ทัศนคติ

การใช้ Line ในการคุยงาน สะท้อนปัญหา Work Life Imbalance

การใช้ Line ในการคุยงาน สะท้อนปัญหา Work Life Imbalance

การใช้ Line ในการคุยงาน สะท้อนปัญหา Work Life Imbalance

 

สำหรับคนไทยส่วนใหญ่แล้ว เราเรียนรู้พัฒนาการของแพลตฟอร์มที่ใช้สื่อสารกับผู้คนออนไลน์โดยมีแอปพลิเคชัน Line เป็นหนึ่งในแอปพลิเคชันที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ทั้งนี้ การเริ่มใช้ไลน์มาพร้อมกับการพัฒนามือถือสมาร์ตโฟน ทำให้ Line มอบประสบการณ์การสื่อสารที่แตกต่างกับ Email ไม่ว่าจะเป็นเจ้าไหนก็ตาม เพราะสามารถต่อบทสนทนาได้ทันที และง่ายกับการเข้าถึงบนสมาร์ตโฟนมากกว่า

 

ทีนี้พอมาพูดถึงเรื่อง Work Life Balance โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคการเปลี่ยนผ่านหลังโรคระบาดโควิด19 วิถีชีวิตและวัฒนธรรมการทำงานเปลี่ยนแปลงไป แน่นอนว่าทุกออฟฟิศได้รับผลกระทบเรื่องความปลอดภัยทางสุขภาพ มาตรการ Work From Home เป็นสิ่งที่รัฐบาลขอความร่วมมือ ไม่ว่าจะหน่วยงานไหนก็ต้องทำตาม นั่นทำให้ต้องพึ่งช่องทางการสื่อสารออนไลน์

 

บทความนี้ ชวนตั้งคำถาม ท้าทายวัฒนธรรมการทำงานแบบเดิม ๆ ผ่านการยกกรณีตัวอย่าง ว่าโทษของการใช้แอปพลิเคชัน Line ซึ่งแต่เดิมแล้วผู้คนใช้คุยสื่อสารกับผู้คนในชีวิตส่วนตัว สะท้อนปัญหาขององค์กรที่แยกเวลางานออกจากเวลาส่วนตัวไม่ได้ ส่งผลให้พนักงานเกิดภาวะ Work Life Imbalance ซึ่งนำไปสู่การ Burn Out หรือแม้กระทั่ง Turn Over Rate ที่สูงขึ้นของบริษัทได้

 

นึกภาพตอนคุณกำลังเดินทางกลับจากที่ทำงาน คุณต้องการพัก ต้องการกลับไปกินข้าว ต้องการเอนหลังนอน คุยกับเพื่อนฝูงหรือครอบครัว แต่แล้วถ้าคุณเปิดแอปพลิเคชัน Line เพื่ออ่านกลุ่มครอบครัว คุณก็เหลือบไปเห็นข้อความสั่งงานจนได้ แทนที่จะได้พักผ่อน ทิ้งเรื่องงานไว้ที่ทำงาน สมองก็แล่นไปถึงงานชิ้นที่รับมอบหมายไปแล้วอย่างไม่รู้ตัว การเลือกใช้ช่องทางการสื่อสารแบบไหน ก็สะท้อนวัฒนธรรมการทำงานแบบนั้น

 

แล้วข้อเสียของไลน์ นอกจากเรื่องความปนกันของชีวิตส่วนตัวและงาน ก็ยังมีอีกมาก เช่น

  • ไม่สามารถเก็บไฟล์ รูปภาพ วิดิโอ ไว้ได้ตลอด หากไม่ดาวน์โหลด ในระยะหนึ่งไฟล์ก็จะหมดอายุลง คุณจะไม่สามารถกลับไปโหลดเอกสารสำคัญ หรือเซฟรูปสำคัญที่เคยส่งทาง Line ได้
  • ลักษณะการจัดการข้อความของ Line นั้น ไม่ค่อยเหมาะกับการคุยงาน หมายความว่า หากเปรียบเทียบกับแอปพลิเคชันสื่อสารอื่น ๆ เช่น Slack จะสามารถมีกลุ่มงานหลายกลุ่ม คุยกันเป็นข้อความต่อกันยาว ๆ ได้โดยไม่งง สามารถแท่กคนที่ต้องการให้มาตอบ และยังใช้เป็นคลังเก็บโน้ตหรือบทสนทนาต่าง ๆ ได้
  • แม้ Line กับแอปพลิเคชันจะถูกติดตั้งไว้ในโทรศัพท์เหมือนกัน แต่ถ้าเราสามารถแยกแอปพลิเคชันคุยงานออกจากแอปพลิเคชันสื่อสารเรื่องส่วนตัว ก็ทำให้คนทำงานเคารพเวลาซึ่งกันและกัน มีความชัดเจนว่าหลังเวลาเลิกงาน เราจะไม่เปิดแอปนี้

 

แต่สุดท้าย แม้จะมีเครื่องมือทางเทคโนโลยีมากมายให้เลือกใช้ แต่วัฒนธรรมองค์กรนั้นสำคัญที่สุด ถึงแม้จะมีการย้ายไปใช้แอปพลิเคชันที่เหมาะสมกับการคุยงานมากขึ้น แต่ถ้าคนเป็นผู้นำในองค์กร หรือตัวพนักงานเอง ยังคาดหวังซึ่งกันและกันที่จะให้ตอบเรื่องงานนอกเวลางาน ก็ยังเป็นเรื่องท้าทายที่แก้ไม่ได้อยู่ดี ดังนั้น Line คือตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเรื่องปัญหาวัฒนธรรมองค์กร แต่ถ้าจะแก้ไม่ใช่แก้ที่ Line เราต้องตั้งคำถามถึงวิธีการสื่อสารและทัศนคติต่องานของคนในองค์กรนั้น ๆ

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

 

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

 

อ้างอิง
TheReporters, 5 ผลเสียของการใช้ Line คุยงาน- ปัญหาบานทั้งส่วนตัวและส่วนรวม, อ้างอิงจาก https://www.thereporters.co/feature/line120520221757/
Intechopen.com, Information and communication technologies and work-life balance, Retrieved from https://www.intechopen.com/chapters/74135
LinkedIn, A new model for employee communication, Retrieved from https://www.linkedin.com/pulse/new-model-employee-communication-part-26-work-life-shel-holtz-scmp

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน