เศรษฐกิจ

การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ ส่งผลกระทบเชิงบวก และเชิงลบ ต่อประเทศกำลังพัฒนาอย่างไร

การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ ส่งผลกระทบเชิงบวก และเชิงลบ ต่อประเทศกำลังพัฒนาอย่างไร

การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ ส่งผลกระทบเชิงบวก และเชิงลบ ต่อประเทศกำลังพัฒนาอย่างไร

 

การพยายามกำหนดค่าแรงขั้นต่ำด้วยหวังว่าจะลดความยากจนในประเทศกำลังพัฒนาเป็นหนึ่งในนโยบายที่หลายประเทศนำไปปรับใช้ แต่หากเราจะถอยลงมาสักก้าวหนึ่ง สะท้อนและวิเคราะห์ว่าการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำส่งผลกระทบอย่างไร

 

เป็นเรื่องที่ต้องยอมรับเลยว่า การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำส่งผลกระทบเฉพาะกลุ่มคนทำงานที่มีรายได้น้อยมาก ๆ พูดง่าย ๆ คือการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำไม่ได้ส่งผลกระทบต่อระบบแรงงานในระดับใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานบางงานที่อยู่นอกระบบ ดังนั้นการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำทำให้เกิดผู้ได้รับประโยชน์ และผู้เสียประโยชน์ในเวลาเดียวกัน การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำนำไปสู่การกระจายรายได้ โดยเฉพาะในระดับครัวเรือน ดึงผู้ที่อยู่ภายใต้ความยากจนออกมา แต่บางครั้งก็ดันผู้คนบางกลุ่มเข้าไปสู่ความยากจนนั้นแทน ดังนั้น การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำถือเป็นนโยบายสาธารณะที่ไม่ควรบังคับใช้เป็นนโยบายโดด ๆ โดยไม่มีนโยบายสาธารณะอื่น ๆ รองรับ ทั้งนี้ด้วยจุดประสงค์เดียวกันคือลดความยากจน

 

ถ้าจะถามว่าความตั้งใจของการออกนโยบายเรื่องค่าแรงขั้นต่ำคืออะไร ก็สามารถตอบได้ง่าย ๆ ว่าคือการบังคับใช้กฏหมายเพื่อเพิ่มค่าแรงขั้นค่ำ และลดความยากจน อาจจะฟังดูง่ายดายและตรงไปตรงมา เพียงแค่เรายัดเงินเข้ากระเป๋าของแรงงานที่ได้ค่าแรงน้อย นั่นก็จะทำให้เขาเหล่านั้นเข้าถึงสินค้าและบริการที่จำเป็นได้มากขึ้น ในเชิงทฤษฏีแล้ว หากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นนโยบายที่ถูกนำไปใช้อย่างทั่วถึง รายได้ของผู้คนที่ยากจนจะสูงขึ้นมา ยกระดับชีวิตพวกเขาออกจากความยากจน

 

เป็นนโยบายที่ฟังดูดีเลยทีเดียวในเชิงทฤษฏี อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ของมันมีรูปแบบเเตกต่างกันออกไป เนื่องมาจากความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ เช่น รายได้ของคนทำงาน ระดับขั้นของตำแหน่งงาน และเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจความยากจนที่ซับซ้อน

 

เรื่องแยกที่ต้องยอมรับคือ ค่าแรงขั้นต่ำไม่ได้กระทบคนทำงานทุกคนอย่างเท่าเทียม สร้างความแตกต่างระหว่างผู้ได้รับผลกระทบกับผู้ไม่ได้รับผลกระทบจากนโยบายนี้ ข้อที่สอง เมื่อค่าแรงขั้นต่ำสูงขึ้น รายรับของคนทำงานบางกลุ่มสูงขึ้น อาจไม่ได้แข็งแรงพอที่จะนำพาครัวเรือนที่อยู่ภายใต้ความยากจนขึ้นมา ในประเทศกำลังพัฒนาที่คนทำงานในงานนอกระบบอยู่มาก คนเหล่านั้นที่รายได้น้อยกลับไม่ถูกควบรวมและได้ประโยชน์จากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ ดังนั้น ความยากจนมักกระจายไปที่ส่วนคนทำงานที่ไม่เป็นทางการซะส่วนใหญ่ หรือแม้กระทั่งในงานที่อยู่ในระบบ การนำนโยบายไปปรับใช้จริงยังไม่เป็นผลมากนักในหลายประเทศ

 

อีกเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำอาจนำไปสู่การเลิกจ้างพนักงาน เพราะนายจ้างไม่สามารถจ้างคนจำนวนเท่าเดิมด้วยค่าแรงที่สูงขึ้นได้ นี่ก็จะเป็นปัจจัยที่ผลักให้คนที่ถูกเลิกจ้าง เข้าไปอยู่ภายใต้ความยากจน การเลิกจ้างงานในระบบอาจกดทับไปที่งานนอกระบบอีกที เพราะผู้คนถูกเลิกจ้าง และต้องหางานใหม่ในส่วนของงานนอกระบบแทน
ด้วยเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมา การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ อาจไม่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงบวกมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่ยากจนมาก ๆ

 

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำมีทั้งผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ ดังนั้น ลองมาดูผลกระทบเปรียบเทียบกันเป็นข้อ ๆ เพื่อให้เราเข้าใจการทำงานของการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำให้มากขึ้น

 

ข้อดี
1. หากการจ้างงานในระบบเป็นไปได้ด้วยดี ผู้คนไม่ตกงานมากนัก การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำจะช่วยลดความยากจน
2. สำหรับงานนอกระบบ บางครั้งก็ได้รับผลกระทบจากการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำในงานในระบบ ทำให้งานนอกระบบได้ค่าแรงที่สูงขึ้นเช่นกัน ลดความยากจน
3. ถ้าผู้คนที่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำเป็นบุคคลที่อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำก็จะช่วยครัวเรือนเหล่านั้นจากความยากจน
4. หากคนที่ทำงานระดับรายได้น้อยตกงานและไม่สามารถหางานใหม่ได้เพราะการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ ระบบสังคมที่ปกป้องครัวเรือนที่มีรายได้น้อยจะยังช่วยป้องกันการเพิ่มขึ้นของความยากจน

 

ข้อเสีย
1. หากการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำสูงขึ้น อาจทำให้คนทำงานในระบบลดลง ไม่ได้นำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างตรงจุด
2. หากระบบการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำไม่ได้ครอบคลุมกลุ่มคนทำงานนอกระบบในขนาดใหญ่ การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำก็ไม่ได้ช่วยลดความยากจนแต่อย่างใด
3. ถ้าคนทำงานรายได้น้อยตกงาน และไม่สามารถหางานใหม่ได้ เพราะค่าแรงขั้นต่ำที่สูงขึ้น นั่นก็จะนำไปสู่ความยากจน

 

เมื่อเห็นเช่นนี้แล้ว จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้กำหนดนโยบายสาธารณะในประเทศกำลังพัฒนา ที่จะต้องวิเคราะห์ปัจจัยร่วม รวมถึงวิเคราะห์สถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ ออกนโยบายอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนหรือรองรับปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ ด้วยจุดมุ่งหมายเดียวกันคือพาผู้คนออกจากความยากจน

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

 

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

 

อ้างอิง
IZA World of labour, Does increasing the minimum wage reduce poverty in developing countries? Retrieved from https://wol.iza.org/articles/does-increasing-the-minimum-wage-reduce-poverty-in-developing-countries/long#:~:text=Taken%20together%2C%20the%20evidence%20for,creates%20both%20winners%20and%20losers.
World Bank Group, Minimum wages in developing countries: helping or hurting workers?, Retrieved from https://openknowledge.worldbank.org/bitstream/handle/10986/11742/470710BRI0Box31LIC10EPPNoteNo101Eng.pdf?sequence=1&isAllowed=y
NationalMinimumWage, the effectiveness of minimum wages in developing countries: the case of India, Retrieved from https://nationalminimumwage.co.za/wp-content/uploads/2015/09/0202-The-effectiveness-of-minimum-wages-in-developing-countries-The-case-of-India.pdf

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน