AU หรือบริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายขนมหวานในรูปแบบร้านขนมหวานแนวคาเฟ่ โดยมีแบรนด์ในเครือได้แก่ อาฟเตอร์ยู (After You) อาฟเตอร์ยูทุเรียน (After You Durian) และเมโกริ (Maygori) ซึ่งข้อมูล ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2561 มีสาขารวมประมาณ 30 สาขา
After You ถือว่าเป็นหุ้นที่นักลงทุนคาดหวังการเติบโตเป็นอย่างมาก
จากมูลค่ากิจการและอัตราส่วนทางการเงินด้านความถูกแพงสะท้อนออกมาให้เห็นว่านักลงทุนคาดหวังการเติบโตจาก After You ค่อนข้างสูง ด้วยมูลค่ากิจการตามราคาตลาดที่ประมาณหมื่นล้าน อัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไร (PE ratio ; Price per Earing Ratio) ประมาณ 70 เท่า เรียกได้ว่าต้องการการเติบโตของ After You สูงมาก PER จึงจะลดลงมาอยู่ในระดับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม
ล่าสุด After You เตรียมตัวขายแฟรนไชส์เพื่อเพิ่มการเติบโตครั้งใหม่
ล่าสุดในงาน Opportunity Day หรือบริษัทจดทะเบียนพบผู้ลงทุน ผู้บริหารของบริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน) ให้ข้อมูลว่า After You กำลังเตรียมตัวขายแฟรนไชส์ซึ่งน่าจะได้เห็นความชัดเจนภายในปีนี้
After You วางแผนจะขายแฟรนไชส์มาพักใหญ่แล้ว
ในเบื้องต้นผู้บริหารตั้งเป้าจะขยายงานแฟรนไชส์ไปที่ต่างประเทศเป็นหลัก เพราะการบุกตลาดต่างประเทศด้วยตนเองนั้นเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก แต่การจะไม่ขยายเลยก็ถือว่าเสียโอกาสเพราะ AU ก็ถือว่ามีแบรนด์ที่จะเติบโตภายในต่างประเทศสูง การที่จะเติบโตในประเทศเอง (ที่น่าจะยังมีช่องทางให้เติบโตอีก) และต่างประเทศในเวลาเดียวกันก็คือการขายแฟรนไชส์ให้กับนักลงทุนต่างชาติที่มีความเชี่ยวชาญ และเติบโตไปในฐานะพาร์ทเนอร์ซึ่งกันและกันนั่นเอง
ล่าสุดผู้บริหารได้ไปเปิดให้ข้อมูลกับนักธุรกิจในงาน THAIFEX2018 ซึ่งเป็นงานมหกรรมเกี่ยวกับธุรกิจอาหารระดับนานาชาติ After You เองก็ได้รับความสนใจจากนักธุรกิจชาวต่างชาติเป็นอย่างมาก จนได้รับใบสมัครแฟรนไชส์มากกว่า 100 ใบ
ประเทศแรกที่ไปน่าจะเป็นมาเลเซีย
โดยผู้บริหารให้ข้อมูลว่าน่าจะมีการเซ็นสัญญาเกิดขึ้นภายในปี 2019 โดยเบื้องต้นน่าจะเริ่มจากพาร์ทเนอร์แค่รายเดียวก่อนเพราะมาเลเซียเป็นประเทศที่ไม่ใหญ่มาก โดยประเมินจำนวนสาขาไว้ที่ครึ่งหนึ่งของจำนวนสาขาสตาร์บัคส์ (Starbucks) ที่จำนวน 15 สาขา
AU จะได้อะไรจากการขายแฟรนไชส์ครั้งนี้บ้าง
รายได้ของ After You จากแฟรนไชส์จะมาจาก 3 ส่วนด้วยกันคือ (1) ค่าแรกเข้า (Initial Fee) ซึ่งเรียกเก็บครั้งแรกที่เซ็นสัญญาทำแฟรนไชส์ (2) ส่วนแบ่งจากยอดขาย (Royalty Fee) ซึ่งจะเป็นรายได้ที่ได้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ โดยหักจากรายได้ของกิจการที่ซื้อแฟรนไชส์ไปโดยตรง และ (3) รายได้จากการขายวัตถุดิบให้แฟรนไชส์ซี (Franchisee คือผู้ซื้อแฟรนไชส์ Franchisor คือผู้ขายแฟรนไชส์) โดยรายได้ส่วนนี้น่าจะกินสัดส่วนไม่มากนัก
การขายแฟรนไชส์จะช่วยเพิ่มการเติบโตให้กับ After You
ในขณะที่ After You มุ่งหน้าขยายสาขาในประเทศที่ยังมีช่องว่างให้เติบโตต่อไป ตลาดต่างประเทศก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของแฟรนไชส์ที่จะขยายไปสร้างการเติบโตควบคู่กันไปได้
เอาใจช่วยแบรนด์ไทยในตลาดต่างประเทศเสมอ !
ขอบคุณรูปภาพสวยสวยสวยจาก sanook.com
ลงทุนศาสตร์ – Investerest
ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE
พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์
อัพเดทล่าสุดเมื่อ :