เศรษฐกิจ

แบบไหนกันนะที่เรียกว่า “เศรษฐกิจซบเซา”

แบบไหนกันนะที่เรียกว่า “เศรษฐกิจซบเซา”

แบบไหนกันนะที่เรียกว่า “เศรษฐกิจซบเซา”

 

เศรษฐกิจซบเซาในภาษาอังกฤษ เรียกว่า “Sluggish Economy” โดยคำว่า Sluggish มีความหมายตรงตัวคือเฉื่อย ในขณะเดียวกันกับที่ก็ไปพ้องกับคำว่า หอยทาก ซึ่งเป็นสัตว์มีการเคลื่อนไหวช้ามาก โดยพวกมันสามารถเคลื่อนที่ได้เพียงแค่ 0.000023 เมตรต่อวินาที ดังนั้น เมื่อพูดถึงในแง่ของเศรษฐกิจ จึงหมายถึงสถานการณ์ที่เศรษฐกิจมีการเติบโตช้า จนแทบไม่มีนัยสำคัญของเศรษฐกิจมหภาค

 

โดยอาจเริ่มมีอัตราการบริโภค อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ช้าลง หรืออีกนัยหนึ่ง คือการผลิตและรายได้ของประเทศไม่ได้เติบโตในอัตราเดียวกันกับปีที่ผ่านมา และอัตราการว่างงานที่สูงขึ้น เป็นต้น

 

Sluggish Economy ไม่ใช่คำนิยามของเศรษฐกิจทั้งในเชิงบวกและลบ แต่เป็นเพียงคำอธิบาย ถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจในปัจจุบัน ที่ยังมีการโตไปข้างหน้าไม่ได้หยุดชะงักหรือหดตัว เป็นคำเชิงเปรียบเทียบชี้ให้เห็นสถานการณ์ ณ ขนะนั้น โดยไม่มีการชี้วัดออกมาในลักษณะของตัวเลข หรือปริมาณที่ชัดเจน ถือเป็นสภาวะปรกติ ที่มักจะเกิดช่วงหลังจากเศรษฐกิจกำลังจะเปลี่ยนจากจุดสูงสูด ไปยังภาวะหยุดชะงัก โดยเศรษฐกิจซบเซา เป็นตัวบ่งชี้สำคัญของโอกาสในการเกิดภาวะเศรษฐกิจถอดถอยที่อาจจะตามมา

 

สาเหตุของการเกิดภาวะเศรษฐกิจซบเซา อาจเกิดได้จากหลายปัจจัยประกอบกัน ตั้งแต่การเมืองภายในประเทศ นโยบายการคลัง ไปจนถึงสภาวะตลาดโลก แต่โดยหลักแล้ว มักเกิดจากนโยบายของรัฐบาลในประเทศ อย่างการเพิ่มอัตราภาษี และดอกเบี้ย การลดการใช้จ่ายสาธารณะ ซึ่งทำให้อุปสงค์ของผู้บริโภคลดลง

 

นอกจากนี้ ภาวะเศรษฐกิจซบเซาในประเทศต่าง ๆ อาจเกิดขึ้นได้ หากเศรษฐกิจอเมริกันเกิดการชะลอตัว เนื่องจากสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก รวมถึงยังเป็นแหล่งการค้าและลงทุนที่สำคัญของโลก

 

โดยในช่วงเวลาของการเกิดเศรษฐกิจซบเซา จะมีทั้งธุรกิจที่เสียประโยชน์และได้ประโยชน์ แน่นอนว่าธุรกิจขายสินค้าอุปโภคบริโภค อาจได้รับผลกระทบจากปริมาณการซื้อขายที่ลดลงตามกำลังซื้อ รวมไปถึงธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ ที่จะมีลูกค้าน้อยลง เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลถึงสถานการณ์เศรษฐกิจ จนไม่กล้าใช้จ่าย แต่ธุรกิจที่จะเติบโตได้ดีในสถานการณ์แบบนี้คือธุรกิจการไกล่เกลี้ยและติดตามหนี้

 

เมื่อเศรษฐกิจเริ่มเติบโตช้าลง ธนาคารกลางของแต่ละประเทศ อาจประกาศลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อเพิ่มการหมุนเวียนของเงินในระบบ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น ส่วนนักลงทุนควรชะลอการลงทุนเอาไว้ก่อน พร้อมทั้งสังเกตทิศทางของเศรษฐกิจ ผ่านสัญญาณที่สำคัญ ๆ

 

หากต้องการลงทุนในช่วงเวลาแบบนี้ ก็จะต้องเพิ่มความระมัดวัง ด้วยการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตไปยังการลงทุนที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งในส่วนของพันธบัตร ทองคำ เงินสด และอื่น ๆ หรือการลงทุนในหุ้น ก็อาจต้องพิจารณาบริษัทที่มีความแข็งแกร่ง เติบโตได้ดี หรือมีความสามารถในการต้านทานต่อสภาวะเศรษฐกิจ ในสถานการณ์ที่ย่ำแย่ได้ เป็นต้น

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , และ WEBSITE

 

https://www.businesstoday.in/magazine/query-corner/story/how-is-an-economic-recession-different-from-a-slowdown-126908-2008-12-12
https://hbswk.hbs.edu/item/what-does-slower-economic-growth-really-mean
https://study.com/learn/lesson/economic-slowdown-overview-examples.html
https://www.investopedia.com/terms/e/economicgrowth.asp

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน