สังคมโลกเป็นอย่างไร เมื่อสหราชอาณาจักรไม่ใช่มหาอำนาจอีกต่อไป
ชาติมหาอำนาจ คือการที่รัฐ ๆ หนึ่งสามารถที่จะแผ่อำนาจของรัฐของตนได้แบบมหาศาล ซึ่งอำนาจดังกล่าวนี้นั้นสามารถแพร่กระจายไปได้ถึงทั่วโลก รวมไปถึงยังสามารถที่จะมีอำนาจทางการทหาร เศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ใช้อำนาจผ่านการทูตเป็นหลัก
ด้วยปัจจัยที่เราได้กล่าวมาทั้งหมด ล้วนแล้วเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้ชาติมหาอำนาจมีความยิ่งใหญ่อย่างมากต่อโลกใบนี้ ซึ่งการเป็นมหาอำนาจจะเป็นได้จากการวัดค่าความยิ่งใหญ่จากความสามารถทางเศรษฐกิจ หรือจะเป็นอำนาจทางการทหารที่เกิดขึ้น รวมไปถึงยังสามารถเป็นไปได้ผ่านการประชุมนานาชาติอีกด้วย และในบางครั้งก็สามารถเกิดขึ้นได้จากการทำสงคราม รวมไปถึงการสร้างสันติภาพ ที่ช่วยทำให้ชาติมหาอำนาจเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และหนึ่งในนั้นก็คือ สหราชอาณาจักร นั่นเอง
สหราชอาณาจักร ในยุคที่เริ่มต้นความเป็นมหาอำนาจที่เรากำลังจะพูดถึงนี้ เริ่มต้นจากในยุคที่มีชื่อเต็มว่า สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นสหราชอาณาจักรที่อยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1801 ไปจนถึง ค.ศ. 1922 ซึ่งในช่วงระหว่างนี้นั้น ตามประวัติศาสตร์สากล ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญอย่าง สงครามการปฏิวัติฝรั่งเศส สงครามนโปเลียน สงครามโลกครั้งที่ 1 และการเกิดขึ้นสหภาพโซเวียตเลยทีเดียว
ซึ่งในช่วงนี้นั้นก็ถือว่าเป็นช่วงที่สหราชอาณาจักรได้กลายเป็นหนึ่งในมหาอำนาจโลกที่สำคัญอย่างมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการที่สหราชอาณาจักรสามารถสร้างอิทธิพลทางทะเลได้อย่างเต็มที่ โดยมีผลลัพธ์คือดินแดนภายใต้อาณานิคมที่เยอะที่สุดในโลกในขณะนั้น ซึ่งถึงแม้ว่าตอนนั้นจะเสียดินแดนบริติชอเมริกาไปก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ทำให้ความยิ่งใหญ่นั้นต้องลดน้อยลงไป โดยเห็นได้ชัดจากการประชุมเวียนนา ที่ถูกจัดขึ้นในปี ค.ศ. 1814-1815 โดยมีสาเหตุมาจากความวุ่นวายภายหลังสงครามนโปเลียน ที่ส่งผลทำให้เกิดการวางแผนที่ทางการเมืองในยุโรปใหม่ ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีชาติมหาอำนาจเป็นผู้จัดตั้ง และหนึ่งในนั้นก็คือ สหราชอาณาจักรนั่นเอง
แล้วสหราชอาณาจักรถูกลดบทบาทของการเป็นมหาอำนาจลงไปตอนไหน? คำตอบของคำถามนี้ได้ถูกตอบขึ้นในสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นสงครามที่ถูกมองว่าเป็นสงครามระหว่างเครือญาติ โดยมีคู่กรณีคือ พระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตร กับจักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี ที่อยู่ฝ่ายมหาอำนาจกลาง ซึ่งแน่นอนว่าจุดจบของสงครามนั้น จบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร โดยมีตัวแปรสำคัญที่ช่วยทำให้ชนะ นั่นก็คือ สหรัฐอเมริกา
หลังจากนั้นได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งถือว่าเป็นสงครามที่ทำให้อังกฤษแทบสิ้นเนื้อประดาตัว แต่ก็สามารถเอาชนะฝ่ายอักษะที่มีตั้งแต่ ไรช์เยอรมัน ที่ปกครองโดยพรรคนาซี กับจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ ซึ่งชัยชนะก็ได้กลายเป็นเครดิตชั้นเยี่ยมให้กับสหรัฐอเมริกาที่สามารถรบได้ถึง 2 สมรภูมิหลัก นั่นจึงทำให้สหราชอาณาจักรเริ่มถูกมองถึงอำนาจที่เริ่มมีไม่มากเท่ากับสหรัฐอเมริกา รวมไปถึงระเบียบโลกทางเศรษฐกิจที่สหรัฐอเมริกา เริ่มเข้ามาตั้งบทบาทมากขึ้น
และหนึ่งในวิกฤตหลักในขณะนั้น คือวิกฤตคลองสุเอซ ที่ส่งผลทำให้สหราชอาณาจักรในตอนนั้น เริ่มมีจุดด่างพร้อยในเวทีโลกอย่างชัดเจน ซึ่งถึงแม้ว่าจะพยายามที่จะสร้างอำนาจขึ้นมาใหม่ แต่ก็ไม่เหมือนเดิม และก็นำมาสู่จุดจบของจักรวรรดิที่สหราชอาณาจักรพยายามเพียรสร้างขึ้นมาก่อนหน้านั้น โดยมีการคืนเกาะฮ่องกงสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นจุดจบของจักรวรรดินั่นเอง
ในทางสังคมโลกแล้ว การที่สหราชอาณาจักรไม่สามารถเป็นมหาอำนาจได้ ย่อมส่งผลทำให้มหาอำนาจที่แข็งแกร่งกว่า อย่าง สหรัฐอเมริกา เข้ามามีบทบาทในระเบียบโลกอยู่พอสมควร ซึ่งนั่นจึงทำให้มีหลาย ๆ ระเบียบใหม่ได้เข้ามามีอิทธิพลกับโลกอย่างมากภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีอิทธิพลทางวัฒนธรรมที่สหราชอาณาจักรยังคงมอบไว้ให้กับโลก ไม่ว่าจะเป็นภาษาสากล ไปจนถึงรูปแบบการปกครองมากมาย ที่ยังมีอิทธิพลในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะในประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร
นอกจากนี้ สหราชอาณาจักรก็ยังคงที่จะสร้างอำนาจของตนเองในเวทีโลกนี้ให้มากยิ่งขึ้น เสมือนกับในยุคที่ชาติของตนเองเคยยิ่งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นมีอำนาจภายในเครือจักรภพแห่งประชาชาติ ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เคยเป็นรัฐที่เคยเป็นรัฐในอาณานิคมของสหราชอาณาจักร การเป็นสมาชิกในองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่าง G20 และการแสดงแสนยานุภาพทางการทหารด้วยการส่งทหารไปรบในสมรภูมิสำคัญของโลก อย่างเช่น สงครามอิรักในปี ค.ศ. 2003 เป็นต้น
ลงทุนศาสตร์ – Investerest
ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , และ WEBSITE
อ้างอิง
THE SECRET SAUCE. ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจอเมริกา รวดเดียวจบ | The Secret Sauce MEDLEY #50. https://www.youtube.com/watch?v=_e0R_Yp5Plw&t=3409s
Australian Institute of International Affairs. Britain Still Thinks it’s a Great Power – But it Isn’t. https://www.internationalaffairs.org.au/britain-still-thinks-its-a-great-power-but-it-isnt
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. จักรวรรดิบริติช. https://th.wikipedia.org/wiki/จักรวรรดิบริติช
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. Great Power. https://en.wikipedia.org/wiki/Great_power
อัพเดทล่าสุดเมื่อ :