ธุรกิจ

จากโอกาสเป็นวิกฤติ ธุรกิจประกันกับโควิด 19

จากโอกาสเป็นวิกฤติ ธุรกิจประกันกับโควิด 19

จากโอกาสเป็นวิกฤติ ธุรกิจประกันกับโควิด 19

 

ในช่วงระยะเริ่มต้นของการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 บริษัทประกันภัยหลายแห่งใช้นี่เป็นจังหวะอันดีในการขายโปรแกรมประกันที่คุ้มครองการรักษาโควิด 19 ในหลายรูปแบบ สิ่งนั้นกลายมาเป็นหายนะปัจจุบันแก่บริษัทประกันนั้น ๆ  เนื่องจากการจัดการโควิด 19 เป็นไปอย่างไร้ประสิทธิภาพ ผู้คนติดโรคล้มตายกันกลางบ้านกลางถนน คนที่ซื้อประกันไว้ก็ทยอยกันเบิกค่ารักษาพยาบาลอย่างที่บริษัทประกันให้สัญญาไว้ เรื่องราวนี้จะจบลงอย่างไร มาอ่านบทวิเคราะห์กันที่นี่

 

หลายบริษัทประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทประกันแล้ว อย่างเช่น เอเชียประกันภัย ที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ความไม่แน่นอนของรายได้บริษัทประกันภัยคือความไม่แน่นอนของสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 นั่นเอง จากที่ระยะแรกของการแพร่ระบาดธุรกิจประกันได้รับผลกระทบน้อยมาก แต่การมีผู้ติดเชื้อจำนวนมากขึ้น ปัญหาเรื่องวัคซีนล่าช้า ความล้มเหลวในการควบคุมการระบาดระลอกสาม นำบริษัทประกันภัยจากโอกาสทางการเงินไปสู่หายนะแบบง่าย ๆ

 

นอกจากนั้น ผลกระทบของโควิดยังส่งผลต่อรายได้ต่อครัวเรือนที่ลดลง การจ่ายเบี้ยประกันระยะยาวครอบครัวลดน้อยลง บริษัทประกันมีรายรับระยะยาวยั่งยืนน้อยลง ยกเว้นเช่นบริษัทนิติบุคคลที่มีรายได้ค่อนข้างสูงที่จะซื้อประกันในจำนวนมากและราคาแพง

 

สิ่งที่สามารถเป็นตัวช่วยบริษัทประกันได้คือบริษัทประกันต้องเสริมสภาพคล่องให้กับตนเอง อีกทั้งต้องได้รับการรับรองช่วยเหลือจากภาครัฐด้วย ปรับวิธียุทธศาสตร์การบริหารความเสี่ยง อย่างการประกาศใช้มาตรการเสริมสภาพคล่องก็ช่วยสร้างความยืดหยุ่นให้กับบริษัทต่าง ๆ ในการหมุนเงินมาจ่ายลูกค้าและบริหารจัดการเงินในมืได้มากขึ้น

 

โดยมาตรการเสริมสภาพคล่องคือ การลดภาระด้านการดำรงเงินกองทุนของบริษัทประกันภัยในช่วงการแพร่ระบาด จากส่วนที่ตั้งไว้ผ่อนผันให้บริษัทถือเงินสดในมือได้มากขึ้น นอกจากนั้นยังมีการเพิ่มทางเลือกให้บริษัทต่าง ๆ ในการจัดหาแหล่งเงินทุนอื่น ๆ  การบริษัทประกันจะสามารถเข้าถึงได้รวดเร็วกว่ารอการเพิ่มยอดเพิ่มทุนในสถานการณ์ที่สภาพการณ์แพร่ระบาดยังน่ากลัวเป็นอย่างมาก เพื่อให้บริษัทประกันมีเวลามากขึ้นในการปรับปรุงระบบการจัดการของตนเองเพื่อการอยู่รอด

 

แล้วจะทำอย่างไร รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ” ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ ระบุว่า “อย่าปล่อยให้สถานการณ์ลุกลาม กลายเป็นจุดเริ่มต้นวิกฤติการเงินและอาจเร็วกว่าคาด ต้องเร่งใช้เม็ดเงินอย่างน้อย 5-7 แสนล้านบาท ออกมาตรการรักษาระดับการจ้างงาน ให้เงินช่วยเหลือโดยตรงกับภาคธุรกิจ หากไม่ทำจะทำให้กิจการเอสเอ็มอีกว่า 2 แสนรายขาดสภาพคล่อง อาจต้องปิดตัวลงอีก และกระทบครัวเรือนกว่า 3 ล้านครัวเรือนที่จะยากจนลงและมีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่หากเปิดประเทศได้เต็มที่ และโควิดไม่กลับมาระบาดระลอกสี่ ก็ไม่จำเป็นต้องให้เงินช่วยเหลือ”

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

 

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

 

อ้างอิง
ไทยรัฐออนไลน์. 20 ตุลาคม 2564. ประกันโควิดจากโอกาสกลายเป็นวิกฤติ เจอจ่ายไม่ไหว ธุรกิจทยอยเจ๊ง. อ้างอิงจาก https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2223926
ประชาชาติธุรกิจ, 11 พฤศจิกายน 2564. เจอจ่ายจบทะลุสามหมื่นล้าน บริษัทประกันจุก หวั่นปิดกิจการเพิ่ม

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน