ความขัดแย้งระหว่างอาร์เมเนีย-อาเซอร์ไบจาน ความขัดแย้งที่น่าจับตามอง และโอกาสในการกระทบทางเศรษฐกิจ
ความขัดแย้ง ถือว่าเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นเป็นปกติของประวัติศาสตร์ของมนุษย์มานานนับพันปี โดยสิ่งเหล่านี้นั้น อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นความพอใจในระดับผู้นำ ความแตกต่างทางเชื้อชาติและศาสนา การพยายามยึดครองดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์กว่า ไปจนถึงการพยายามเผยแพร่อุดมการณ์ของตนที่มองว่าเหนือกว่าอุดมการณ์ของใครอื่น
โดยทั้งหมดทั้งมวลนี้ล้วนแล้วแต่เป็นชนวนสำคัญของการเกิดความขัดแย้ง ที่ในบางครั้งอาจมีผลลัพธ์อยู่ที่การเจรจาสันติภาพในขณะที่ระเบิดเวลามีโอกาสระเบิดขึ้น ไปจนถึงการเกิดสงครามเพื่อทำให้ความขัดแย้งดังกล่าวนั้นจบเสียที รวมไปถึงความขัดแย้งระหว่างประเทศอาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจานอีกด้วย
สำหรับความขัดแย้งระหว่างอาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจานในบริเวณเขตแดนนากอร์โน-คาราบัค เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน โดยเป็นความขัดแย้งที่เกิดจากกรณีพิพาทระหว่างเขตแดน ไปจนถึงประเด็นทางศาสนา โดยสำหรับประชากรชาวอาเซอร์ไบจานเป็นนับถืออิสลามเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ชาวอาร์เมเนียจะนับถือคริสต์เป็นส่วนใหญ่
ภายในช่วงเวลาที่ 2 ประเทศนี้อยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต ได้มีการจัดตั้งเขตปกครองตนเองในพื้นที่นี้ โดยให้อยู่ภายใต้การปกครองของอาเซอร์ไบจาน ที่ในขณะนั้นยังคงเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน
จนกระทั่งเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย ส่งผลทำให้เกิดสงครามภายในดินแดนนี้ในปี ค.ศ. 1992 และจบลงในปี ค.ศ. 1994 โดยมีผลสรุปที่ว่าดินแดนแถบนี้เป็นของประเทศอาเซอร์ไบจาน ซึ่งเป็นการรับรองจากนานาชาติแบบนิตินัยนั่นเอง แต่ถึงกระนั้นก็มีการจัดตั้งสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคขึ้น จากชนกลุ่มน้อยชาวอาร์เมเนียที่อยู่ภายในพื้นที่นี้ ซึ่งเป็นการจัดตั้งแบบพฤตินัยโดยไม่ได้รับความยินยอมหรือการรับรองใด ๆ ทั้งสิ้น นั่นจึงทำให้ในบริเวณนี้ยังคงเป็นกรณีพิพาทกันมาอย่างยาวนาน
จนกระทั่งในวันที่เกิดเหตุการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครนขึ้น กลับได้เกิดความรุนแรงขึ้นอีกครั้งในดินแดนแถบนี้ไปพร้อมกัน โดยต่างฝ่ายต่างหาเหตุผลที่อีกฝ่ายหนึ่งต่างโจมตีเข้ามา จนทำให้เกิดความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการประณามจากนานาชาติ และพยายามที่จะยุติสงครามให้ได้ในเร็ววัน โดยมีวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีของรัสเซีย ขอเป็นคนกลางในการเจรจาดังกล่าวนี้
แต่สำหรับในด้านเศรษฐกิจแล้ว กลับมีหลายอย่างที่ย้อนแย้งกันอยู่ โดยเฉพาะในเรื่องของอุตสาหกรรมน้ำมัน ที่ทางอาเซอร์ไบจานสามารถครอบครองเอาไว้มากที่สุด โดยมีการขนส่งน้ำมันผ่านท่อ และมีคู่ค้าสำคัญอย่างชาติตะวันตกทั้งหลาย ที่พึ่งพาน้ำมันดังกล่าวนี้อย่างมาก และในส่วนของอาร์เมเนียนั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นประเทศอุตสาหกรรม ที่สามารถใช้ในการส่งออกสินค้าได้ดี
ด้วยความที่เป็นประเทศที่ไม่ติดฝั่งทะเล นั่นจึงทำให้อาร์เมเนียกลายเป็นรัฐที่โดดเดี่ยว และจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาอำนาจจากรัสเซีย เพื่อที่จะทำให้ประโยชน์จากเศรษฐกิจเหล่านี้ยังคงดำเนินไปได้ และสิ่งที่เหมือนกันระหว่างทั้ง 2 ประเทศนี้ ความสัมพันธ์อันดีกับสหภาพยุโรป ที่ถือว่าเป็นจุดที่ทำให้สหภาพยุโรปเหมือนกับอยู่บนทางแยกสำคัญ จนส่งผลทำให้สหภาพยุโรปที่เป็นคู่ค้าสำคัญ จำเป็นที่จะต้องทำตัวเป็นกลางในความขัดแย้งนี้
แน่นอนว่า สำหรับความขัดแย้งดังกล่าวนี้ ย่อมส่งผลต่อทรัพยากรและการพัฒนาเศรษฐกิจอยู่เป็นจำนวนมาก อย่างเช่น ในอาเซอร์ไบจาน ที่เกิดผลกระทบในด้านการส่งออกที่น้อยลง โดยเป็นผลที่ต่อเนื่องมาจากปัญหาการระบาดของ COVID-19 มาแต่ก่อนด้วย และในอาร์เมเนีย ที่เศรษฐกิจเกิดหดตัวถึง 3.6% นั่นจึงทำให้บทบาทของนานาชาติ ที่จำเป็นจะต้องดำรงความเป็นกลางเอาไว้ จึงต้องพยายามทำตัวเป็นกลางในสงครามครั้งนี้ด้วย และพยายามหาทางสงบศึกให้ได้มากที่สุด
ซึ่งในเหตุการณ์ครั้งนี้ ดูเหมือนว่าจะมีฝั่งของทูร์เคียที่อยู่ฝ่ายของอาเซอร์ไบจานอย่างชัดเจน ได้ออกมาประกาศให้ฝ่ายกองกำลังชนกลุ่มน้อยชาวอาร์เมเนียให้หยุดยิง ในขณะที่ทางรัสเซียที่สนับสนุนเศรษฐกิจของอาร์เมเนีย รวมไปถึงยังมีสนธิสัญญาในการปกป้องอาร์เมเนีย ยังคงเป็นผู้สังเกตการณ์ที่อยู่ข้างสนามของความขัดแย้งนี้
ลงทุนศาสตร์ – Investerest
ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , และ WEBSITE
อ้างอิง
BBC NEWS. อาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจาน : การสู้รบครั้งใหม่มีทหารสังเวยชีวิตเกือบ 100 นาย. https://www.bbc.com/thai/international-62900916
DW. Nagorno-Karabakh’s record growth in ruins. https://www.dw.com/en/nagorno-karabakhs-record-growth-in-ruins-amid-conflict-and-pandemic/a-55221921
Polemics Magazines. Nagorno-Karabakh Conflict : An Economic Perspective. https://www.polemics-magazine.com/econ/nagorno-karabakh-conflict-an-economic-perspective
The Journal of Diplomacy and International Relations. The Economic Impact of the Nagorno-Karabakh Conflict and Ensuing Developments. https://blogs.shu.edu/journalofdiplomacy/2017/04/the-economic-impact-of-the-nagorno-karabakh-conflict-and-ensuing-developments
อัพเดทล่าสุดเมื่อ :