หรืออินเดียกำลังจะกลายเป็นหนึ่งหมุดหมายสำคัญของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจพลังงานสีเขียว
ความมุ่งมั่นของรัฐบาลอินเดีย ที่ต้องการจะมุ่งไปสู่ “การเติบโตสีเขียว” จะกลายเป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่สำคัญ ที่จะทำให้อินเดียกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจด้านพลังงานสีเขียวได้หรือไม่ บทความนี้ จะสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในกลยุทธ์การเติบโต และการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสีเขียวของอินเดีย
จากการจัดอันดับประเทศที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดของโลก พบว่าอินเดียนั้น อยู่ในอันดับที่สามรองจากประเทศจีนและสหรัฐอเมริกา มีการรายงานว่าการลงทุนในอุตสาหกรรมแหล่งพลังงานสะอาดและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ได้รับการยืนยันว่าเป็นสองทางเลือกที่เป็นไปได้มากที่สุดในการลดคาร์บอนของแต่ละประเทศ ไม่ว่าประเทศนั้น ๆ จะอยู่ในระดับของการพัฒนาใดก็ตาม
ซึ่งรัฐบาลอินเดียมองว่าการลงทุนดังกล่าว คือทางออกของการพยายามลดคาร์บอนและส่งเสริมเศรษฐกิจไปพร้อม ๆ กัน จึงได้มีการจัดสรรเงินจำนวนกว่า 4.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ของงบประมาณประจำปี ค.ศ. 2023–ค.ศ. 2024 ไปสู่การดำเนินงานด้านพลังงานสีเขียวของประเทศ และเป็นความตั้งใจของรัฐบาลอินเดียที่พยายามจะบรรลุเป้าหมาย net zero ให้ได้ภายในปี ค.ศ. 2070 อีกด้วย
โดยการจัดสรรงบประมาณปี ค.ศ.2023-24 สำหรับโครงการพลังงานสีเขียวแห่งชาติ (พลังงานแสงอาทิตย์ , พลังงานลม, พลังงานไฮโดรเจน, พลังงานจากเชื้อเพลิงชีวภาพและแหล่งพลังงานหมุนเวียนอื่น ๆ) มากกว่างบประมาณด้านพลังงานที่รัฐบาลอินเดียใช้จ่ายในปี ค.ศ. 2022-23 เกือบ 45%
สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่า อินเดียกำลังอยู่ในกระบวนการที่เป็นไปได้ในการเพิ่มกําลังการผลิตจากเชื้อเพลิงที่ไม่ใช่ฟอสซิลเป็น 500 GW ภายในปี ค.ศ. 2030 ซึ่งหากการดำเนินงานเป็นไปตามแผนนโยบายที่รัฐบาลอินเดียได้ประกาศเอาไว้ จะทำให้อินเดียกลายเป็น “ผู้นําในตลาดพลังงานสีเขียวระดับโลก” ตามที่นายกรัฐมนตรี Narendra Modi ได้กล่าว
ประเด็นสำคัญของกลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านพลังงานสีเขียวของอินเดียคือ “ภารกิจไฮโดรเจนสีเขียวแห่งชาติ : the National Green Hydrogen Mission” ซึ่งมีจุดประสงค์ที่จะทำให้อินเดียเป็นศูนย์กลางระดับโลกในการผลิต การใช้และการส่งออกไฮโดรเจน
โดยอินเดียตั้งเป้าที่จะผลิตไฮโดรเจนสีเขียวให้ได้ 5 ล้านเมตริกตันต่อปีภายในปี ค.ศ. 2030 รวมถึงการผลิตอิเล็กโทรไลเซอร์ที่เกี่ยวข้องซึ่งใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อขับเคลื่อนอิเล็กโทรไลซิสน้ำซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการผลิตไฮโดรเจนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์
เนื่องจากในอดีตอินเดียมีโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล การลงทุนในพลังงานหมุนเวียนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจึงมีศักยภาพสูงสุดในการสร้างความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดกับรอยเท้าทางสภาพภูมิอากาศ หรือ climate footprint โดยกําลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนของอินเดียมีการเติบโตอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนที่ 396% ในช่วง 8.5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งคิดเป็นส่วนแบ่งถึง 42.5% ของกําลังการผลิตพลังงานทั้งหมดของประเทศ
นอกไปจากนี้ยังมีการจ้างงานแรงงานเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทำให้อินเดียเป็นประเทศที่ถูกคาดการณ์ว่าจะกลายเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลกภายในปี ค.ศ. 2050
ลงทุนศาสตร์ – Investerest
ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , และ WEBSITE
อ้างอิง
https://earth.org/india-green-energy-transition
อัพเดทล่าสุดเมื่อ :