จะพัฒนาอย่างไร ในวันที่เกษตรกรรมในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มมีปัญหา
สำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว ภาคเกษตรกรรมถือว่าเป็นหนึ่งในภาคทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก อันเป็นผลมาจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรที่ทำให้การเกษตรเฟื่องฟู และเพราะด้วยลักษณะของการอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญนี้เอง จึงทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถที่จะส่งออกสินค้าเกษตรกรรมเป็นจำนวนมากในระดับโลก จนได้ขยับเข้ามาเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรกรรมในระดับแนวหน้าของโลกเลยก็ว่าได้
แต่ถึงกระนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เราคงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ว่ามันคือปัญหาที่ส่งผลทำให้การเพาะปลูกในบริเวณแถบนี้ ต้องเกิดปัญหาอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะการเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่ถือว่าเป็นปัญหาหลัก ๆ จนทำให้ผลผลิตทางเกษตรกรรมต้องเสียหายเป็นเวลายาวนาน
ถึงแม้ว่าจุดเด่นทางเศรษฐกิจของภูมิภาคแถบนี้จะมีภาคเกษตรกรรมเป็นหลัก แต่หากมองในมุมของการเมือง กลับพบว่าหลากหลายประเทศในแถบนี้ ต้องพบเจอกับวิกฤตทางการเมืองอยู่ไม่น้อย ที่ส่งผลทำให้สภาพสังคมของแต่ละประเทศต้องพบเจอกับปัญหาทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเรื่องความไม่เท่าเทียมทางรายได้ ที่ส่งผลทำให้เกิดปัญหาความอดอยาก ที่สวนทางกับการเป็นผู้ส่งออกสินค้าทางเกษตรกรรมอย่างเด่นชัด
อนึ่ง ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกษตรกรรมส่วนใหญ่ มักจะเป็นบุคคลที่อาศัยอยู่ตามชนบท ที่จะต้องพบเจอกับปัญหาความอดอยาก และเลือกที่จะค้นหางานที่ดีกว่าเกษตรกรรม อันจะส่งผลทำให้ความสำคัญของภาคเกษตรกรรมถูกลดทอนลง นอกจากนี้ การใช้พื้นที่ของทรัพยากรป่าไม้ที่มากยิ่งขึ้น เพื่อผลประโยชน์ ในภาคเกษตรกรรมของดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนทำให้ถูกมองจากระดับสากลว่าในบริเวณภูมิภาคนี้ ควรที่จะมีนโยบายในการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างจริงจังอีกด้วย
และเพราะแบบนั้นเอง จึงทำให้ภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำเป็นที่จะต้องค้นหาแนวทาง เพื่อที่จะทำให้ภาคเกษตรกรรมยังสามารถลืมตาอ้าปากได้ โดยที่สามารถเป็นไปพร้อมกับปัญหาที่เกิดขึ้นในทันที ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาค้นคว้าเรื่องพันธุ์พืช ที่สามารถยืนหยัดได้ในกรณีที่เกิดสภาพอากาศอันเลวร้าย หรือปัญหาอย่างอื่น เช่น การใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์มาทำการวิจัย เพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวที่มีความคงทน จนส่งผลทำให้ภายในเกษตรกรภายในเวียดนาม ต่างได้รับผลประโยชน์ดังกล่าวถ้วนหน้า หรือภายในฟิลิปปินส์ ที่เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถช่วยประหยัดต้นทุนได้มากถึง 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
นอกจากนี้ ยังมีการวางแผนนโยบายที่จะเอื้อต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในภาคเกษตรกรรมทุกภาคส่วน เพื่อที่จะทำให้ทุกฝ่าย สามารถได้รับประโยชน์จากการเกษตรเหล่านี้มากยิ่งขึ้น ไปจนถึงการกำหนดแผนการเพาะปลูกเกษตรกรรม โดยพยายามลดการใช้พื้นที่ป่าไม้ให้น้อยที่สุด ซึ่งเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นสิ่งที่จะทำให้ภาคเกษตรกรรมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถเติบโตไปพร้อมกับการได้รับการยอมรับจากนานาชาติ
ลงทุนศาสตร์ – Investerest
ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , และ WEBSITE
อ้างอิง
ARC Group. Sourcing of Agricultural Products in Southeast Asia: An Introduction. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2567. จาก https://arc-group.com/southeast-asia-agriculture-industry-exports
FORUM. เกษตรกรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ค้นพบเทคโนโลยีนิวเคลียร์สำหรับข้าวที่ทนต่อสภาพอากาศ. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2567. จาก https://ipdefenseforum.com/th/2017/10/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD
OECD. Transitioning to greener and more sustainable growth models can provide a massive boost to employment in Southeast Asia. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2567. จาก https://www.oecd.org/en/about/news/press-releases/2024/03/transitioning-to-greener-and-more-sustainable-growth-models-can-provide-a-massive-boost-to-employment-in-southeast-asia.html
Southeast Asia Development Solutions. To Make Agriculture Sustainable, ASEAN Wants Farming to Be Environment- and People-Friendly. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2567. จาก https://seads.adb.org/solutions/make-agriculture-sustainable-asean-wants-farming-be-environment-and-people-friendly
Techsauce Team. Heatwave ทำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้วิกฤต ต้องปิดโรงเรียน-การเกษตรพัง อุณหภูมิทะลุ 40 องศา. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2567. จาก https://techsauce.co/news/heatwave-hits-south-east-asia
ทักษิณา ข่ายแก้ว. สหประชาชาติเตือนถึง “ความท้าทายหลายประการ” ของภาคการเกษตรในเอเชีย.สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2567. จาก https://www.voathai.com/a/asia-agriculture-tk/3393363.html
รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะสามารถยุติการทำลายป่าภายในปี พ.ศ. 2573 ได้จริงหรือ?. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2567. จาก https://www.seub.or.th/bloging/news/global-news/cop26-sea-deforestation
อัพเดทล่าสุดเมื่อ :