Empathy ทักษะความเห็นอกเห็นใจที่มีประโยชน์ในที่ทำงาน
เพราะเราทำงานกับคน ไม่ใช่หุ่นยนต์ คนมีความรู้สึก มีชีวิต มีอารมณ์ ดังนั้น การพยายามเข้าใจเข้าใจคนอื่น เป็นทักษะสำคัญที่มีประโยชน์ตั้งแต่ทีมเล็ก ๆ ไปจนสู่วัฒนธรรมองค์กรได้เลยทีเดียว แต่ถามว่า Empathy คืออะไร แล้วทำอย่างไรจะเรียนรู้เพิ่มพูนทักษะนี้ ลงทุนศาสตร์ชวนอ่าน
เรามักจะได้ยินคำพูดที่ว่า การทำงานสมัยนี้แค่มี hard skill นั้นไม่พอ แต่เราต้องมี soft skill ในการทำงานด้วย เพราะหลายครั้งในการทำงานเราต้องทำงานกับคน ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์และการอยู่ร่วมกันในพื้นที่พื้นที่หนึ่งจึงเป็นเรื่องสำคัญที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ในเมื่อคนคือตัวแปรหลักในงาน ก็ต้องยอมรับว่าคนไม่สามารถถูกตั้งค่าให้กระทำ รู้สึก ตัดสินใจ อย่างโปรแกรมสั่งได้ ผู้คนนั้นมีความคิด เรื่องราวในชีวิต วิธีการจัดการอารมณ์หลากหลาย และมีทัศนคติต่อที่ทำงานแตกต่างกันออกไป
ดังนั้น สิ่งหนึ่งที่สำคัญในการอยู่ร่วมกัน นั่นคือความเห็นอกเห็นใจ หรือ Empathy นั่นเอง
แต่ก่อนที่เราจะไปพูดถึงนิยามความหมายของคำว่า Empathy ลองมานึกกันเล่น ๆ ก่อนว่า เมื่อพูดถึงคำนี้แล้วเรานึกถึงอะไร อาจจะเป็นภาพของการรับฟังปัญหาของเพื่อนร่วมงาน การปลอบประโลมเมื่อมีคนร้องไห้ การพูดจาให้กำลังใจ การตีความความเข้าใจคำว่า Empathy นั้นแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน
ถ้าจะให้พูดเป็นหลักการง่าย Empathy คือทักษะ ความสามารถที่จะเข้าใจคนอื่น ในมุมมองของคนคนนั้น ที่มีต่อเหตุการณ์หนึ่ง โดยไม่ใช้มุมมองของตัวเราเองไปตัดสิน
จากผลสำรวจข้อมูลของ wsj.com และ businessolver.com พบว่า 20% ของนายจ้างในสหรัฐฯ มีการเสนอการฝึกอบรมเรื่อง empathy สำหรับพนักงานระดับผู้จัดการ และจากการพูดคุยกับ CEO 150 คน พบว่า มากกว่า 80% ยอมรับว่าการ empathy เป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ
ดร.อดัม เวยซ์ (Dr. Adam Waytz) ศาสตราจารย์ด้านการจัดการจากมหาวิทยาลัย Kellogg กล่าวว่า Empathy มีสำคัญมากต่อการเป็นผู้นำและการจัดการองค์กร ผู้นำจะต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าความรู้สึกเห็นอกเห็นผู้อื่นคืออะไร ทำงานอย่างไร และส่งผลกระทบอย่างไรกับสถานที่ทำงาน เพราะมันมีความจำเป็นในการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมในที่ทำงาน และสร้างประสบการณ์ในที่ทำงานให้ดีขึ้น
แล้วเราจะสร้างสังคมในที่ทำงานที่มี Empathy อย่างไรได้บ้าง
- สังเกตการทำงานของลูกทีมเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ทีมงานทำงานหนักเกินไปจนเกิดอาการ Burnout ซึ่งจะทำให้เกิดแรงกดดันและความเครียด จนนำไปสู่การลาออกได้ ผู้นำที่มี Empathy จะรับรู้สัญญาณดังกล่าว และรีบเข้าไปแก้ไขปัญหาให้ทันก่อนพนักงานจะลาออกไป แสดงความจริงใจต่อความต้องการของทุกคน
- ทำความเข้าใจความปรารถนา ความหวัง หรือความฝันของทีมงานแต่ละคน รวมไปถึงการจับคู่งานให้เหมาะสมกับทักษะความสามารถและความพึงพอใจ
- เต็มใจช่วยเหลือเรื่องส่วนตัว เพราะทุกวันนี้เส้นแบ่งความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านายกับลูกน้องเริ่มเลือนลางลง หลายครั้งที่หัวหน้ากับทีมงานเป็นเพื่อนกันในชีวิตจริง การสื่อสารที่เปิดกว้างและการยื่นมือช่วยเหลือเรื่องส่วนตัวเมื่อจำเป็น ก็จะทำให้ทีมงานรู้สึกสบายใจในที่ทำงานมากขึ้น
- แสดงความเสียใจต่อการสูญเสีย เพราะทุกคนล้วนต้องผ่านการสูญเสีย การแสดงออกถึงความเสียใจหรือการสนับสนุนเขา เป็นการสร้างมิตรภาพและรักษาความสัมพันธ์ในที่ทำงานให้แข็งแรงขึ้น
มองความเป็นผิดพลาดเป็นเรื่องปกติ - ยอมรับว่าไม่มีใครทำงานได้สมบูรณ์แบบ การทำงานผิดพลาดคือบทเรียนที่สำคัญของทีมงาน ฉะนั้นควรมีมาตรการลงโทษที่สมเหตุสมผลมากกว่าการลงโทษเพื่อให้สำนึกผิดอย่างเดียว
ที่คำว่า Empathy นั้นถูกเรียกว่าเป็น “ทักษะ” ก็เพราะว่า การสร้าง Empathy นั้นเป็นเรื่องที่ฝึกกันได้ พื้นเพเบื้องหลังบุคลิกนิสัยของผู้คนนั้นแน่นอนว่าแตกต่างกัน แต่องค์กรที่สอนให้คนทำงานรู้จักวิธีในการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน หรือแม้แต่หัวหน้าและลูกน้อง จะเป็นองค์กรที่มีวัฒนธรรมการพยายามเข้าใจกัน ไม่ด่วนตัดสิน บรรยากาศการทำงานก็จะน่าอยู่มากขึ้น แล้วสุดท้าย soft skill ที่ดูจับต้องไม่ได้ก็อาจนำไปสู่วัฒนธรรมองค์กรที่ดี คนลาออกลดลง และธุรกิจยั่งยืนมากขึ้นด้วย
ลงทุนศาสตร์ – Investerest
ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE
พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์
อ้างอิง
HRNote.asia, รู้จัก empathy skill ทักษะที่ทำให้เข้าใจความรู้สึกคนอื่นมากขึ้น, อ้างอิงจาก https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/empathy-skill-210714/#:~:text=Empathy%20%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B5,%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87
Krungsri.com, ทำไม empathy ถึงมีความสำคัญในการทำงาน, อ้างอิงจาก https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/why-empathy-important-for-work
Urbinner, Empathy คืออะไร สำคัญอย่างไรในที่ทำงาน, อ้างอิงจาก https://www.urbinner.com/post/what-is-empathy-how-does-it-important-in-the-workplace
อัพเดทล่าสุดเมื่อ :