วัยรุ่นยัปปี้ และการพัฒนาเศรษฐกิจสไตล์วัยรุ่นนักธุรกิจยุค 90s
ในแต่ละยุคแต่ละสมัยของโลก ล้วนแล้วแต่เกิดเหตุการณ์มากมายที่ส่งผลดีและผลเสียให้กับโลก ซึ่งก็ยังรวมไปถึงแนวคิดและวิถีชีวิตของผู้คนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบรรดาผู้คนที่ถือกำเนิดใหม่ในแต่ละยุคนั้น ที่มักจะพบเจอกับเหตุการณ์ต่าง ๆ พร้อมกันไปด้วย นั่นจึงถือว่าเป็นปัจจัยชั้นเยี่ยมที่ทำให้เยาวชนในแต่ละรุ่นจะเติบโตมาในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป รวมไปถึงกลุ่มเยาวชนที่ถูกเรียกว่า “ยัปปี้” อีกด้วย
สำหรับยัปปี้ (Yuppies) นั้น เป็นกลุ่มเจเนอเรชั่นที่เกิดขึ้นในช่วงต้นทศวรรษที่ 80s ซึ่งถือว่าเป็น Gen X นั่นเอง โดยมีที่มาจากคำว่า “Young Urban Professional” หรือ “Young upwardly-mobile professional” ซึ่งว่ากันว่าคำศัพท์ดังกล่าวนี้มาจาก Joseph Epstein ที่เป็นนักเขียนและอดีตบรรณาธิการของ The American Scholar รวมไปถึง Dan Rottenberg ก็ยังเคยมีการใช้คำพูดนี้ได้เช่นกัน ซึ่งเขาได้ใช้มันในบทความของเขาเองที่ตีพิมพ์ในเมืองชิคาโก้ โดยมีใจความที่พูดถึงว่า ในเมืองชิคาโก้กำลังเกิดกระแส “ยัปปี้” เป็นจำนวนมาก
โดยส่วนใหญ่แล้ว วัยรุ่นยัปปี้ล้วนเป็นหนุ่มสาวที่ไม่พอใจกับการใช้ชีวิตแบบชานเมืองแบบพ่อแม่ และสิ่งที่พวกเขาต้องการก็ไม่ใช่ความสะดวกสบายหรือความปลอดภัย แต่กลับเป็นแรงกระตุ้นหรือแรงปลุกใจ ที่สามารถหาได้ในตัวเมืองในส่วนที่แน่นหนาที่สุด และด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม จึงทำให้เยาวชนที่เกิดในช่วงปีนี้จึงกลายเป็นคนที่อยู่กับความสะดวกสบายไปพร้อมกับเครื่องมือที่ทันสมัยมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การได้เล่นเกมนินเทนโดนั่นเอง
แน่นอนว่ากระแสดังกล่าวนี้ เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างแรก ซึ่งสำหรับเยาวชนที่เกิดในยุคดังดล่าวนี้ และได้ถูกนิยามว่าเป็นยัปปี้นี้ ได้เติบโตมากับเศรษฐกิจที่เจริญอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นแนวนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงสมัยของมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร หรือแม้แต่นโยบายของโรนัลด์ เรแกน ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาในขณะนั้น ที่ได้มองว่า การลดบทบาทของรัฐเป็นสิ่งที่ควรทำ จึงส่งผลทำให้เศรษฐกิจในยุคนั้นพุ่งพรวดอย่างแรง และการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ก็ยิ่งทำให้กระแสทุนนิยมที่มีความเป็นเสรีนิยมตามทฤษฎีนั้นฟุ้งกระจายมากขึ้น และทำให้ต้นยุค 90s เป็นยุคที่มีเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่รุ่งเรืองอย่างมาก และส่งผลทำให้กลุ่มยัปปี้มีแรงกระตุ้นอย่างมาก
การที่เศรษฐกิจมีความรุ่งเรืองอย่างมากในช่วงยุค 80s และความเจริญที่ต่อเนื่องมาถึงยุค 90s ส่งผลทำให้กลุ่มยัปปี้นิยมความรุ่งเรืองดังกล่าวนี้มาก และส่งผลทำให้พวกเขาได้รับอิทธิพลความรุ่งเรืองนี้มาแบบมหาศาล โดยเฉพาะผลประโยชน์ของรายได้ที่มหาศาล ก็ยิ่งทำให้ยัปปี้เป็นกลุ่มคนที่ช่วยพัฒนาระบบเศรษฐกิจในเวลาดังกล่าว เปรียบดั่งฟันเฟืองที่ช่วยทำให้ระบบทุนนิยมให้กำลังดำเนินต่อไป
แต่ถึงกระนั้น ในช่วงดังกล่าวของสหรัฐอเมริกาก็เป็นช่วงยุคที่แนวคิดอนุรักษ์นิยมระบาดมาพร้อม ๆ กัน อันเป็นผลมาจากความเป็นอนุรักษ์นิยมของพรรคริพับลิกันในขณะนั้น นั่นจึงทำให้ยัปปี้กลายเป็นแบบนั้นไปด้วย และการเกิดขึ้นของ “Black Monday” ซึ่งเป็นเหตุการณ์ตลาดหุ้นล่มในปี ค.ศ. 1987 ก็กลายเป็นเหมือนกับจุดสิ้นสุดยุคพีคของยัปปี้นั่นเอง
และเพราะแบบนั้น จึงทำให้ยัปปี้กลายเป็นคำที่ดูถูกดูแคลน ต่อเยาวชนนักธุรกิจที่มีท่าทางหยิ่งทะนง และมีแนวคิดอนุรักษ์นิยม ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงยุค 80s ดังกล่าวนี้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า พวกเขามีอิทธิพลในการขับเคลื่อนทุนนิยมอยู่ไม่น้อย
ลงทุนศาสตร์ – Investerest
ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , และ WEBSITE
อ้างอิง
Investopedia. Yuppie: Definition, History, and Yuppies Today. https://www.investopedia.com/terms/y/yuppie.asp
The MOMENTUM. ส่องคนต่างเจเนอเรชั่น และเบ้าหลอมที่บันดาลใจ. https://themomentum.co/happy-life-on-generation
The Washington Post. How the biggest yuppie of the 1980s became the white working class’s president. https://www.washingtonpost.com/outlook/2019/11/19/how-s-biggest-yuppie-became-white-working-classs-president/?_x_tr_hist=true
Linkedin. FROM YUPPIES TO MUPPIES: THE EVOLUTION OF A BUSINESSMAN. https://www.linkedin.com/pulse/from-yuppies-muppies-evolution-businessman-slobodan-jovicinac
The 101. World. จากเศรษฐกิจพันลึก สู่นโยบายหลักของสหรัฐอเมริกา: การเดินทางของนโยบายอุตสาหกรรมแห่งศตวรรษที่ 21. https://www.the101.world/us-indus-policy-21st-century/
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. Yuppie. https://en.m.wikipedia.org/wiki/Yuppie
อัพเดทล่าสุดเมื่อ :