ธุรกิจ

Starbucks และความล้มเหลวในออสเตรเลีย

Starbucks และความล้มเหลวในออสเตรเลีย

Starbucks และความล้มเหลวในออสเตรเลีย

 

แน่นอนว่า ผู้คนเป็นจำนวนมากชอบดื่มกาแฟ ไม่ว่าจะในโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มไหน ผู้คนก็ให้ความสำคัญกับกาแฟกันทั้งนั้นในฐานะเครื่องดื่มและไลฟ์สไตล์ ดูแล้วก็เหมือนว่าใคร ๆ ก็ชอบกาแฟ ดังนั้นการเปิดร้านกาแฟน่าจะให้กำไรสูง แต่นี่ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับธุรกิจสตาร์บัคส์ในออสเตรเลีย สตาร์บัคส์ ซึ่งเป็นบริษัทของสหรัฐอเมริกา ไม่ได้โด่งดังและดึงดูดความสนใจคนออสเตรเลีย เมื่อปี 2008 สตาร์บัคส์ในออสเดรเลียปิดตัวลง เหลืออยู่แค่ 23 สาขา

ดังนั้น มันไม่ใช่แค่ความอับอายของบริษัทที่ทำกำไรไม่ได้ แต่ยังต้องนึกไปถึงการปลดพนักงานออก เมื่อธุรกิจปิดตัวลง

 

เป็นระยะเวลาสิบกว่าปีแล้วที่สตาร์บัคส์ถอนกิจการออกจากออสเตรเลียครั้งใหญ่ เรามาลองดูเหตุผลหลัก ๆ ที่ทำให้สตาร์บัคส์ไม่ประสบความสำเร็จในออสเตรเลียกัน

1. สตาร์บัคส์ เปิดสาขาเร็วมากเกินไป : การตัดสินใจนี้เป็นหายนะครั้งใหญ่ เพราะการเปิดสาขาเร็วมากเกินไปทำให้ไม่ทันทำให้ชาวออสเตรเลียคุ้นชินกับรสชาติ และมีความสนใจในแบรนด์ของสตาร์บัคส์ ทั้งที่ความขาดแคลนจะทำให้มูลค่าของสินค้าราคาสูงขึ้น ดังนั้นการมีสตาร์บัคส์มากเกินไปทำให้เกิดอาการเหลือเฟือ ไม่มีใครต้องการ หรือพยายามจ่ายมากขนาดนั้น

2. ไม่เข้าใจในพฤติกรรมผู้บริโภคในออสเตรเลีย : สตาร์บัคส์มองกาแฟเป็นผลิตภัณฑ์ แต่ชาวออสเตรเลียมองต่างออกไป ชาวออสเตรเลียมองว่ากาแฟคือประสบการณ์ เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนที่ชาวออสเตรเลียจะรู้จักบาริสต้าในร้านกาแฟท้องถิ่น ชาวออสเตรเลียเลือกจะจ่ายกับประสบการณ์เช่นนั้นมากกว่าการจ่ายเงินให้บริษัทต่างชาติ วัฒนธรรมในประเทศออสเตรเลียจึงให้ความสำคัญกับการมีปฎิสัมพันธ์ มากกว่าแค่การดื่มกาแฟ มีคาเฟ่มากมายที่เจ้าของเป็นคนท้องถิ่น ดำเนินธุรกิจเอง ดังนั้น ความผูกพันธ์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายจึงมีความสำคัญมากในวัฒนธรรมการดื่มกาแฟในออสเตรเลีย

3. ผลิตภัณฑ์เองไม่ได้มีการปรับให้เข้ากับกลุ่มลูกค้าท้องถิ่น : ความล้มเหลวแรกเลยของสตาร์บัคส์คือความคิดที่ว่าคนรักกาแฟในออสเตรเลียจะรักกาแฟของสตาร์บัคส์ด้วย ความผิดพลาดที่สองคือการคิดเอาเองว่าชาวออสเตรเลียจะชอบดื่มเครื่องดื่มรสหวานอย่างที่เป็นในสหรัฐอเมริกา ดังนั้น ก็ไม่มีคนซื้อ เมนูเรียงรายไปด้วยเครื่องดื่มที่หวานเกินไปสำหรับชาวออสเตรเลีย แถมยังมีราคาแพง ดังนั้นผู้คนจึงเลือกดื่มกาแฟในร้านกาแฟท้องถิ่นกับบาริสต้าที่คุ้นเคย

4. ภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ : ในปี 2008 สตาร์บัคส์ปิดกิจการในประเทศออสเตรเลียไปในอัตราส่วน ⅔ ซึ่งหากจำได้ นั่นเป็นช่วงเวลาที่โลกเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างหนัก แม้ว่าออสเตรเลียจะอยู่ไกลจากสหรัฐฯ มาก แต่ออสเตรเลียก็ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยนี้เช่นกัน แม้ว่าสตาร์บัคส์จะมีเงินทุนมากพอที่จะคงตัว แต่อำนาจในการซื้อของผู้บริโภคมีน้อยลง ดังนั้นก็ยิ่งทำให้ผู้คนไม่จ่ายเงินให้บริษัทต่างชาติ ที่กาแฟรสหวานเกินไป และเข้าถึงได้ยากสำหรับคนท้องถิ่น

 

ปัจจัยสุดท้ายคือการมีคู่แข่งเป็นแบรนด์กาแฟอื่น ๆ ที่นำเข้าจากสหรัฐฯ เช่นกัน เพราะบริษัทเหล่านั้นเข้าใจความต้องการของตลาดและวัฒนธรรมการดื่มกาแฟท้องถิ่น แม้กระทั่งเมนูกาแฟก็ต่างจากสตาร์บัคส์ออกไปมาก

 

เป็นเรื่องที่เห็นได้ชัดว่าการทำธุรกิจ แม้จะมีเงินทุนมากแค่ไหน แต่หากโยนเงินลงไปผิดที่ ไม่เข้าใจในวัฒนธรรมและพฤติกรรมผู้บริโภค เงินลงทุนเหล่านั้นก็อาจไม่มีความหมาย และไม่สามารถทนทานต่อกลไกตลาดที่หมุนเวียนไปได้ เพราะไม่มีความต้องการซื้อ กรณีนี้เป็นกรณีที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งสำหรับบริษัทต่าง ๆ ที่ตั้งใจจะลงทุนหรือขยายกิจการในต่างประเทศ

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

 

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

 

อ้างอิง
CNBC, Why there are almost no Starbucks in Australia, Retrieved from https://www.cnbc.com/2018/07/20/starbucks-australia-coffee-failure.html#:~:text=Starbucks%20didn’t%20fit%20Australians,company%20to%20close%2061%20locations.
BusinessBlunders, Starbucks Australia Failure Why it happen? Retrieved from https://bettermarketing.pub/why-starbucks-failed-in-australia-187bb0c21770
Querysprout, Why did Starbucks failed in Australia, Retrieved from https://querysprout.com/why-did-starbucks-fail-in-australia/

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน