ธุรกิจ

ทำอย่างไรให้ SMEs อยู่รอด

ทำอย่างไรให้ SMEs อยู่รอด

ทำอย่างไรให้ SMEs อยู่รอด

 

สถานการณ์โลกและสถานการณ์ในไทยถือว่าน่าเป็นห่วงอย่างมาก เราจะเห็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กหลายแห่งปิดตัวลงไป ขาดทุน อุ้มตัวเองไม่ไหว เพราะปัจจัยทั้งในและนอกประเทศหลาย ๆ อย่าง บทความชิ้นนี้ขอทำหน้าที่ให้คำแนะนำเสริมว่าพอจะมีทางไหนที่ทำให้ SMEs อยู่รอดได้บ้าง หวังว่าข้อแนะนำเหล่านี้จะมีประโยชน์กับคุณไม่ว่าจะมากหรือน้อย

 

ปัญหาเศรษฐกิจที่เหล่าผู้ประกอบการและเจ้าของธุรกิจชาวไทยต้องเผชิญในตอนนี้ มีทั้งปัญหาจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว, การระบาดของเชื้อไวรัสที่เหมือนจะดีขึ้นแต่ก็ยังไม่จบสิ้น ปัญหาเงินเฟ้อที่ทำให้ข้าวของแพงขึ้น ทั้งค่าไฟ ราคาน้ำมัน ค่าอาหาร และอื่น ๆ โดยความท้าทายเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคนทุกคน เพราะมันเริ่มต้นตั้งแต่ปัญหาด้านค่าครองชีพ ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป

 

หากจะมองให้ลึกไปถึงปัญหาที่อยู่ใต้พรม ภายใต้คำว่าปัญหาค่าครองชีพ เรายังมีความท้าทายอีกมากมาย ด้วยความที่ภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ ผู้คนจ่ายน้อยลงเพราะไม่มีกำลังซื้อ คนที่ทำธุรกิจ หรือกำลังวางแผนจะเริ่มต้นธุรกิจ จึงเผชิญกับภาวะที่ต้องรับความเสี่ยงอย่างหนัก

 

เมื่อพูดถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ความจริงอย่างหนึ่งที่ต้องยอมรับคือ ยิ่งใครสายป่านยาว คนนั้นจะอยู่รอด ดังนั้นผลของมันจะเห็นได้จากการที่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กทยอยเจ๊งกันไปจำนวนมาก ในขณะที่ธุรกิจยักษ์ใหญ่ ไม่ใช่ว่าไม่ได้รับผลกระทบ ธุรกิจใหญ่ก็เข้าเนื้อ แต่ด้วยกำลังการผลิตและเม็ดเงินที่มากกว่า จึงยังเอื้อให้ธุรกิจเหล่านั้นยังไม่ต้องปิดตัวลง

 

ธนาคารเกียรตินาคิน ได้ให้คำจำกัดความถึงคำว่า “เศรษฐกิจแบบ New Normal” ไว้ว่า เศรษฐกิจในยุค New Normal มีลักษณะ 4 อย่างได้แก่

  • เป็นเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่ำลงอย่างต่อเนื่อง
  • การค้าทั่วโลกขยายตัวน้อยลง
  • ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อยู่ในระดับต่ำ
  • ผลตอบแทนการลงทุนต่ำ และมีความผันผวนสูง

 

5 วิธีหลักที่จะช่วยให้ธุรกิจ SMEs อยู่รอดได้แก่

  • ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
    • วิเคราะห์อย่างละเอียดว่าเงินหมุนในธุรกิจเราหน้าตาเป็นอย่างไร มีส่วนใดที่เป็นเงินออกที่เราสามารถประหยัดหรือตัดออกไปได้ก่อน เน้นดูความจำเป็นอย่างละเอียด
  • พยายามหาโอกาสใหม่ ขยายตลาด
    • แน่นอนว่าหนึ่งในโชคดีท่ามกลางวิกฤตคือการพัฒนาของเทคโนโลยี การขายของออนไลน์นั้นได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งข้อดีอย่างหนึ่งของการขายของออนไลน์คือ ค่าใช้จ่ายไม่มากเท่าการต้องเช่าพื้นที่ทำร้าน การจัดส่งแบบ delivery ก็ทำให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้าเราได้ง่ายขึ้น
  • ยอมลดราคาสินค้าลงก่อน
    • ธุรกิจหลายแห่งเจอทางตันในช่วงวิกฤต เพราะว่ามีการสต็อคสินค้าไว้จำนวนมาก พอเจอกับวิกฤตเข้า สินค้าก็ค้างสต็อค บางทีการยอมตัดใจขายสินค้าเหล่านั้นในราคาที่ได้กำไรต่ำ เพื่อดึงเงินกลับมาหมุนก่อน ก็เป็นเรื่องจำเป็นต้องทำเพื่อความอยู่รอด
  • ตามเทรนด์การซื้อขายสิ่งของ
    • หันมาขายอะไรที่แม้เศรษฐกิจไม่ดี แต่คนยังซื้อใช้ หาโอกาสใหม่ ๆ ในพื้นที่ที่ทำธุรกิจ หรือวิเคราะห์กลุ่มลูกค้า แล้วนำเสนอสิ่งใหม่ที่น่าสนใจ ให้เป็นกรณีที่ลูกค้าเห็นความแปลกใหม่และยอมจ่าย
  • ปรับตัวเข้าหาระบบดิจิทัล
    • เช่นการทำการตลาดออนไลน์ การวิเคราะห์ข้อมูลออนไลน์ และการทำระบบการซื้อการขายออนไลน์ ซึ่งอย่างที่กล่าวไว้ตั้งแต่ต้น เทคโนโลยีไม่ได้หยุดนิ่งในช่วงวิกฤต

 

หลักการเหล่านี้น่าจะช่วยเป็นแรงเสริมให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กสู้ต่อในเศรษฐกิจภายใต้วิกฤตได้ สุดท้ายแล้วเจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการคือคนที่รู้ดีที่สุดว่าจะปรับตัวดูแลธุรกิจอย่างไร แต่ลงทุนศาสตร์ก็อยากจะฝากข้อแนะนำเอาไว้ เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับคุณ

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

 

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

 

อ้างอิง
กรุงไทย, 5 วิธีปรับตัว SMEs ไทยชนะได้ทุกวิกฤต, อ้างอิงจาก https://krungthai.com/th/financial-partner/learn-financial/402
เพลิน by Krungsri, SME ควรจะปรับตัวอย่างไร หลังผ่าน Covid-19, อ้างอิงจาก https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/sme-after-covid
KKPAdviceCenter, SMEs จะอยู่รอดอย่างไรในยุค New Normal, อ้างอิงจาก https://advicecenter.kkpfg.com/th/business-talk/sme-new-1

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน