เศรษฐกิจ

เทียบเศรษฐกิจอัฟกานิสถานภายใต้ตาลิบัน ตั้งแต่สงครามเย็น ไปจนถึงช่วงฟื้นคืนอำนาจ

เทียบเศรษฐกิจอัฟกานิสถานภายใต้ตาลิบัน ตั้งแต่สงครามเย็น ไปจนถึงช่วงฟื้นคืนอำนาจ

เทียบเศรษฐกิจอัฟกานิสถานภายใต้ตาลิบัน ตั้งแต่สงครามเย็น ไปจนถึงช่วงฟื้นคืนอำนาจ

 

หากจะให้นึกถึงประเทศที่เพิ่งผ่านพ้นไฟสงครามมาแบบได้ไม่นานแล้วล่ะก็ อัฟกานิสถาน คงจะเป็นหนึ่งในประเทศที่ใครหลาย ๆ คน คงจะนึกถึงกันเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะการที่ประเทศแห่งนี้เพิ่งผ่านพ้นจากความรุนแรงในปี ค.ศ. 2021 ภายหลังจากที่กองทัพฏอลิบาน หรือที่เรารู้จักกันในชื่อว่า “ตาลิบัน” ซึ่งได้สร้างฐานอำนาจทางการทหารเอาไว้นับตั้งแต่สงครามโซเวียต-อัฟกานิสถาน อันเป็นสงครามระหว่างกองทัพโซเวียต และมุญาฮิดีน ซึ่งเป็นกองทัพสายอิสลาม ที่ภายหลังจะสามารถเอาชัยเหนือกองทัพโซเวียตได้ และต่อด้วยเหตุการณ์สงครามกลางเมืองอัฟกานิสถาน ที่ส่งผลทำให้ตาลิบันสามารถสร้างอำนาจทางการเมืองของตนเองได้สำเร็จ และนำไปสู่การก่อตั้งรัฐบาลในปี ค.ศ. 1996 ก่อนที่จะสิ้นอำนาจทางการเมืองไปในปี ค.ศ. 2001

 

สงครามอัฟกานิสถานที่เกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์วินาศกรรม 9/11 จนส่งผลทำให้ตาลิบันต้องกลายเป็นกองกำลังติดอาวุธ ที่ถูกมองว่าเป็นกลุ่มก่อการร้ายในสายตาโลก ก่อนจะสามารถกลับเข้ามาผงาดทางการเมืองได้อีกครั้ง ภายหลังที่สามารถยึดครองคาบูลได้ในปี ค.ศ. 2021 นั่นเอง

 

โดยสำหรับสภาพสังคมของตาลิบันในช่วงที่เข้ามาปกครองในปี ค.ศ. 1996 และปี ค.ศ. 2021 นั้น มีสภาพทางการเมืองที่ไม่ต่างกัน นั่นก็คือ การบังคับใช้กฎหมายชารีอะฮ์ อันเป็นกฎหมายของศาสนาอิสลามในการปกครองอัฟกานิสถาน นั่นจึงทำให้สังคมของอัฟกานิสถานภายใต้การปกครองของตาลิบัน จึงมีสภาพที่เข้มงวด รวมไปถึงยังมีการกีดกันสิ่งบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ไปจนถึงการบังคับด้านการศึกษา ที่ส่งผลทำให้ผู้หญิงภายในประเทศไม่ได้เรียนหนังสือและถูกบังคับด้วยกฎเกณฑ์มากมายตามกฎของศาสนา โดยปัจจัยเหล่านี้ ได้แสดงให้เห็นว่าประชาชนต้องอยู่ในสภาวะจำยอม และเหมือนจะต้องน้อมรับกับชะตากรรมใด ๆ ไปพร้อมกัน

 

แต่นั่นยังไม่เท่ากับบรรยากาศของสังคมในขณะนั้น ที่เหมือนกับผีซ้ำด้ำพลอย คือการสร้างประเทศภายหลังสงครามกลางเมืองนั่นเอง จนส่งผลทำให้ในด้านสภาพเศรษฐกิจ อัฟกานิสถานต้องยืนหยัดในภาคเกษตรกรรมขึ้นมาอีกครั้ง ก่อนที่จะพบว่า ฝิ่น คือหนึ่งในผลิตภัณฑ์ชั้นดีที่จะช่วยทำให้ประเทศแห่งนี้ลืมตาอ้าปากได้ และเพราะแบบนั้นเอง จึงทำให้นานาชาติต้องพยายามที่จะปราบปรามอิทธิพลยาเสพติดที่เกิดขึ้น โดยมีส่วนหนึ่งเกิดจากการลักลอบส่งฝิ่นและเฮโรอีนจากอัฟกานิสถานนั่นเอง โดยในปี ค.ศ. 1999 สามารถผลิตได้มากถึง 4,600 เมตริกตันเลยอีกด้วย

 

และด้วยสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ จึงทำให้ภายหลังปี ค.ศ. 2021 จึงมีสภาพที่ไม่ต่างกันมากนัก นั่นก็คือ การนำฝิ่นมาใช้เป็นพืชเศรษฐกิจหลักอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และอีกปัจจัยที่เพิ่มขึ้นมา คือการถูกคว่ำบาตรจากสหรัฐอเมริกา ที่เกิดขึ้นจากปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ

 

นอกจากนี้ การเข้ามายึดครองของตาลีบันในปี ค.ศ. 2001 ส่งผลทำให้ชาวอัฟกันจำนวนมากต้องตกงานและเริ่มมีปัญหาปากท้อง จากการที่บริษัทมากมายต้องปิดตัว นั่นจึงทำให้เศรษฐกิจของอัฟกานิสถานเริ่มเกิดปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อฝิ่นที่ถือว่าเป็นเศรษฐกิจหลัก ยังคงเป็นเศรษฐกิจเดียวที่ช่วยทำให้อัฟกานิสถานยืนหยัดได้ นั่นจึงทำให้มันไม่เพียงพอที่จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศลืมตาอ้าปากได้มากขึ้นเลย

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , และ WEBSITE

 

อ้างอิง
Nafees Takar. A Reporter Looks Back at Taliban’s 1994 Rise to Power. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2567. จาก https://www.voanews.com/a/south-central-asia_reporter-looks-back-talibans-1994-rise-power/6208260.html
PPTV Online. ตาลีบัน เรียกร้องนานาชาติช่วยอัฟกานิสถาน เลิกคว่ำบาตร. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2567. จาก https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/156462
Vanda Felbab-Brown. Pipe dreams: The Taliban and drugs from the 1990s into its new regime.สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2567. จาก https://www.brookings.edu/articles/pipe-dreams-the-taliban-and-drugs-from-the-1990s-into-its-new-regime
William Byrd, Ph.D. Two Years into Taliban Rule, New Shocks Weaken Afghan Economy . สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2567. จาก https://www.usip.org/publications/2023/08/two-years-taliban-rule-new-shocks-weaken-afghan-economy

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน