ธุรกิจ

จากฮ่องกงถึงเกาหลีใต้ สู่การสร้างความสะเทือนวงการภาพยนตร์และเศรษฐกิจโลก

จากฮ่องกงถึงเกาหลีใต้ สู่การสร้างความสะเทือนวงการภาพยนตร์และเศรษฐกิจโลก

จากฮ่องกงถึงเกาหลีใต้ สู่การสร้างความสะเทือนวงการภาพยนตร์และเศรษฐกิจโลก

 

ความสำเร็จของวงการบันเทิงเอเชีย ที่สามารถปรากฏให้เห็นอยู่มากมายหลากหลายแพลตฟอร์ม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับยุคที่สตรีมมิงได้เข้ามามีอิทธิพลต่อการดูภาพยนตร์หรือซีรีส์มากยิ่งขึ้น ก็ยิ่งเปิดโอกาสให้ผู้คนจำนวนมาก สามารถเข้ามารับชมภาพยนตร์ได้หลากหลาย

 

หนึ่งในประเภทของภาพยนตร์หรือซีรีส์เหล่านั้นที่ได้รับความนิยมอยู่เสมอ ก็คงจะหนีไม่พ้นสื่อบันเทิงจากฝั่งของเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นการปรากฏขึ้นมาของภาพยนตร์อย่าง RRR จากฝั่งอินเดีย หรือแม้แต่การเข้ามาของซีรส์ Squid Game หรือแม้แต่ภาพยนตร์อย่าง Parasite ไปจนถึงการก้าวเข้ามาของภาพยนตร์การ์ตูนอย่าง The Boy and The Heron ที่สามารถก้าวเข้าไปสู่เวทีออสการ์ในระดับโลกอย่างน่าภาคภูมิใจ

 

และถ้าหากจะให้พูดถึงความนิยมของสื่อบันเทิงไทยในต่างแดน อีกกระแสหนึ่งที่เราจะไม่พูดไม่ได้ คือการรีเมคภาพยนตร์เรื่อง ฉลาดเกมส์โกง ของผู้กำกับ บาส-นัฐวุฒิ พูนพิริยะ ในเวอร์ชันของสหรัฐอเมริกาในชื่อว่า Bad Genius ที่เรียกได้ว่ากลายเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ไทย ที่สามารถจะขยายความนิยมในต่างแดนได้

 

เพื่อที่จะทำให้เราได้เห็นความสำเร็จเหล่านี้ เราจะมาพูดถึงอุตสาหกรรมแหล่งบันเทิงในเอเชีย ที่สามารถสร้างอิทธิพลในระดับโลกได้อย่างมหาศาล อย่างอุตสาหกรรมบันเทิงเกาหลีใต้ ที่สามารถสร้างอิทธิพลได้อย่างท่วมท้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 21 รวมไปถึงอุตสาหกรรมบันเทิงฮ่องกง ที่สามารถสร้างอิทธิพลได้เป็นอันดับแรก ๆ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20

 

 

สำหรับอุตสาหกรรมบันเทิงของ 2 ประเทศนี้ เรียกได้ว่า ล้วนแล้วแต่เป็นตัวชูโรงของแต่ละยุคสมัยเลยด้วยซ้ำ เรียกได้ว่าเป็นหน้าเป็นตาของอุตสาหกรรมบันเทิงในฝั่งเอเชียเลยทีเดียว ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องได้รับการสนับสนุนจากประเทศที่อยู่ภายในเอเชียด้วยกันเอง ไม่ว่าจะเป็นผ่านการซื้อสิทธิ์เพื่อนำไปฉายภายใน ที่ถือว่าเป็นหนึ่งในจุดที่สร้างกำไรให้กับอุตสาหกรรมเหล่านี้อย่างคุ้มค่า

 

โดยเริ่มจากอุตสาหกรรมภาพยนตร์ฮ่องกง ที่เริ่มจากการเข้าฉายภายในประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย และยังสามารถที่จะกระจายความสำเร็จเหล่านี้ไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก โดยเฉพาะฮอลลีวูดได้อย่างสบาย ๆ จนทำให้ช่วงหนึ่ง อุตสาหกรรมบันเทิงฮ่องกง สามารถทำกำไรจากการเปิดตลาดเข้าไปในฮอลลีวูดได้มหาศาล ในช่วงทศวรรษที่ 1980–1990

 

จนกระทั่งเมื่ออุตสาหกรรมบันเทิงฮ่องกงเริ่มเข้าสู่ขาลง ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากประเภทของภาพยนตร์ที่ไม่หลากหลายนัก รวมไปถึงความนิยมที่จำกัดอยู่เพียงภาพยนตร์แอกชัน จนทำให้อีกหนึ่งอุตสาหกรรมบันเทิงได้ผงาดขึ้น นั่นก็คือ อุตสาหกรรมบันเทิงเกาหลีใต้ ที่มาพร้อมกับสื่อบันเทิงที่มีความหลากหลายมากกว่า นั่นจึงทำให้มันได้กลายเป็นหนึ่งในตัวเลือกในการรับชมของผู้ชมภาพยนตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อภาพยนตร์จากอุตสาหกรรมเหล่านี้สามารถคว้ารางวัลมาได้ ก็ยิ่งเป็นการประกาศชัดถึงความโดดเด่นของสื่อบันเทิงเอเชียในโลกยุคใหม่เลยทีเดียว

 

โดยสรุปแล้ว อุตสาหกรรมทั้งสองนี้ เรียกได้ว่าเป็นตัวชูโรงในยุคแรกของอุตสาหกรรมบันเทิงในเอเชียเลยก็ว่าได้ เพราะมันได้กลายเป็นตัวเปิดทางให้เกิดการสร้างสื่อบันเทิงมากมาย เพื่อสร้างการแข่งขันในอุตสาหกรรมบันเทิงภายในเอเชีย และสามารถที่จะประกาศถึงความโดดเด่นของอุตสาหกรรมนี้ในสายตาโลกอีกด้วย

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , และ WEBSITE

 

อ้างอิง
Christina Klein. The Asia Factor in Global Hollywood. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2567. จาก https://archive-yaleglobal.yale.edu/content/asia-factor-global-hollywood
Desi Tzoneva. The Rise in Popularity of Asian Cinema. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2567. จาก https://www.1stopasia.com/blog/the-rise-in-popularity-of-asian-cinema
Elizabeth Beattie. Southeast Asia cinema chains thrive as other markets struggle. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2567. จาก https://www.japantimes.co.jp/business/2023/09/21/southeast-asia-cinema-growth
Ranmalee Nanayakkara. The Globalisation of Asian Cinema. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2567.จาก https://groundviews.org/2023/03/18/the-globalisation-of-asian-cinema
Ray S. The Rise of Asian Cinema. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2567. จาก https://asianabsolute.co.uk/blog/the-rise-of-asian-cinema

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน