SAFM – Sanderson Farms ผู้ผลิตเนื้อไก่อันดับ 3 ของอเมริกา
บริษัท Sanderson Farm เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจทำฟาร์มไก่เองจนถึงกระบวนการแปรรูปและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดในบริษัทที่ประกอบธุรกิจผลิตเนื้อไก่นี้เป็นสัดส่วน 9.6% เป็นผู้เล่นอันดับที่ 3 ของตลาด โดยมีอันดับ 1 คือบริษัท Tyson Foods ที่ครองสัดส่วนอยู่ที่ 20.4% และ Pilgrim’s ที่ครองสัดส่วนอยู่ 16.4%
บริษัทมีรายได้จากผลิตภัณฑ์ไก่ตามสัดส่วนดังรูปต่อไปนี้
ซึ่งแบ่งเป็น Value Added product กว่า 90% เลยครับ โดยเป็นผลิตภัณฑ์ไก่สดตัดแต่งใส่แพ็คเย็น ไก่สดตัดแต่งในถุงสุญญากาศ
ถึงอย่างนั้นแล้ว เมื่อเรามาพิจารณาดู Gross Margin ย้อนหลังของบริษัทที่ผ่านมา เราจะพบว่าค่าเฉลี่ยของ Gross Margin แบบปกติจะอยู่ที่ราว 7.8-10% (ค่าเฉลี่ยแบบระดับ 2SD ที่ผ่านมาจะอยู่ตั้งแต่โซนติดลบถึง 4% , ส่วน Gross Margin แบบ Best Case ของบริษัทจะอยู่ที่ราว 15-20)
ซึ่งว่ากันตามตรงแล้ว ข้อที่ต้องติดตามสำหรับธุรกิจ Commodities อย่างธุรกิจเนื้อสัตว์นี้ การจะวัดว่าใครแจ๋วจริง การวัดผ่าน Gross Margin จะเป็นการวัดผลที่ตรงประเด็นที่สุด ว่าตามสภาวะที่ราคาสินค้าผันผวน บริษัทสามารถบริหารจัดการให้บริษัทครอง Margin ได้อย่างสม่ำเสมอหรือไม่ บริษัทที่มีสายป่านและมีต้นทุนการผลิต (และสินค้ามีคุณภาพครองใจคน) อย่างไรก็สามารถยืนระยะได้นานกว่ารายอื่นที่บางช่วงรายจ่ายอาจเข้าเนื้อตัวเอง
สำหรับกลยุทธ์ในการเติบโตของบริษัท เราจะเห็นได้ดังภาพนี้เลย ว่าบริษัทหมด CAPEX ไปกับเรื่องการขยายฟาร์มเลี้ยงไก่(Complex) ไปเรื่อย ๆ ซึ่งก็ส่งผลทางตรงกับปริมาณการขายเนื้อไก่ในแต่ละปี สิ่งที่ตามมาของการขยายฟาร์มต่อไปเรื่อย ๆ คงหนีไม่พ้นเรื่องของค่าบำรุงรักษา (Maintenance) ซึ่งจะเป็นเงาตามตัวฟาร์มในแต่ละที่ จุดนี้เองที่เราต้องมาดูเรื่องของจุดคุ้มทุนด้วยนั่นเอง ว่าเงินสดที่ได้จากการดำเนินธุรกิจนี้สามารถ Breakeven เพียงพอต่อค่าเสื่อมและค่าบำรุงหรือไม่
ซึ่งก็สัมพันธ์กับเรื่องของ Contract ที่บริษัทได้ทำกับคู่ค้า หากเกิดการค่ำบาตรขึ้นมาก็คงปฏิเสธไม่ได้เลย ว่าบริษัทอาจต้องเหนื่อยในการหาคนมารับช่วงต่อไก่เหล่านี้
บริษัทมีตัวเลขการเงินย้อนหลังดังต่อไปนี้
ปี 2015
บริษัทมีรายได้ 2.80 พันล้านเหรียญ
มีกำไรขั้นต้น 491.11 ล้านเหรียญ (มีอัตรากำไรขั้นต้น 17.52%)
มีกำไรสุทธิ 211.83 ล้านเหรียญ (บริษัทมีอัตรากำไรสุทธิ 7.56%)
ปี 2016
บริษัทมีรายได้ 2.82 พันล้านเหรียญ (คิดเป็นอัตราการเติบโต 0.45%)
มีกำไรขั้นต้น 454.00 ล้านเหรียญ (มีอัตรากำไรขั้นต้น 16.12%)
มีกำไรสุทธิ 186.03 ล้านเหรียญ (บริษัทมีอัตรากำไรสุทธิ 6.61%)
ปี 2017
บริษัทมีรายได้ 3.34 พันล้านเหรียญ (คิดเป็นอัตราการเติบโต 18.68%)
มีกำไรขั้นต้น 641.54 ล้านเหรียญ (มีอัตรากำไรขั้นต้น 19.20%)
มีกำไรสุทธิ 275.46 ล้านเหรียญ (บริษัทมีอัตรากำไรสุทธิ 8.24%)
ปี 2018
บริษัทมีรายได้ 3.24 พันล้านเหรียญ (คิดเป็นอัตราการเติบโต -3.18%)
มีกำไรขั้นต้น 245.86 ล้านเหรียญ (มีอัตรากำไรขั้นต้น 7.60%)
มีกำไรสุทธิ 60.55 ล้านเหรียญ (บริษัทมีอัตรากำไรสุทธิ 1.87%)
ปี 2019
บริษัทมีรายได้ 3.44 พันล้านเหรียญ (คิดเป็นอัตราการเติบโต 6.31%)
มีกำไรขั้นต้น 272.07 ล้านเหรียญ (มีอัตรากำไรขั้นต้น 7.91%)
มีกำไรสุทธิ 52.52 ล้านเหรียญ (บริษัทมีอัตรากำไรสุทธิ 1.53%)
ปี 2020
บริษัทมีรายได้ 3.56 พันล้านเหรียญ (คิดเป็นอัตราการเติบโต 3.6%)
มีกำไรขั้นต้น 217.86 ล้านเหรียญ (มีอัตรากำไรขั้นต้น 6.11%)
มีกำไรสุทธิ 27.90 ล้านเหรียญ (บริษัทมีอัตรากำไรสุทธิ 0.78%)
ปี 2021
บริษัทมีรายได้ 4.80 พันล้านเหรียญ (คิดเป็นอัตราการเติบโต 34.66%)
มีกำไรขั้นต้น 907.76 ล้านเหรียญ (มีอัตรากำไรขั้นต้น 18.91%)
มีกำไรสุทธิ 448.82 ล้านเหรียญ (บริษัทมีอัตรากำไรสุทธิ 9.35%)
โดยส่วนตัวแล้ว คิดว่าบริษัทนี้นับว่าเป็นบริษัทที่มีความ Traditional และมี Room ให้ปรับเพื่อการเติบโตพอสมควร เห็นได้จากตัวเลข Gross Margin หากเทียบกับบริษัทเจ้าตลาดอย่าง Tyson Food (ที่เคยได้เขียนบมความถึงก่อนหน้านี้ https://www.investerest.co/business/tyson-food/ ) แล้ว Tyson สามารถทำได้ระดับ 10% ต่อเนื่องตลอด 5 ปี ซึ่งหากมาย้อนดู Sanderson แล้วในช่วง 3 ปีหลังมานี้ อัตรากำไรขั้นต้นมีความแกว่งพอสมควร และจากที่ได้ทำความเข้าใจพบว่า Tyson มีผลิตภัณฑ์ ที่เป็นสินค้าสำเร็จรูปเช่นไก่ทอดคาราอาเกะสำเร็จรูป และสเต็กไก่อบสำเร็จรูป ออกมาตีตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงมองว่าการกระจายสินค้าให้มีความหลากหลายเป็นการเพิ่มรายได้ที่ช่วยให้ Margin เกลี่ยได้เท่า ๆ กัน แต่แน่นอน บริษัทอาจต้องช้ำในจากการทำการตลาดและสร้างแบรนด์ให้ติดด้วย ซึ่งตรงนี้เข้าใจว่าเป็นเรื่องท้าทายกับบริษัทพอสมควร
ต่อมาก็เป็นเรื่องของการ R&D หรือการเพิ่มงบวิจัยในส่วนของผลิตภัณฑ์ก็ดีหรือในกระบวนการผลิตก็ดี อันนำมาสู่การลดต้นทุนในภายหลังหากเราทราบข้อบกพร่องในสายการผลิตต่าง ๆ นั่นรวมถึงการทดลองการ Hedging ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ต้องใช้เป็นอาหารสัตว์ในอนาคตด้วยเพื่อกำหนดราคาต้นทุนล่วงหน้าก่อนที่จะพบความท้าทายที่แท้จริง
อีกส่วนหนึ่งหากบริษัทมีผลิตภัณฑ์ไก่ปรุงสุกแล้ว การ R&D ในการปรับสูตรผลิตภัณฑ์ก็จำเป็นเช่นกันครับสำหรับการลดต้นทุน แต่ทั้งนี้ก็ต้องผ่านการ Blind Test จากผู้บริโภคด้วย ว่าสูตรที่ปรับไปนี้สามารถยอมรับรสชาติได้หรือไม่ ซึ่งถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก จริง ๆ แล้วการ R&D และการ Marketing มีหลากหลายมิติที่น่าค้นหามาก และนี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น
เรื่องราวของบริษัท Sanderson Farm ก็มีคร่าว ๆ เพียงเท่านี้ หวังว่าเรื่องราวของบริษัทนี้จะช่วยตกตะกอนในการดูบริษัทที่คล้ายกันนี้ได้ไม่มากก็น้อย
ลงทุนศาสตร์ – Investerest
ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE
พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์
อ้างอิง
https://www.tradingview.com/symbols/NASDAQ-SAFM/financials/income-statement/
https://ir.sandersonfarms.com/financial-information/proxy
อัพเดทล่าสุดเมื่อ :