เศรษฐกิจ

วิเคราะห์สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน

วิเคราะห์สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน

วิเคราะห์สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน

 

ความตึงเครียดทางการเมืองและการค้าระหว่างประเทศของสองมหาอำนาจ สหรัฐอเมริกาและจีน ที่พ่วงเอาประเทศพันธมิตรของทั้งสองฝ่ายเข้าไปด้วยนั้นหนักหนาขึ้นทุกที ทั้งสหรัฐฯ และจีนพยายามผลักดันนโยบายที่จะแข่งขันกันในหลายแง่มุม ที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายผันผวนที่ไม่ได้กระทบเพียงประเทศมหาอำนาจทั้งสองนี้และพันธมิตร แต่ผลกระทบนั้นรากลึกลงไปถึงสถานการณ์โลกระยะยาวและประเทศอื่น ๆ ในโลกด้วย

 

ในช่วงเดือนที่แล้ว กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ได้ออกรายงานเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจโลกที่มาจากการดำเนินนโยบายแข่งขันกันของสองมหาอำนาจ โดยในรายงานระบุว่า การแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั่วโลก ทำให้ตัวเลข GDP โลกได้รับผลกระทบหนักถึง 7% และสำหรับบางประเทศที่มีปัจจัยหนุนเสริมให้ได้รับผลกระทบทางตรง IMF ก็มองว่าตัวเลข GDP อาจรุนแรงถึงระดับ 8-12% โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการแก่งแย่งแข่งขันในตลาดเทคโนโลยี

 

เราอาจจำแนกประเทศสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างสองประเทศนั้นออกมาคร่าว ๆ ได้ 4 ประเด็น ได้แก่

  • สนามสงครามการค้าและเศรษฐกิจ
  • สนามสงครามเทคโนโลยี
  • สนามสงครามตลาดทุน
  • สนามการทหาร และภูมิรัฐศาสตร์

 

ทางธนาคารแห่งประเทศไทย วิเคราะห์ไว้ว่า แนวโน้มผลกระทบต่อประเทศไทยจะเน้นหนักไปที่การส่งออก โดยสินค้าที่ส่งออกไปยังตลาดจีน โดยเฉพาะอิเล็กทรอนิกส์ แผงวงจร และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันเป็นร้อยละ 10 ของการส่งออกสินค้าจากไทยไปจีน จะตกอยู่ในความเสี่ยง อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ผ่านมา ไทยยังได้รับผลดีบ้างจากการส่งออกสินค้าทดแทนจีนในตลาดสหรัฐฯ และส่งออกสินค้าทดแทนสหรัฐฯ ในตลาดจีน

 

สิ่งนี้สะท้อนจากการนำเข้าจากประเทศอื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้นของทั้งสหรัฐฯ และจีน แต่ที่น่ากังวลมากกว่า คือ ในระยะยาวนั้น สงครามการค้าที่มีทีท่ายืดเยื้อ ได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการทยอยย้ายฐานการผลิตออกจากจีนไปยังประเทศต่าง ๆ แล้ว

 

จนถึงปัจจุบันไทยยังไม่ได้ประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิตมากนักเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะเวียดนามที่มีข้อได้เปรียบเหนือไทยในหลายด้าน อาทิ จำนวนประชากรและศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจ ต้นทุนแรงงานที่ยังอยู่ในระดับต่ำ รวมถึงจำนวนประเทศที่เวียดนามทำข้อตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) ที่มีมากกว่าไทยเกือบ 3 เท่า ซึ่งทำให้เวียดนามมีความน่าดึงดูดกว่าไทยในฐานะการเป็นฐานส่งออกสินค้าอีกด้วย

 

ไทยเองในฐานะที่เป็นประเทศที่พึ่งพาการค้ากับทั้งจีนและสหรัฐฯ ต้องวิเคราะห์สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างรอบคอบ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดนี้ พาเอาประเทศน้อยใหญ่ในโลกโดนหางเลขกันไปด้วย ในเมื่อปัจจัยภายนอกประเทศควบคุมไม่ได้ ไทยคงต้องถามตัวเองว่า แล้วเราจะตั้งรับอย่างไร

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , และ WEBSITE

 

อ้างอิง
กรุงเทพธุรกิจ, การเมืองโลกจะไม่เหมือนเดิม เมื่อสหรัฐจีนฝังรอยรากลึก, อ้างอิงจาก https://www.bangkokbiznews.com/politics/1048444
ธนาคารแห่งประเทศไทย, สหรัฐ VS จีนสองมหาอำนาจ หนึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญ และสิ่งที่ไทยควรทำ, อ้างอิงจาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_29Oct2020.aspx
Finnomena.com, จีนกับสหรัฐ กรณีไต้หวัน สู้กันแบบไหนและจะจบไหม, อ้างอิงจาก https://www.finnomena.com/macroview/china-vs-us-taiwan/

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน