Anchoring Effect ทำไมคนเราชอบเชื่อฝังใจ
สมองคนเราทำหน้าที่ซับซ้อน เป็นอวัยวะที่ลึกลับและมีรายละเอียดเยอะมาก การคิดการตัดสินใจในชีวิตมนุษย์ไม่ได้เที่ยงตรง 100% มันมีหลักการทางจิตวิทยามากมายที่นำเสนอให้เราเห็นว่า การตัดสินใจของเราถูกควบคุมโดยหลักการทางจิตวิทยาบางรูปแบบ โดยในบทความชิ้นนี้ เรามาลองทำความรู้จักคำว่า anchoring effect หรือหลักการที่เรียกให้เข้าใจง่ายๆว่า ทำไมคนเราถึงชอบเชื่อฝังใจ
นักจิตวิทยาค้นพบว่าผู้คนส่วนใหญ่พึ่งพาการตัดสินใจตามข้อมูลชุดแรกสุดที่เคยได้รับ ซึ่งนำไปสู่การตัดสิน หลักการจิตวิทยาแบบนี้เป็นหลักการหนึ่งที่เรียกว่า anchoring effect ซึ่งแปลว่า สมอเรือ นอกเหนือจากการที่คนเราจะฝังใจในการตัดสินใจด้วยข้อมูลชุดแรกสุดที่เราได้รับแล้ว เราก็มีแนวโน้มที่จะปฏิบัติตามสิ่งที่เราเชื่อมากขึ้นเรื่อย ๆ
มีตัวอย่างการทดลองหนึ่งที่จะทำให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้น การทดลองนี้หมุนวงล้อที่ข้างในมีกระดาษที่เขียนเลขไว้ เมื่อหมุนออกมาเรียบร้อย กรรมการก็จะหยิบเลขนั้นออกมา จากนั้น ให้ผู้ร่วมทำการทดลอง เดาว่า มีประเทศในทวีปแอฟริกากี่ประเทศที่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ผู้คนก็จะเขียนตัวเลขที่ตัวเองคาดเดาไว้ในกระดาษ จากนั้นกรรมการขอให้ผู้ร่วมทดลองเขียนตัวเลขเพื่อเดาใหม่อีกครั้ง จากการทดลองนี้พบว่า ผู้ที่กำหนดเลขไว้จำนวนมาก มีแนวโน้มสูงที่จะเลือกให้ตัวเลขชุดที่สอง สูงขึ้นอีก เช่นกัน ผู้เล่นที่กำหนดเลขไว้เยอะอยู่แล้วตั้งแต่ในกระดาษใบแรก ก็เขียนเลขน้อยลงอีกในกระดาษใบที่สอง
หากเราลองมองหลักจิตวิทยาของการเชื่อฝังใจเเล้ว มันส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อของคนเราด้วยช่วยกัน เช่น สมมติว่าเราตั้งใจจะซื้อรถใหม่ จึงค้นหาในอินเทอร์เน็ตเพื่อพยายามหาว่าราคาตลาดคือเท่าไหร่ คุณอาจเจอรีวิวสักชิ้นนึงที่ระบุไว้ว่ารถคันนี้ราคาเท่านี้ เช่นนั้นเมื่อคุณไปที่ศูนย์บริการรถยนต์ คุณจึงตัดสินใจซื้อทันทีเมื่อราคาน้อยกว่าหรือเท่ากัน กับราคาที่คุณพบเป็นข้อมูลแรกในอินเทอร์เน็ต
Anchoring Effect อยู่รอบตัวเราใน “ทุกเรื่อง” เราอาจเริ่มจากข้อมูลบางอย่างที่เรารู้แน่ ๆ อยู่แล้ว ก่อนจะคาดเดาต่อจากจุดนั้น ดังตัวอย่างนี้ คำถาม: สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงเมื่อปีค.ศ.ไหน?
สมมติว่าคุณเป็นคนไม่รู้ประวัติศาสตร์เลย และต้องตอบทันทีโดยห้ามค้นหาข้อมูลใน Google อย่างแรก คุณพอรู้ว่าคนรุ่นพ่อแม่ถูกเรียกว่า Baby Boomer ซึ่งนิยามคือ กลุ่มคนที่เกิด ‘หลัง’ สงครามโลกครั้งที่ 2 และคุณจำได้ว่าพ่อคุณเกิดปี 1951 แสดงว่าสงครามโลกครั้งที่ 2 ต้องสิ้นสุดลงก่อนหน้าปีที่พ่อคุณเกิด คุณจึงให้คำตอบว่า ปี 1947 ซึ่งใกล้เคียงกับคำตอบที่ถูกต้องคือปี 1945 เราจะเห็นว่า “ปีที่พ่อคุณเกิด” ทำหน้าที่เป็น Anchoring หรือข้อมูลชุดแรกที่คุณปักใจเชื่อนั่นเอง
จากการทดลองนี้ทำให้เราเห็นได้ชัดว่าการตัดสินใจของมนุษย์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการของเราอย่างเดียวแต่มันมาจากวิธีคิดบางอย่างที่กำลังควบคุมเราไว้อยู่ การรู้ทันตนเอง ทำความรู้จักหลักการทางจิตวิทยาในหลาย ๆ เรื่อง อาจช่วยให้คุณนึกออกเร็วขึ้นว่า นี่เรากำลังตัดสินใจอะไรภายใต้การควบคุมของจิตใต้สำนึกของเราอยู่รึเปล่า
ลงทุนศาสตร์ – Investerest
ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE
พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์
อ้างอิง
Verywellmind, how anchoring bias psychology affects decision making, 30 April 2020, Retrieved from https://www.verywellmind.com/what-is-the-anchoring-bias-2795029
Thedecisionlab, why we tend to rely heavily upon the first piece of information we received, Retrieved from https://thedecisionlab.com/biases/anchoring-bias
CareerVisa, Anchoring effect ปักใจกับข้อมูลแรก จนตัดสินใจพลาด, อ้างอิงจาก https://www.careervisaassessment.com/anchoring-effect/
อัพเดทล่าสุดเมื่อ :