ไลฟ์สไตล์

สำรวจวัฒนธรรมการอ่านคนไทย

สำรวจวัฒนธรรมการอ่านคนไทย

สำรวจวัฒนธรรมการอ่านคนไทย

 

การอ่าน เป็นการกระทำที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเฉพาะปัจเจกบุคคล แต่ผลลัพธ์ของการอ่านของคนหลาย ๆ คนในสังคม สามารถกำหนดทิศทาง เพิ่มความรู้ความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ และเรียกได้ว่า เป็นเครื่องมือที่ล้อไปกับการเจริญก้าวหน้า ตั้งแต่ระดับบุคคล จนถึงภาพใหญ่ เช่น การพัฒนาระดับประเทศ

 

บอกได้เลยว่า คำว่า คนไทยอ่านหนังสือไม่เกิน 8 บรรทัด เป็นคำกล่าวอ้างที่เก่าแล้ว ลงทุนศาสตร์จึงชวนมาสำรวจข้อมูลพฤติกรรมนักอ่านไทยในปัจจุบัน และตั้งคำถามว่าทำอย่างไรให้คนไทยอ่านมากขึ้น

เราลองมาดูสถิติเบื้องต้นกันก่อน ว่าทำไม คำว่าคนไทยอ่านหนังสือไม่เกิน 8 บรรทัด ถึงไม่เป็นความจริงในยุคปัจจุบัน

 

งานสำรวจชิ้นแรกจากข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจการอ่านหนังสือของประชากรต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2548 – พ.ศ. 2561 โดยเก็บข้อมูลจากชาวไทย 55,920 ครัวเรือนตัวอย่าง ในทุกภูมิภาคและทุกช่วงวัย พบว่าคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไปใช้เวลาอ่านเฉลี่ยมากถึงวันละ 80 นาที ส่วนเยาวชนไทยเป็นกลุ่มที่ใช้เวลาอ่านหนังสือมากที่สุด อ่านเฉลี่ยวันละ 109 นาที

 

นอกจากนั้น งานวิจัยชิ้นนี้ยังชี้ให้เห็นด้วยว่า คนไทยอ่านข้อความจากสื่อสังคมออนไลน์มากที่สุดร้อยละ 61.2 โดยมีหนังสือพิมพ์รองลงมา ตามด้วยแบบเรียน และหนังสือทั่วไป อย่างไรก็ตามถ้าพูดถึงการอ่านแบบเป็นตัวบท นักอ่านยังเลือกอ่านหนังสือกระดาษมากกว่า e-book อย่างเห็นได้ชัด

 

ส่วนอีกด้าน งานวิจัยจากสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (สอร.) ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ (SAB) และสถิติของสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยก็เป็นอีกหนึ่งข้อมูลที่ยืนยันว่าในเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมาคนไทยไม่ได้อ่านหนังสือปีละไม่กี่บรรทัดอย่างที่หลายคนเข้าใจ

 

ทางด้านหน่วยงานรัฐเองก็ไม่ได้นิ่งเฉย อย่างกรุงเทพมหานครก็เพิ่งประกาศว่าจะดำเนินนโยบายสนับสนุนการอ่านในเด็กประถมวัย เพราะเป็นช่วงอายุที่สำคัญ เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และเติบโตไปเป็นทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต

 

งานสัปดาห์หนังสือครั้งล่าสุดก็ถือได้ว่าเห็นนักอ่านมากหน้าหลายตา บรรยากาศคึกคัก การอ่านของคนไทยในปัจจุบันอาจไม่ได้จำกัดอยู่ที่การพิมพ์และแผ่นกระดาษ ไม่ว่าจะเป็นนิตยสาร หนังสือเล่ม หนังสือพิมพ์ แต่การอ่านถูกผนวกรวมเข้ากับยุคดิจิทัล ผู้คนเสพข่าวทางออนไลน์มากกว่ารอหนังสือพิมพ์มาส่งตอนเช้า ข้อมูลข้างต้นทำให้เราเห็นได้ว่าการอ่านเป็นสิ่งสำคัญของคนในสังคม

 

ซึ่งถามว่า ถ้าจะให้คนไทยเราอ่านกันมากขึ้น ต้องทำอย่างไรบ้าง ก็เป็นโจทย์ถึงหน่วยงานรัฐอื่น ๆ เช่นกันว่าจะออกนโยบาย หรือสนับสนุนการอ่านคนไทยต่อไปอย่างไร ยิ่งไปกว่านั้นสำนักพิมพ์ นักเขียน ผู้บริโภค การจัดการความรู้ องค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เหล่านี้ล้วนเป็นหนึ่งในผู้ขับเคลื่อนวัฒนธรรมการอ่านไทยไปสู่อนาคต การอ่านไม่ใช่แค่การเรียนรู้เชิงวิชาการ แต่หนังสือหลายเล่มเปิดโลกสร้างประสบการณ์ชีวิตให้ผู้คนอีกมากมาย

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

 

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

 

อ้างอิง
คมชัดลึก, ชัชชาติ เดินหน้า สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้, อ้างอิงจาก https://www.komchadluek.net/pr/517493
มติชนออนไลน์, อ่านอนาคตไปด้วยกัน ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ เริ่ม 26 มีคนี้, อ้างอิงจาก https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3241556
TNNOnline, อ่านแล้วไปไหน ตั้งคำถามกับอนาคตของวัฒนธรรมการอ่านไปด้วยกัน, อ้างอิงจาก https://www.tnnthailand.com/news/activities/108230/

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน