เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจในภาคอีสาน โอกาสในการพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

เศรษฐกิจในภาคอีสาน โอกาสในการพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

เศรษฐกิจในภาคอีสาน โอกาสในการพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

 

สำหรับภาคเศรษฐกิจของประเทศไทย เราสามารถพบเห็นได้ว่า ในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทยจะมีความแตกต่างทางภูมิศาสตร์ที่น่าสนใจ เพราะมันจะทำให้ผลผลิตในทางเกษตรกรรมมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งก็จะยิ่งทำให้ประเทศสามารถได้รับรายได้ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น จากการส่งออกนั่นเอง

 

แต่ถึงกระนั้น ในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทยกลับมีข้อแตกต่างในด้านของปัญหาที่ต้องประสบพบเจออีกด้วย โดยเฉพาะในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในแหล่งที่มีความหนาแน่นของประชากรในระดับหนึ่ง แต่กลับต้องประสบพบเจอกับปัญหาในด้านภูมิศาสตร์อย่างหนักเช่นกัน

 

ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสานในปัจจุบันนั้น ถือว่าเป็นภูมิภาคที่เด่นในด้านของเกษตรกรรมที่ดีเยี่ยม อันเป็นผลมาจากลักษณะภูมิประเทศที่เป็นที่ราบสูง ซึ่งเหมาะสมต่อการเพาะปลูกเป็นอย่างมาก รวมไปถึงยังมีลักษณะดินที่มีทั้งดินทรายและดินร่วนอยู่ด้วย จึงทำให้ในภูมิภาคเหล่านี้มีทั้งการปลูกข้าว หรือพืชที่ปลูกได้บนดินทราย เช่น มันสำปะหลัง เป็นต้น ซึ่งเพียงเท่านี้คือ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด

 

แต่ในขณะเดียวกัน ภายในภาคอีสานกลับมีปัญหาในด้านของความแห้งแล้งตามสภาพภูมิศาสตร์ที่มีมาอย่างยาวนาน ทำให้ภาคเกษตรกรรมต้องพบเจอปัญหาเหล่านี้อยู่บ่อยครั้ง เพราะฉะนั้น ภาคอีสานจึงจำเป็นที่จะต้องมีโครงการในการพัฒนาในเรื่องนี้อย่างเต็มที่

 

สำหรับวิธีการในการพัฒนาเศรษฐกิจภายในบริเวณภาคอีสานนี้ มีอยู่ด้วยกันหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทางด้านเกษตรกรรม ที่จะมีการพัฒนาแหล่งน้ำที่มากกว่าเดิม โดยมีการปรากฏมากถึงจำนวน 182 แห่ง ปริมาณความจุ 3,670 ล้านลูกบาศก์เมตร

 

นอกจากนี้ ยังมีการตั้งโครงการโขง-ชี-มูล ที่ส่งผลทำให้การปลุกผลผลิตทางเกษตรสามารถดำเนินการได้ง่ายในทั่วทุกภูมิภาค ซึ่งส่งผลทำให้เกิดผลผลิตเป็นจำนวนมาก เช่น ผลผลิตข้าว ที่ทำให้มีผลผลิตต่อไร่ประมาณ 262 กิโลกรัมต่อไร่เลยทีเดียว

 

อีกทั้งยังมีการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในภาคอีสานเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลทำให้พื้นที่ต่าง ๆ มีหลากหลายของประเภทของอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมผลผลิตทางเกษตรแปรรูป ไปจนถึงอุตสาหกรรมกระดาษ ที่ส่งผลทำให้มีการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมมากถึง 1,909 แห่งนั่นเอง

 

และในปัจจุบัน ยังมีการพยายามที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรม Bio Economy เพื่อสร้างฐานของอุตสาหกรรมชีวภาพของประเทศได้เป็นอย่างดี โดยเราจะเห็นระเบียงเศรษฐกิจพิเศษนี้ ในแถบจังหวัดหนองคาย นครราชสีมา ขอนแก่น และอุดรธานี

 

ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำมาสู่การสร้างมูลค่าหลักของผลิตภัณฑ์ภายในประเทศได้อย่างดีเยี่ยม และยังมาพร้อมกับการพัฒนาในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะในด้านของการท่องเที่ยว หรือไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นอื่น ๆ ที่ถือว่าเป็นตัวเสริมหลักของการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้นั่นเอง

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , และ WEBSITE

 

อ้างอิง
คนอีสาน. เดินหน้าระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ๔ ภาค อีสานฐานอุตสาหกรรมชีวภาพแห่งใหม่. https://www.koratdaily.com/blog.php?id=14517
RYT9. เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. https://www.ryt9.com/s/ryt9/228404
ThaiPublica. อีสานกับการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้กรอบ “BCG Model”. https://thaipublica.org/2021/11/towards-global-sustainability-in-the-new-normal02
The Coverage. ฟื้นเศรษฐกิจภาคอีสาน ต้องพัฒนาด้วย ‘การเกษตร’ หนุนใช้ ‘HIA’ ประเมินสุขภาพ. https://www.thecoverage.info/news/content/3037
KKU Channel. “อีสานคิดใหม่ พร้อมก้าวต่อ” สู้วิกฤติโควิต-19 ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจพึ่งพา 3 ปัจจัย เกษตร ท่องเที่ยว นวัตกรรม ผลกระทบน้อยจากท่องเที่ยวต่างชาติ. https://th.kku.ac.th/32605

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน