กระแส Minimalism พฤติกรรมผู้บริโภค และเศรษฐกิจของญี่ปุ่น
เราอาจเคยได้ยินคำว่า Minimalism ในสื่อที่มีการตีความหลักการนี้แตกต่างกันออกไป มีหลังสือหลายเล่มที่พยายามอธิบายถึงหลักการของ Minimalism ลงทุนศาสตร์ชวนอ่านบทความ หาคำตอบว่าแท้จริงแล้ว Minimalism คืออะไร หมายถึงการไม่ซื้อหรือใช้จ่ายใช่หรือไม่ มันส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างไร และในขณะเดียวกันนั้น ส่งผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศญี่ปุ่นอย่างไร
ก่อนที่จะเริ่มไปพูดคุยถึงรายละเอียด เรามาดูคำนิยามของคำว่า Minimalism กันก่อนเลย อ้างอิงจาก Merriam-Webster กล่าวว่า Minimalism คือสไตล์ หรือ เทคนิคที่ยึดหลักความการประหยัดและความเรียบง่าย ดังนั้น คนที่ยึดหลัก Minimalism จะซื้อสิ่งที่ “จำเป็น” มากกว่าสิ่งที่ “ต้องการ” การซื้อของจับจ่ายใช้สอยจะให้ความสำคัญในการตัดสินใจอย่างรอบคอบมากขึ้นว่าควรซื้อหรือไม่ เช่น ให้ความสำคัญกับสินค้าที่มีคุณภาพแต่ราคาสูงขึ้นมาหน่อย มากกว่าสินค้าคุณภาพต่ำที่ราคาต่ำ
คำถามหลัก ๆ ที่ชวนปวดหัวเมื่อพูดถึง Minimalism กับเศรษฐกิจ คือคำถามที่ว่า “ถ้าทุกคนยึดหลัก Minimalism ในการใช้ชีวิตแล้วจะเกิดอะไรขึ้นต่อเศรษฐกิจของประเทศ ?” คำตอบที่ตอบได้อย่างเร็วคือ Minimalism ไม่ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจถดถอย หรือเงินอัดฉีดในตลาดน้อยลง ด้งยเหตุผลหลายประการที่จะอธิบายต่อไป
เมื่อการบริโภคยึดหลักคุณภาพแล้วนั้น จำนวนเงินในการใช้จ่ายก็ไม่ได้สูบฉีดเข้าเศรษฐกิจของประเทศน้อยกว่าก่อนกระแส Minimalism จะเกิดขึ้นแต่อย่างใด เพราะผู้คนที่ยึดหลักนี้ ก็จะยอมจ่ายเพิ่ม เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าที่มีคุณภาพ
ยิ่งไปกว่านั้น ผู้คนที่ยึดหลักนี้ ให้ความสำคัญกับประสบการณ์มากกว่าการเป็นเจ้าของสิ่งของอะไรบางอย่างทางกายภาพ เช่น การไปดูหนัง การเข้าร้านอาหารที่ตนเองชื่นชอบ การเที่ยวคาเฟ่ การไปหาประสบการณ์ใหม่ ซึ่งเหล่านี้ ก็ใช้เงินเช่นกัน ดังนั้น Minimalism ไม่ได้หมายถึงการไม่ใช้จ่าย แต่หมายถึงการตัดสินใจอย่างรอบคอบมากขึ้นในการจ่ายเงินแต่ละครั้ง บนพื้นฐานความเรียบง่าย และจำเป็น
อีกเหตุผลหนึ่งที่เป็นการยืนยันว่า Minimalism ไม่ได้ทำให้เงินอัดฉีดในเศรษฐกิจน้อยลง เพราะกฏการทำงานของตลาดนั้น ปรับตัวตามความต้องการผู้บริโภคเสมอ กระแส Minimalism ไม่ได้เป็นสิ่งที่เข้ามา disrupt ตลาด แต่ตลาดเองปรับตัวเข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคแบบใหม่ ๆ ด้วยตัวของมันเอง
ดังนั้น ข้อดีของ Minimalism ทำให้
1. การบริโภคมากเกินจำเป็นลดลง คนทำงานสายการผลิตมีงานลดลง ซึ่งหมายถึง work life balance ที่ดีขึ้น
2. การบริโภคสินค้าหรือบริการบางอย่างอาจลดลง (เช่นสิ่งของ) แต่การบริโภคบริการอย่างอื่นอาจเพิ่มขึ้น (เช่นประสบการณ์)
3. ผู้คนจะคิดไตร่ตรองมากขึ้นว่าการจับจ่ายใช้สอยอะไรที่จำเป็น และสร้างความสุขจากสิ่งของหรือบริการสิ่งนั้นได้มาก
4. ผู้คนจะให้คุณค่ากับสิ่งของลดลง และหันมาสังเกตว่าคุณค่าที่เรามีคืออะไร แล้วซื้อของหรือบริการตามความต้องการของเราเอง
5. สภาพแวดล้อมอาจสามารถฟื้นตัวได้ดีขึ้นบ้าง เพราะการผลิตขยะจากการผลิตสินค้าลดลง
6. ผู้คนจะลงทุนในสุขภาวะทางใจมากขึ้น ไม่ใช่แค่สุขภาวะทางกายเพียงอย่างเดียว
7. จะมีเงินอีกมากที่เหลือพอให้ลงทุนกับการศึกษา
8. เราจะสามารถสนับสนุนธุรกิจชุมชนได้มากขึ้น
ดังนั้น หลักการ Minimalism ไม่ได้เป็นตัว disrupt ตลาดแต่อย่างใด เพราะกลไกตลาดจะปรับตัวตามพฤติกรรมผู้บริโภคอยู่แล้ว นอกจากนั้น Minimalism ยังทำให้ผู้คนคิดอย่างรอบคอบในการใช้จ่ายแต่ละครั้งมากขึ้น บริษัทต่าง ๆ จะผลิตสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้น แทนที่จะผลิตสินค้าด้อยคุณภาพแต่ราคาถูก Minimalism จึงเป็นทั้งหลักการในการบริโภค และมากไปกว่านั้น คือปรัชญาของการใช้ชีวิตของผู้คนเลยทีเดียว
ลงทุนศาสตร์ – Investerest
ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE
พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์
อ้างอิง
BecomingMinimalist, A New, Minimalist Economy, Retrieved from https://www.becomingminimalist.com/minimalist-economy/#:~:text=Minimalist%20lifestyles%20do%20not%20require,money%20will%20still%20be%20spent.
TheADHDMinimalist.com, Is minimalism bad for the economy (The concerns of a minimalist), Retrieved from https://theadhdminimalist.com/is-minimalism-bad-for-the-economy-the-concerns-of-a-minimalist/
Minimalray, What if everyone was a minimalist?, Retrieved from https://www.minimalray.com/what-if-everyone-was-a-minimalist/
อัพเดทล่าสุดเมื่อ :