งห่าง ขณะที่จีนเริ่มช้ากว่า แต่ทิ้งห่างชนิดที่ไม่เห็นฝุ่น
ถ้าอยากจะส่งเสริมนวัตกรรม เราต้องเริ่มที่เหตุ ดูแรงจูงใจของภาคเอกชน เริ่มที่สร้างสมการนวัตกรรม ต้องสร้างสภาพแวดล้อมการแข่งขันที่ดี ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่จะกำหนดความสำเร็จด้านนวัตกรรม จึงเป็นสิ่งที่ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความสำเร็จด้านนวัตกรรมอย่างตรงจุด รวมไปถึงปัญหาและอุปสรรคต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที
ลงทุนศาสตร์ – Investerest
ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE
พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์
อ้างอิง
TheStandard, นวัตกรรมคือทางรอดเดียวที่จะพาไทยหลุดออกจากกับดักรายได้ปานกลาง, 21 ตุลาคม 2017, อ้างอิงจาก https://thestandard.co/bot-symposium-2017/?fbclid=IwAR1N_LEdV3MH1CzA0RoWjBXdWfZVr_ZxyroPLvIWMQ5CGL5Qh7FpOT0iwaE
ฐานเศรษฐกิจ, นวัตกรรม ทางรอดธุรกิจไทยในโลกหลังโควิด. 22 ธันวาคม 2021,อ้างอิงจาก https://www.thansettakij.com/blogs/columnist/507562?fbclid=IwAR01A9NuwYocgQ_phb1NXG6Q4KUuOBn7RVphGEBlMmXlWsGR-zShY1kLGro
Bangkok Post, Innovation is key to economic recovery, 26 January 2022, Retrieved from https://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/2253531/innovation-is-key-to-economic-recovery?fbclid=IwAR1oeOFXKctD3YreEKAij4EKksZaXz_pYeVP7a6y0XmOPvA9ZuGrANu6Ka4
อัพเดทล่าสุดเมื่อ :