การเงิน

Cost of Living เพราะการใช้ชีวิตขับเคลื่อนด้วยเงิน

Cost of Living เพราะการใช้ชีวิตขับเคลื่อนด้วยเงิน

Cost of Living เพราะการใช้ชีวิตขับเคลื่อนด้วยเงิน

 

หากคุณต้องการย้ายที่อยู่อาศัยจากเมืองหนึ่งไปยังเมืองหนึ่ง ไม่ว่าจะในประเทศหรือนอกประเทศ สิ่งหนึ่งที่คุณต้องคำนึงถึงเป็นหลักเลยก็คือสิ่งที่เรียกว่า “ค่าครองชีพ” ซึ่งเป็นสิ่งที่จะช่วยคำนวณจำนวนเงินที่คุณจำเป็นจะต้องใช้เพื่อการดำรงชีพในเมืองนั้น ๆ เนื่องจากราคาของสินค้าและบริการมีความแตกต่างกันไปในแต่ละเมือง ดังนั้นค่าครองชีพจะเป็นตัวกำหนดว่าในแต่ละพื้นที่หนึ่ง ๆ นั้นมีอัตราการใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงชีพสูงหรือต่ำ และทำให้เราสามารถนำค่าดังกล่าวมาใช้พิจารณาได้อีกด้วยว่า เราจะมีกำลังทางการเงินเพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตในเมืองนั้น ๆ หรือไม่

 

สำหรับค่าใช้จ่ายที่คำนึงถึงค่าครองชีพอาจหมายความถึงความสามารถในการจ่ายค่าที่อยู่อาศัย ค่าอาหาร ค่าขนส่ง ค่าภาษี ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการศึกษา ค่าเดินทางและค่าความบันเทิงอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งค่าครองชีพยังเชื่อมโยงกับรายได้เนื่องจากแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันระดับเงินเดือนก็จะมีความแตกต่างกันไปด้วย

 

การคำนวณค่าครองชีพนั้นสามารถวัดได้จากดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index : CPI) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ถึงชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวและวัดระดับการครองชีพของประชากร โดยเป็นหนึ่งในเครื่องมือทางสถิติที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาขายปลีกของสินค้าและบริการโดยเฉลี่ยที่ผู้บริโภคจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการจำนวนหนึ่ง ณ เวลาหนึ่งเทียบกับปีฐาน ซึ่งแนวคิดนี้พัฒนามาจากการคำนวณดัชนีค่าครองชีพ (The Cost of Living Index หรือ COLI) ในอดีตที่มีความต้องการจะวัดค่าใช้จ่ายในการบริโภคของผู้บริโภคในเดือนหนึ่ง ๆ ผ่านการคำนวณปัจจัยหลายตัว

 

แต่ข้อจำกัดของ การคำนวณดัชนีประเภทนี้มีความเป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ เนื่องจากว่ามีปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ทั้ง จำนวนสมาชิกรายได้ในครัวเรือน ภาษี เทคโนโลยี รวมถึงข้อมูลคุณภาพชีวิตอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงสวนสาธารณะหรือสาธารณูปโภคอื่นๆของผู้คนในเมืองนั้นๆ  ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่นิ่งแต่มีความผันผวนและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงได้มีการนำดัชนีราคาผู้บริโภคมาใช้แทนโดยกำหนดให้มีปริมาณและลักษณะของสินค้าที่คงที่ แต่เปลี่ยนแปลงเฉพาะราคาสินค้าเท่านั้น

 

โดยดัชนีราคาผู้บริโภคจะแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม เคหะสถาน เครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า พาหนะการขนส่งและการสื่อสาร การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล การบันเทิง การอ่าน และการศึกษา ยาสูบ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ โดยแบ่งเป็นการคำนวณเป็น 5 ประเภท คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (Headline CPI) ดัชนีราคาผู้บริโภครายได้น้อย ดัชนีราคาผู้บริโภคเขตชนบท ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) และดัชนีราคาผู้บริโภคระดับจังหวัด

 

โดยค่าดัชนีประเภทนี้ นอกจากจะช่วยให้รัฐใช้เป็นข้อมูลในการพยากรณ์การตลาดและราคาสินค้าต่างๆ รวมถึงใช้ประกอบการกำหนดนโยบายการเงินและการคลังของประเทศแล้วนั้น ยังช่วยให้ประชาชนทั่วไปสามารถประเมินสถานการณ์ค่าครองชีพในพื้นที่เมืองๆหนึ่งเพื่อการดำรงชีพได้อีกด้วย

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

 

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

 

อ้างอิง
https://www.investopedia.com/terms/c/consumerpriceindex.asp

https://www.bankrate.com/real-estate/what-is-cost-of-living/
http://oopm.rid.go.th/subordinate/opm9/pdf/km/file_2.pdf

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน