เศรษฐกิจ

ประเทศไทยเคยมียุคทองทางเศรษฐกิจหรือไม่ และมีโอกาสมากแค่ไหนในการสร้างยุคทองทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน

ประเทศไทยเคยมียุคทองทางเศรษฐกิจหรือไม่ และมีโอกาสมากแค่ไหนในการสร้างยุคทองทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน

ประเทศไทยเคยมียุคทองทางเศรษฐกิจหรือไม่ และมีโอกาสมากแค่ไหนในการสร้างยุคทองทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน

 

สำหรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีผลต่อการพัฒนาทางการเมืองการปกครองของประเทศต่าง ๆ เป็นอย่างดียิ่ง และนอกจากนี้ ยุคสมัยดังกล่าวย่อมต้องมีความรุ่งเรืองและจุดที่ตกต่ำ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติตามทฤษฎีที่มักจะเกิดขึ้นบ่อย อันเป็นผลมาจากผลกระทบใด ๆ ก็ตาม ที่มักจะเกิดขึ้นในระดับเล็ก ๆ ในระหว่างที่รุ่งเรือง ก่อนที่จะลามและแสดงออกมาเป็นผลประทบที่เลวร้าย

 

ซึ่งถ้าหากไม่สามารถควบคุมได้ ก็อาจจะทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้นมีปัญหาได้เลย นั่นจึงทำให้หลาย ๆ ประเทศพยายามที่จะเรียนรู้ถึงความผิดพลาด เพื่อที่จะทำให้สามารถสร้างเศรษฐกิจที่ยอดเยี่ยมมากกว่าเดิม จนสามารถที่จะสร้าง “ยุคทองทางเศรษฐกิจ” ได้เป็นอย่างดี

 

สำหรับยุคทองทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ถือว่าเป็นหนึ่งในภาพที่หลาย ๆ ประเทศต้องการที่จะเห็น ซึ่งยุคสมัยดังกล่าวนี้ คือยุคที่เศรษฐกิจของประเทศดังกล่าวมีการพัฒนาอย่างสูง ซึ่งการขยายตัวทางเศรษฐกิจนี้ ถ้าหากเป็นในยุคกลาง ก็อาจจะสามารถเห็นผ่านการสร้างเครือข่ายทางการค้าที่เหนียวแน่น มาจนถึงปัจจุบันที่เราสามารถเห็นได้จากค่าทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น GDP หรือจะเป็นอัตราการจ้างงานที่สูงขึ้น โดยสิ่งเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องพึ่งพานโยบายทางเศรษฐกิจที่เหมาะสมต่อยุคสมัย ที่จะช่วยทำให้ประเทศเหล่านั้นสามารถพัฒนาทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี

 

สำหรับเศรษฐกิจของประเทศไทยนั้น เรียกได้ว่าเป็นไปตามกระแสของโลกอยู่พอสมควร แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีจุดที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงการเติบโตที่พุ่งสูงอยู่ด้วย อย่างเช่น สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 2520–2530 ซึ่งเป็นยุคสมัยที่มีนายกรัฐมนตรีเป็น พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ และพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ อันเป็นยุคที่เกิดขึ้นภายหลังจากการเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างหนัก อันเป็นผลมาจากวิกฤตน้ำมันราคาสูงที่เกิดขึ้นในระดับโลก และการถอยทัพของสหรัฐอเมริกาจากสงครามเวียดนาม ที่ทำให้เราได้รับผลกระทบพอสมควร

 

โดยช่วงทศวรรษ 2520 – 2530 นั้น ได้เริ่มมีการกำหนดนโยบายเรื่องค่าเงินให้อ่อนตัวลง และเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศ ที่ส่งผลทำให้การดำเนินตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจบรรลุผลได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอุตสาหกรรมน้ำมันที่เริ่มดีขึ้น

 

นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาในด้านนิคมอุตสาหกรรม โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากญี่ปุ่น ที่ในขณะนั้นมีประเทศที่มีค่าเงินที่แข็งตัวขึ้น ซึ่งแนวทางที่ภาครัฐสามารถทำได้คือการสร้างความสัมพันธ์ต่อญี่ปุ่น ที่ส่งผลทำให้การทำธุรกิจกับญี่ปุ่นมีคุณภาพมากขึ้นเลยทีเดียว และหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญอย่างมาก คือ กลุ่มเทคโนแครต หรือกลุ่มคนที่มีความเข้าใจและความรู้ในการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีบทบาทอย่างมาก โดยเราจะเห็นได้จากการเติบโตที่พุ่งสูงอย่างมากในปี พ.ศ. 2531 ที่สูงถึง 13.2% เลยนั่นเอง โดยในยุคเหล่านี้ เรียกได้ว่าเป็นยุคที่ “โชติช่วงชัชวาล” กันเลยนั่นเอง

 

สำหรับในปัจจุบัน ประเทศที่ได้ผ่านร้อนผ่านหนาวกับปัญหาทางเศรษฐกิจที่มากยิ่งขึ้น ไปจนถึงเหตุการณ์ทางการเมืองมากมายที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ ตามมาด้วยปัญหาการระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกมีปัญหาแบบฉับพลัน นั่นจึงทำให้เศรษฐกิจของไทยในตอนนี้ยังคงเจอกับปัญหาทางเศรษฐกิจที่มีโอกาสเกิดขึ้นอย่างยาวนานในภาวะถดถอย ทำให้ภาพของยุคทองในไทยจึงอาจจะเกิดได้ยากในตอนนี้ แต่ถ้าหากสามารถปรับสถานการณ์หลังจากนี้ได้ โอกาสดังกล่าวนั้นก็มีให้เราได้เห็นมากขึ้น

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , และ WEBSITE

 

อ้างอิง
เศรษฐสาร. ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในยุครัฐบาลเปรม (2523-2531). http://www.setthasarn.econ.tu.ac.th/blog/detail/6
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกปี 2566 พร้อมแนวทางรับมือกับผลกระทบจากวิกฤตโลกต่ออุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทย. https://www.nectec.or.th/news/news-article/economy-industry.html
The Standard. เปิดข้อมูลสภาพเศรษฐกิจไทย รายได้ลด เงินเฟ้อพุ่ง หนี้ท่วม. https://thestandard.co/thai-economy-08042022
SET investnow. จับชีพจรเศรษฐกิจโลก ส่องเศรษฐกิจไทย ปี 2566. https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/330-tsi-analyze-how-global-and-thai-economy-2023-affects-capital-market
Youtube. พลังเทคโนแครต ยุคทองแห่งเศรษฐกิจไทย | The Making of the Modern Thai Economy EP.3. https://www.youtube.com/watch?v=vde4iVATl9c

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน