ทัศนคติ

เมื่อความเหงาทำร้ายเราเท่าบุหรี่ 15 มวน เหตุผลที่ WHO ประกาศให้ความเหงาเป็นภัยคุกคามสุขภาพทั่วโลกเร่งด่วน

เมื่อความเหงาทำร้ายเราเท่าบุหรี่ 15 มวน เหตุผลที่ WHO ประกาศให้ความเหงาเป็นภัยคุกคามสุขภาพทั่วโลกเร่งด่วน

เมื่อความเหงาทำร้ายเราเท่าบุหรี่ 15 มวน เหตุผลที่ WHO ประกาศให้ความเหงาเป็นภัยคุกคามสุขภาพทั่วโลกเร่งด่วน

 

ความเหงาทำร้ายเราเท่าบุหรี่ คำกล่าวนี้ไม่เกินจริงอีกต่อไปเมื่อในปี ค.ศ. 2023 นี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมาประกาศให้ความเหงาเป็นภัยคุกคามสุขภาพเร่งด่วนทั่วโลก และมีการวางแผนแก้ไขปัญหาจากความเหงาอย่างจริงจัง ความเหงาที่เกิดขึ้นในสังคมโลกมีที่มาทั้งจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ลดจำนวนประชากร เปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คน ระยะห่างในการป้องกันโรคระบาดกลับทวีคูณความเหงาเมื่อผู้คนไม่ชิดใกล้กันเหมือนเคย ในครั้งนี้ ลงทุนศาสตร์ขอพาท่านผู้อ่านไปสำรวจเหตุผลที่ความเหงากลายเป็นภัยคุกคามสุขภาพเร่งด่วนได้ ดังนี้

 

ความเหงาทำร้ายทั้งสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ เมื่อสภาวะโดดเดี่ยวทางสังคมและความเหงาเพิ่มพูนขึ้น ผู้คนที่ไม่มีความผูกพันใกล้ชิดกับผู้อื่นในสังคมมากเพียงพอเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพหลายประการ ตั้งแต่โรคซึมเศร้า ความจำเสื่อม ความเครียด เส้นโลหิตในสมองแตก ความดันโลหิตสูง และปัญหาอื่น ๆ อีกมากมาย นับได้ว่าความเหงามีส่วนทำร้ายสุขภาพได้เทียบเท่าบุหรี่ 15 มวนต่อวัน และยิ่งทำร้ายผู้คนได้มากกว่านั้น หากความเหงาสัมพันธ์กับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอื่นอยู่แต่เดิมแล้ว

 

ความเหงาคุกคามคนทั้งโลก ไม่แบ่งชนชั้นทางเศรษฐสถานะหรือช่วงวัย ความเหงาส่งผลให้ผู้ใหญ่ที่มีอายุมากมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อมได้ถึงร้อยละ 50 และเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลันร้อยละ 30 รวมถึงเส้นโลหิตในสมองแตก ส่วนผู้ที่มีอายุน้อยลงมาก็ได้รับผลกระทบจากความเหงาไม่ต่างกัน เด็กที่เผชิญกับความเหงาตั้งแต่อยู่ในรั้วโรงเรียนมีความเสี่ยงที่จะออกจากระบบการศึกษา ไม่ศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย นำไปสู่ปัญหาด้านการประกอบอาชีพและการกลายเป็นผู้มีรายได้น้อย รวมถึงการขาดความมั่นใจในตนเอง รู้สึกไม่ได้รับการสนับสนุนทางจิตใจมากเพียงพอจนอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน

 

ปัญหาที่เกิดขึ้นจากความเหงาเหล่านี้เป็นภัยคุกคามสุขภาพเร่งด่วนที่ส่งผลกระทบกับคนทั้งโลก องค์การอนามัยโลกได้พยายามหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการวางแผนส่งเสริมความผูกพันทางสังคมระหว่างผู้คนให้แน่นแฟ้นมากขึ้น ทั้งการกระตุ้นให้เกิดนโยบายในระดับชาติและการส่งเสริมให้ผู้คนเข้าพบจิตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำอันเป็นประโยชน์ต่อตัวบุคคลมากยิ่งขึ้น การแก้ปัญหาต้องเกิดขึ้นจากความร่วมมือทุกภาคส่วน เนื่องจากภัยที่เกิดขึ้นจากความเหงาไม่ได้ทำลายเพียงตัวบุคคลเท่านั้น แต่ยังทำร้ายชุมชนและสังคมในองค์รวม รัฐบาลที่เข้มแข็งและมีเสถียรภาพมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการกระตุ้นให้ผู้คนในสังคมสามารถมีพื้นที่เปิดใจเชื่อมต่อความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

 

การแก้ไขปัญหาความเหงาและความโดดเดี่ยวอาจดูเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่ก็ใช่ว่าเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้เลย ไม่ว่าปัญหาความเหงาของผู้คนจะถูกคลี่คลายลงไปอย่างไร ลงทุนศาสตร์หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านผู้อ่านจะไม่ประสบกับอันตรายจากความเหงา สามารถไว้วางใจติดต่อพูดคุยกับใครสักคนได้ ไม่ถูกความเหงากัดกินจนส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและใจ

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , และ WEBSITE

 

อ้างอิง
[1] World Health Organization. (2023). WHO Commission on Social Connection. Retrieved from https://www.who.int/groups/commission-on-social-connection
[2] Sarah Johnson. (November 16, 2023). WHO declares loneliness a ‘global public health concern’. Retrieved from https://www.theguardian.com/global-development/2023/nov/16/who-declares-loneliness-a-global-public-health-concern?fbclid=IwAR1NcbyJYY4iQDlZYb9Nrei22o7Ac10hNnK4qoka98E_cHjhZFFzoMuFOKY
[3] Navya Beri. (November 16, 2023). WHO declares loneliness as grave global health threat, launches commission to address concern. Retrieved from https://www.wionews.com/science/who-declares-loneliness-as-grave-global-health-threat-launches-commission-to-address-concern-659338

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน