นายทุน-แรงงาน ปัญหาทางเศรษฐกิจที่ยังคงดำเนินอยู่
ความขัดแย้งของระบบภายในเศรษฐกิจต่าง ๆ ทั่วโลกนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน เพราะความขัดแย้งในบางครั้ง ก็เป็นสิ่งที่นักลงทุนหรือผู้คนที่เกี่ยวข้องกับระบบจำเป็นจะต้องยอมรับระบบ เพื่อที่จะทำให้ระบบนั้นเดินต่อไป แต่ในบางครั้งก็สามารถที่จะส่งผลกระทบที่คาดไม่ถึงอยู่เช่นกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลทำให้เกิดความขัดแย้งในระดับที่รุนแรงมากขึ้น หรือบางทีก็อาจจะกลายสภาพเป็นความขัดแย้งแบบเรื้อรัง ที่รอเวลาจะเกิดความขัดแย้งในระดับที่ระเบิดออกมาจนควบคุมได้ยากเลยทีเดียว และหนึ่งในนั้น ก็รวมไปถึง ความขัดแย้งระหว่างนายทุนและแรงงานนั่นเอง
สำหรับความขัดแย้งดังกล่าวนี้ อาจจะเป็นความขัดแย้งที่มีความเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว โดยอย่างที่เรารู้กันดีว่า การที่เราจะกลายเป็นนายทุนหรือจะเป็นแรงงานนั้น ย่อมมีผลมาจากปัจจัยในด้านความสามารถของบุคคลที่แตกต่างกันออกไป หากเรามีความเข้าใจหรือมีทักษะในการวิเคราะห์ ไปจนถึงการควบคุมงาน เราอาจจะสามารถเป็นนายทุนในเวลาต่อมา
ส่วนแรงงานนั้น หากเป็นในยุคโบราณ อาจจะใช้จากกลุ่มทาสหรือเชลยมาช่วยในการทำงานในด้านนี้ จนกระทั่งในยุคที่เริ่มนำทาสออกจากระบบของการทำงาน จึงเหลือเป็นเพียงแรงงานทั่วไป ซึ่งแรงงานในยุคปัจจุบันนั้น ก็จะมีแรงงานที่เป็นผู้ใช้กำลังในการจัดการสิ่งของ ไปจนถึงแรงงานที่มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ที่ไม่ต่างจากนายทุน หากแต่เป็นแรงงานที่อยู่ภายใต้กลุ่มนายทุนเท่านั้นเอง โดยทั้งสองส่วนนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นองค์ประกอบในการผลิตทั้งสิ้น โดยมีนายทุนที่เป็นผู้ควบคุมและจัดการงานให้ออกมาดี และแรงงานที่เป็นผู้ดำเนินการงานนั้นให้สำเร็จ นั่นจึงทำให้ทั้งสองส่วนนี้เชื่อมโยงกัน
และความขัดแย้งดังกล่าวนี้ก็มีมากขึ้น เมื่อบรรดาแรงงานเริ่มมองว่านายทุนเริ่มหัวหมอกับพวกเขามากไป จนทำให้พวกเขาเริ่มตระหนักถึงสิทธิ์ที่ว่า พวกเขาเป็นคนทำงานเหมือนกัน พวกเขาอาจจะมีความสามารถไม่เหมือนนายทุน แต่ไม่ได้หมายความว่านายทุนจะกดขี่พวกเขาได้เรื่อย ๆ นั่นจึงทำให้การประท้วงของเหล่าแรงงานจึงมีมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความโกรธแค้นที่เกิดขึ้น นั่นจึงส่งผลทำให้เราได้เห็นระบบสังคมนิยม หรือหนักกว่านั้นก็คือ คอมมิวนิสต์ เลยทีเดียว นั่นจึงทำให้รัฐบาลทั่วโลกมากมาย ต่างพยายามสร้างกฎหมายแรงงาน เพื่อที่จะทำให้ปัญหาดังกล่าวนี้เบาบาง พร้อมกับมาตรฐานที่มีความเป็นธรรมมากขึ้น
สำหรับในปัจจุบันนั้น ประเทศต่าง ๆ มากมาย ล้วนแล้วแต่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสม และการเปิดการค้าเสรี ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจขยายมากขึ้น เพราะนายทุนยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ถ้าหากเกิดปัญหาขัดข้องขึ้น ก็อาจส่งผลกระทบที่ร้ายแรง และตกทอดมาจนถึงแรงงานได้ แต่ถึงกระนั้นก็มีความพยายามที่จะทำให้ช่องว่างระหว่างนายทุน-แรงงานนั้น ไม่กว้างไปมากกว่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างรัฐสวัสดิการที่เข้มแข็ง
การสร้างกฎหมายแรงงาน เพื่อทำให้แรงงานได้สิทธิ์ในฐานะของคนทำงานที่คู่ควร การพยายามช่วยเหลือเพื่อลดภาวะว่างงาน และแน่นอนว่ารวมไปถึงการที่กลุ่มแรงงานจัดตั้งสหกรณ์หรือสหภาพแรงงาน เพื่อที่จะสามารถแก้ไขปัญหาของแรงงานได้มากขึ้น
ลงทุนศาสตร์ – Investerest
ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , และ WEBSITE
อ้างอิง
Scandinavian Political Studies. Pluralism, Corporatism and the Distributive Conflict in Developed Capitalist Countries. https://tidsskrift.dk/scandinavian_political_studies/article/download/32466/30381?inline=1
Saint John Institute. The Conflict Between Labor and Capital. https://www.saintjohninstitute.org/the-conflict-between-labor-and-capital
Workpoint Today. จาก “ค้อนเคียว” สู่การทำความเข้าใจรัฐสวัสดิการและแนวคิดแบบมาร์กซิสต์. https://workpointtoday.com/marxist-welfare-state
Photo: Jeanne Menjoulet/Flickr
อัพเดทล่าสุดเมื่อ :