RELX บริษัทผู้อยู่เบื้องหลังองค์ความรู้เชิงวิชาการของคนทั่วโลก
Relx เป็นบริษัทเจ้าของวารสารวิชาการ Elsevier และเจ้าของแพรตฟอร์ม Science Direct และประกอบธุรกิจให้บริการและวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารแบบเจาะลึกให้กับลูกค้าองค์กรตามแต่อุตสาหกรรมต่าง ๆ ครอบคลุมด้านการบริหารความเสี่ยง (Risk), องค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ทางการแพทย์ (Scientific, Technical & Medical) และด้านกฎหมาย (Legal)
สำหรับข้อมูลในหมวดธุรกิจฝั่ง Risk
โดยสายงานธุรกิจนี้ดำเนินผ่าน LexisNexis Risk Solutions ซึ่งเป็นการให้บริการข้อมูลวิเคราะห์ และเครื่องมือ/โปรแกรมช่วยในการตัดสินใจแยกตามแต่อุตสาหกรรมของลูกค้าซึ่งมีระบบอันกอริทึมและเทคโนโลยีที่ซับซ้อนเพื่อให้บริษัทลูกค้าสามารถประเมินและคาดการความเสี่ยงได้ รวมถึงช่วยยกระดับประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มมากขึ้นด้วย
โดยอุตสาหกรรมที่บริษัทได้มีส่วนร่วมก็ประกอบไปด้วย
Business Services (ครองสัดส่วน 45% ของรายได้ฝั่ง Risk )
Insurance Solutions (ครองสัดส่วน 40% ของรายได้ฝั่ง Risk ช่วยให้บริษัทประกันสามารถตรากรมธรรมให้รัดกุมมากขึ้นได้ ผ่าน Market & Policy Insight ที่บริษัทรวมรวมและสังเคราะห์มาให้)
Specialized Industry Data Services (ครองสัดส่วน มากกว่า 10% ของรายได้ฝั่ง Risk เป็นการบริการชุดข้อมูลเฉพาะด้านเกี่ยวกับอุตสาหกรรมพลังงานกับปิโตรเคมี การบิน การเกษตร และทรัพยากรมนุษย์)
และท้ายที่สุด Government Solutions (ครองบสัดส่วนมากกว่า 5% ของรายได้ฝั่ง Risk เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการเพื่อจ่ายให้หน่วยงานราชการต่อไป)
บริการทั้งหมดของฝั่ง Risk จะมีภาพรวมดังต่อไปนี้
ต่อมาเป็นรายได้ฝั่ง Scientific, Technical & Medical (STM) กันบ้าง
ผลิตภัณฑ์ของรายได้ฝั่งนี้ หากเป็นนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์ที่ผ่านการเรียนมหาวิทยาลัยและได้ทำ Thesis คงได้ผ่านหูผ่านตากันมาบ้าง เพราะว่าบริษัท Relx เป็นเจ้าของแพรตฟอร์ม Science Direct (เว็ปที่รวบรวม Thesis และ Research ทั่วโลกเอาไว้ในที่เดียว), Elsevier (สำนักพิมพ์ที่ตีพิมพ์บทความวารสานวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์), Scopus (แหล่งรวบรวม Abstract และ Citation ผลงานวิชาการทั่วโลก)
[Off Topic : หากใครเคยผ่านความยากลำบากในการร่าง Abstract ใน Project ที่เราคิดว่ามันล้ำ ๆ แน่ ๆ แต่พอตรวจด้วย Scopus แล้ว Abstract ของเราดันเหมือนคนอื่นกว่า 60% ว่ากันตามตรงแล้วโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่คนสายนักวิชาการต้องคุ้นเคยมากพอควรเลย หากจะเขียนงานวิชาการ]
รายได้หลัก ๆ ของฝั่ง STM มาจากบริการ Primary Research ซึ่งครองรายได้มากกว่า 50% ของหมวดรายได้นี้ บริษัทมีรายได้จากการตีพิมพ์วารสารวิชาการเสิร์ฟวงการศึกษาทั่วโลก โดยมีรายได้จาก Subscription กว่า 70% เลยทีเดียว
ต่อมาคือฝั่ง Databases, Tools and e-Reference ซึ่งครองสัดส่วน 35% ของรายได้ฝั่ง STM โดยหลัก ๆ Tools ที่เป็นที่นิยมที่สุดก็คือ Scopus ที่เป็นแหล่งข้อมูลในการร่าง Abstract และตรวจสอบผลงานวิจัยต่าง ๆ
และสัดส่วนสุดท้ายของธุรกิจฝั่ง STM คือวารสารตีพิมพ์ ซึ่งมีสัดส่วนราว ๆ 12% ซึ่งตรงส่วนนี้เองจะมีการสอดแทรกรับรายได้จากการ Commercial Marketing service ในหมวดอุตสาหกรรมยาและ Life Science
และรายได้หมวดสุดท้ายของบริษัทนี้ คือหมวดกฎหมาย (Legal) นั่นเอง
ในหมวดกฎหมายนี้เองไม่มีการระบุหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์เฉพาะทางที่ชัดเจน แต่แก่นแท้ของรายได้สายนี้จะเป็นเรื่องของการให้บริการข้อมูลและเครื่องมือที่ช่วยให้บริษัทร่างข้อผูกมัดให้กับผลิตภัณฑ์และบริการให้คมมากยิ่งขึ้น ผ่านการสังเคราะห์วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่น่าสนใจต่าง ๆ เช่น Machine Learning กับ natural language processing
จริง ๆ แล้วบริษัทเองก็มีอีก 1 หมวดหมู่รายได้ด้วย แต่ว่าน่าเสียดายที่ช่วงวิกฤติ Covid นี้ทำให้รายได้นี้ไม่ทรงพลังมาก จนโดนภาคส่วนรายได้อื่นกลบกำไรไปหมด นั่นก็คือส่วนธุรกิจงาน Exhibition
โดยงาน Exhibition นี้จะเป็นการรวบรวมนวัตกรรมต่าง ๆ ที่บริษัทได้รวบรวมเอาไว้ให้กับบริษัทต่าง ๆ ได้มาชมและได้ซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ใหม่ ๆ จากพาร์ทเนอร์ของบริษัท
สำหรับภาพรวมรายได้แยกตามธุรกิจจะมีดังรูปต่อไปนี้ จะเห็นว่าภาคส่วนธุรกิจทั้ง 3(+1) มีสัดส่วนเท่า ๆ กันเลย
สำหรับตัวเลขการเงินย้อนหลังจะมีดังต่อไปนี้
ปี 2015
บริษัทมีรายได้ 5.97 พันล้านปอนด์
บริษัทมีกำไรขั้นต้น 3.55 พันล้านปอนด์ (คิดเป็นอัตรากำไรขั้นต้น 59.45%)
บริษัทมีกำไรสุทธิ 1.01 พันล้านปอนด์ (คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 16.88%)
บริษัทมีผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) คิดเป็น 47.44%
ปี 2016
บริษัทมีรายได้ 6.89 พันล้านปอนด์ (รายได้โต 15.47%)
บริษัทมีกำไรขั้นต้น 4.07 พันล้านปอนด์ (คิดเป็นอัตรากำไรขั้นต้น 58.96%)
บริษัทมีกำไรสุทธิ 1.16 พันล้านปอนด์ (คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 16.84%)
บริษัทมีผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) คิดเป็น 52.02%
ปี 2017
บริษัทมีรายได้ 7.34 พันล้านปอนด์ (รายได้โต 6.47%)
บริษัทมีกำไรขั้นต้น 4.40 พันล้านปอนด์ (คิดเป็นอัตรากำไรขั้นต้น 59.94%)
ปีบริษัทมีกำไรสุทธิ 1.65 พันล้านปอนด์ (คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 22.45%)
บริษัทมีผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) คิดเป็น 71.90%
2018
บริษัทมีรายได้ 7.49 พันล้านปอนด์ (รายได้โต 2.06%)
บริษัทมีกำไรขั้นต้น 4.56 พันล้านปอนด์ (คิดเป็นอัตรากำไรขั้นต้น 60.88%)
บริษัทมีกำไรสุทธิ 1.42 พันล้านปอนด์ (คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 18.98%)
บริษัทมีผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) คิดเป็น 60.74%
ปี 2019
บริษัทมีรายได้ 7.87 พันล้านปอนด์ (รายได้โต 5.10%)
บริษัทมีกำไรขั้นต้น 4.83 พันล้านปอนด์ (คิดเป็นอัตรากำไรขั้นต้น 61.28%)
บริษัทมีกำไรสุทธิ 1.50 พันล้านปอนด์ (คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 19.11%)
บริษัทมีผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) คิดเป็น 66.96%
ปี 2020
บริษัทมีรายได้ 7.11 พันล้านปอนด์ (รายได้หดตัว 9.70%)
บริษัทมีกำไรขั้นต้น 4.25 พันล้านปอนด์ (คิดเป็นอัตรากำไรขั้นต้น 59.73 %)
บริษัทมีกำไรสุทธิ 1.22 พันล้านปอนด์ (คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 17.22%)
บริษัทมีผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) คิดเป็น 57.40%
ปี 2021
บริษัทมีรายได้ 7.24 พันล้านปอนด์ (รายได้โต 1.88%)
บริษัทมีกำไรขั้นต้น 4.38 พันล้านปอนด์ (คิดเป็นอัตรากำไรขั้นต้น 60.53%)
บริษัทมีกำไรสุทธิ 1.47 พันล้านปอนด์ (คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 20.31%)
บริษัทมีผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) คิดเป็น 55.19%
โดยส่วนตัวแล้วบริษัท Relx นับว่าเป็นหนึ่งในบริษัทที่มี Moat ในด้านของ Networking Effect ที่สูงมากจากการที่บริการหลาย ๆ อย่างของบริษัทมีความยึดโยงกับภาคการศึกษาโดยเฉพาะฝั่งอุดมศึกษาและวงการการศึกษาชั้นสูง รวมถึงองค์ความรู้ที่บริษัทได้สั่งสมมาเป็นเวลานานอีกด้วยผ่านการเป็นผู้ตีพิมพ์วารสารวิชาการ
ตรงส่วนสินทรัพย์และบริษัทบริการเหล่านี้ส่งผลมาที่ตัวอัตรากำไรขั้นต้นของบริษัทที่สามารถทำการแข่งขันได้จากการมี Gross Margin มากกว่า 50% เป็นเวลาติดต่อกันมากกว่า 5 ปี รวมถึงตัวเลข ROE ของบริษัทที่สามารถทำได้มากกว่า 60% เช่นกัน
จากข้อมูลทั้งหมดนี้เอง จึงทำให้มองว่าบริษัทนี้เป็นบริษัทที่เรียกได้ว่ามีความเก่งและสามารถแข่งขันกับเจ้าอื่น ๆ ได้ไม่ยาก แต่ถึงอย่างนั้นแล้วจุดที่ดูด่างพร้อยนิด ๆ สำหรับบริษัทคงหนีไม่พ้นตัวเลขของรายได้ที่จะเห็นว่ามีการทรงตัวอยู่ที่ 7 พันล้านปอนด์ มาเป็นระยะยาวนานมาก ตรงนี้เองก็น่าคิดว่าการที่รายได้ไม่เติบโตนี้อาจทำให้หุ้นยืนระยะอยู่ที่จุดอีกนานหากไม่มีสตอรี่ใหม่ ๆ หรือ Growth Driver ใหม่มาสร้างรายได้
แต่หากมองว่าบริษัทนี้เป็นบริษัท Cash Cow ก็ไม่ผิดอะไรจากความสามารถในด้านการคุมต้นทุนและการสร้างผลตอบแทนส่วนผู้ถือหุ้นแล้ว อีกส่วนที่น่าชมมากของบริษัทก็คือบริษัทสามารถดำเนินการสร้าง Free Cash Flow ในระดับที่น่าพอใจได้ตลอดปี 2015-2021 เลยครับ โดยให้ Free Cash Flow เฉลี่ยอยู่ที่ปีละราว ๆ 1.50-2.00 พันล้านปอนด์ หากเทียบดับรายได้ที่ 7 พันล้านปอนด์แล้วกล้าวได้ว่าบริษัทสร้าง Output จากรายได้ได้มากถึง 20%
ถือว่าบริษัทนี้เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่น่าสนใจในแดนผู้ดีประเทศอังกฤษเลยทีเดียว
ลงทุนศาสตร์ – Investerest
ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE
พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์
อ้างอิง
https://www.tradingview.com/symbols/LSE-REL/financials-income-statement/
https://www.relx.com/investors/annual-reports/2021
อัพเดทล่าสุดเมื่อ :